วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,969 ข้อควรทราบเรื่องธรรมชาติของการติดเชื้อและการป่วยเป็นวัณโรคและความแตกต่างระหว่างคำว่า TB infection กับ TB disease

เมื่อสูดหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกาย ละอองหรือหยดเล็กๆ (droplets) ของเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคจะเข้าไปติดอยู่ที่จมูกหรือลำคอ ซึ่งมักไม่ก่อให้เกิดโรคแต่ส่วนที่มีขนาดเล็กๆจะเขาไปสู่ปอด เชื้อจะถูกทำลายด้วยระบบภูมคุ้มกันของร่างกาย หากมีเชื้อที่ถูกทำลายไม่หมดเชื้อก็จะแบ่งตัวทำให้เกิดการติดเชื้อ (TB infection) พบได้ 30% ถ้าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงจะสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรค ซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อคือประมาณ 70% จึงทำให้ไม่เกิดการติดเชื้อ
และประมาณร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อวัณโรคจะไม่มีอาการป่วยและไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ (ติดเชื้อแฝงหรือ latent infection) มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นของผู้ที่ติดเชื้อที่จะป่วยเป็นวัณโรค (TB disease) โดยครึ่งหนึ่งคือ 5% จะป่วยเป็นวัณโรคภายใน 2 ปีหลังการติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ที่เหลืออีก 5 % จะป่วยเป็นวัณโรคหลังการติดเชื้อไปแล้วนานหลายปี หรือมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต เช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติสัมผัสวณโรคตั้งแต่เด็ก และอาจเนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันลดลงเช่น การติดเชื้อเอชไอวี, เบาหวาน, ภาวะขาดสารอาหาร, การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน, สูงอายุ ทำให้โอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรคมีมากขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้พบว่าการติดเชื้อเอชไอวีเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการป่วยเป็นวัณโรค โดยธรรมชาติของวัณโรคผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 50 จะเสียชีวิตภายใน 2 ปี

Ref: แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556

5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากค่ะ

    เคยเจอ Case หญิงไทย 70 ปี R/O Ac. Cholecystitis มาด้วยปวดท้อง มีไข้ต่ำ Rx ด้วย cef-3 2 wks แล้วไข้ไม่ลด

    กลับสูงขึ้น 38+ องศาเซลเซียส แพทย์ Dx:- R/O TB ส่ง sputum AFB X 3 วัน ไข้สูงมากขึ้น ไอเสมหะ

    สุดท้าย เป็น TB Lung ย้าย Med ใส่ tube ค่ะ

    ตอบลบ
  2. ครับ ขอบคุณที่ให้ความเห็นร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ คิดว่าตอนให้การวินิจฉัย acute cholecystitis แพทย์น่าจะตรวจพบข้อมูล เช่นจากการตรวจร่างกาย หรือการสืบค้น เช่น U/S เป็นต้น และต่อมาอาจจะสงสัยวัณโรคจากที่ผู้ป่วยไอมาก ยังมีไข้ หรือเห็นจากเอกซเรย์สงสัย จึงส่งเสมหะต่อ ซึ่งคนไข้ก็อาจจะมีทั้งสองอย่างร่วมกันด้วยก็ได้ แล้วเสมหะ AFB ให้ผลบวกมั้ยครับ?

    ตอบลบ
  3. ลืมให้ข้อมูลเรื่องฟิลม์ค่ะ หลัง Admit 2 wks. ไข้ไม่ลง แพทย์ส่งตรวจ X-rays

    CXR:-พบว่ามี Infiltrated ค่ะ แพทย์ Med มาซักประวัติเพิ่ม แล้ว R/O TB

    วันแรก Sputum AFB: not found มาตรวจพบวันที่ย้ายไป ward Med แล้ว (ทราบเพราะตามเคสอยู่ค่ะ)

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  4. เดิมอยู่วอร์ดศัลย์เหรอครับ? คิดว่าฟิล์มน่าจะสงสัย TB หรือไม่หมอเมดย้ายไปเพราะไปตรวจสืบค้นเรื่องไข้ให้ต่อมั้งครับ

    ตอบลบ
  5. เดิมคนไข้เข้าวอร์ดศัลย์ห้องรวมค่ะ และหมอเมดดูฟิลม์แล้วสงสัย TB ย้ายไปวอร์ดเมดเพราะอาการแย่ลง และมีห้องแยกค่ะ

    ตอบลบ