พบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคมากกว่าคนปกติ 20-37 เท่า และวัณโรคเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีโลก ซึ่งองค์การอนามยโลกคาดประมาณว่าในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) จะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 8.6 ล้านคน มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย 1.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 12.8 และอาจจะมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรค 1.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 320,000 คน (ร้อยละ 24.6)
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขของไทยพบว่าร้อยละ 15 ของผู้ป่วยวัณโรคมีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไววีจึงสามารถพบวัณโรคได้ในทุกระยะไม่จำเป็นว่า CD4 ต้องต่ำกว่า 200 cells/mm3 เหมือนการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ เพียงแต่ถ้าเมื่อการติดเชื้อลุกลามไปจนเป็นเอดส์เต็มขั้นก็ยิ่งพบวัณโรคได้มากขึ้นเนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ลดลงอย่างมาก และการติดเชื้อเอชไอวีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ติดเชื้อวัณโรค (latent TB) หรือวัณโรคแฝงกลายเป็นผู้ป่วยวัณโรค(active disease) หรือที่เรียกว่าการกำเริบของโรค (reactivation) วัณโรคจะมีผลเร่งให้การดำเนินโรคของเอชไอวีลุกลามสู่ระยะเอดส์เร็วขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อวัณโรคจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคแต่ผลเสียกลับทำให้เกิดการกระตุ้นการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวีดวย
การศึกษาในอัฟริกาพบวัณโรคนอกปอด (extrapulmonary TB) บ่อยขึ้นในผู้ป่วยเอชไอวี คือประมาณ 50-75 % เมื่อเทียบกับ 20-25% ในผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ตำแหน่งที่พบบ่อยคือต่อมน้ำเหลือง โดยเฉพาะบริเวณคอ (cervical lymph nodes) หรือรักแร้ (axilla) และพบต่อมน้ำเหลืองโตในช่องอกและช่องท้องไดบ่อยกว่าซึ่งตอมน้ำเหลืองเหล่านี้มักเป็นฝีหนอง โดยระยะที่ CD4 ต่ำกว่า 50 cells/mm3 จะพบพบวัณโรคนอกปอดมากขึ้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะพบมีการดื้อยาวัณโรคมากขึ้น โดยระยะที่ CD4 ต่ำกว่า 50 cells/mm3
การรักษาจะเหมือนในผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ควรระมัดระวังในการใช้ยา เช่นยา rifampicin ซึ่งเป็นยาที่สำคัญมากในการรักษาวัณโรคให้ได้ผลดีและสามารถใช้ยาเป็นแบบ short course ได้ แต่ยาตัวนี้เป็น ยาที่มีฤทธิ์แรงมากในการกระตุ้น cytochrome P450 ซึ่งยาต้านไวรัสทั้งกลุ่ม NNRTI และ protease inhibitor เป็น substrate ของ cytochrome ตัวนี้ทำให้ระดับต้านไวรัสเหลานี้ลดลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการดื้อยาได้ ส่วนยา rifabutin มีผลลดระดับยาน้อยกว่าแต่เป็นยาที่มีราคาแพงและไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย ระยะเวลาในการให้ยารักษาวัณโรคจะเหมือนในผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีแต่ถ้ามีการตอบสนองช้า มีโพรงฝีในเอกซเรย์ปอด หรือเสมหะยังย้อมพบเชื้อเมื่อรักษาครบ 2 เดือน ต้องให้ยาเป็นเวลาทั้งหมด 7-9 เดือน แล้วแต่อ้างอิง
Ref: แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556
วัณโรคและการติดเชื้อเอชไอวี (Tuberculosis and HIV) โดยพญ. อัญชลี อวิหิงสานนท์
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอบคุณค่ะ :)
ตอบลบ