จากข้อมูลรายงานเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบของสำนัก-ระบาดวิทยา ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 2553 พบว่าอัตราป่วยสูงในกลุ่มเด็กอายุ 0 - 4 ปี และอัตราป่วยตายสูงในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากรายงานสอบสวนโรคระหวางปี พ.ศ. 2549-2553 โดยพบว่าผู้เสียชีวิตเป็นผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ และผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวหรือประวัติการเจ็บป่วยในอดีตที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งประวัติการเจ็บป่วยในอดีตโดยเฉพาะโรคเรื้อรังอาจทำให้เกิดความรุนแรงต่อกลุ่มเสี่ยงต่างๆของโรคปอดอักเสบได้กลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคปอดอักเสบ ได้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่ โรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ภาวะขาดอาหาร การมีโรคประจำตัว เชน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับแข็ง โรคไต และในช่วง พ.ศ. 2549 - 2553 มีอัตราป่วยตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 0.60 - 0.79 โดยมีอัตราส่วนของเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย
อาการ/อาการแสดงที่พบในผู้ป่วยที่ได้จากการสอบสวนโรคพบว่าส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อย/หอบ ไอ ไข้ และมีเสมหะ โดยอาการเหนื่อย/หอบพบในกลุ่มที่เสียชีวิต ร้อยละ 70.59 แต่ในกลุ่มผู้รอดชีวิต จะพบร้อยละ 45.95
Ref: สถานการณ์โรคปอดอักเสบ ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2548-2553 คลิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น