วัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) มีผลให้การดำเนินงานควบคุมวัณโรคมีความยุ่งยากมากขึ้น โดยจะใช้เวลาในการรักษานานขึ้น จากปกติ 6 เดือน เป็น 18 – 24 เดือน และค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น จากปกติ 2,500 บาท เป็น 80,000 – 100,000 บาท แต่ผลการรักษาหายเพียงร้อยละ 60 ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทย ร้อยละ 5 จะเป็นวัณโรคดื้อยาชนิดรุนแรง (Extensively drug resistant TB หรือ XDR-TB) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงกว่าวัณโรคดื้อยาหลายขนานประมาณ 10 เท่า แต่ผลการรักษาหายอยู่ที่ร้อยละ 30
ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานทั่วโลก 310,000 คน โดยร้อยละ 80 อาศัยอยู่ใน 27 ประเทศ องค์การอนามัยโรคคาดการว่ามีวัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทยจำนวน 2,190 คนเกิดขึ้นใหม่ในแต่ละปี
จากการแนะนำขององค์การอนามัยโลก ถ้าความชุกของการวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ในผู้ป่วยใหม่ในพื้นที่ใด มากกว่า 3% จะถือว่าเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ซึ่งแผนงานวัณโรคจะต้องเร่งทบทวนแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่ว่ามีข้อบกพร่องอย่างไร และหาหนทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด
Ref: http://164.115.25.123/forecast/files/report_2014/report_2014_no22.pdf
http://www.interfetpthailand.net/forecast/files/report_2012/report_2012_11_no02.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น