วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,958 ภาวะผิวหนังมีสีเข้มขึ้นหรือดำคล้ำขึ้น (hyperpigmentation) จากการใช้ยา

การทีผิวหนังมีสีเข้มขึ้นหรือดำคล้ำขึ้น (hyperpigmentation) เป็นลักษณะการแสดงออกทางผิวหนังทั่วไปที่พบได้บ่อยอันก่อให้เกิดความกังวลในด้านความสวยงามในผู้ป่วย บริเวณที่อาจได้รับผลกระทบได้แก่ ผิวเยื่อบุ, ผม-ขน, ฟัน, และเล็บโดยอาจจะเป็นแบบกระจายหรือเป็นเฉพาะที่ มักพบจากการใช้ยาในกลุ่ม alkylating agent และยาต้านมะเร็ง สารหรือยาที่มักจะทำให้เกิดเยื่อบุในช่องปากสีเข้มขึ้นได้แก่ busulfan, fluorouracil, tegafur, doxorubicin, hydroxyurea, cisplatin, และ cyclophosphamide โดยยาที่เป็น antimetabolites เช่น methotrexate อาจทำให้ผมมีลักษณะ “flag sign” คือมีสีเข้มขึ้นในแนวนอนสลับกับสีผมปกติในผู้ที่มีผมสีทอง ส่วน tegafur สามารถก่อให้เกิดรอยดำของฝ่ามือ, ฝ่าเท้า, เล็บแล ะอวัยวะส่วนหัวของเพศชายหนึ่งในสามของผู้ป่วยที่ได้รับยา ลักษณะรอยดำที่เป็นเส้นในพื้นที่ของการบาดเจ็บเกิดมีอุบัติการณ์สูงคือโดยพบได้ 8-20% ของผู้ป่วยที่ได้รับ bleomycin รอยดำคล้ำจาก busulfan จะคล้ายโรคแอดดิสันคือมีลักษณะอ่อนเพลีย, น้ำหนักลดและท้องเสีย แต่จะพบว่าระดับ melanocyte-stimulating hormonemelanocyte-stimulating hormone และ adrenocorticotropic hormone ในซีรั่มปกติ
รอยดำในพื้นที่ซึ่งมีการกดเบียด เช่นพื้นที่ผิวหนังภายใต้แผ่นแปะสำหรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เทป, หรือวัสดุปิดแผลโดยอาจจะมีหรือไม่มีรอยแดงมาก่อน ซึ่งได้รับการรายงานว่าพบใน ifosfamide, topical carmustine, thiotepa, docetaxel, และการให้ร่วมกันของ etoposide และ carboplatin กับ cyclophosphamide หรือ ifosfamide
สุดท้ายคือการเกิดเฉพาะที่แบบคดเคี้ยว เป็นการเกิดรอยดำคล้ำเหนือหลอดเลือดดำมักจะพบในการให้ fotemustine, fluorouracil, vinorelbine ทางหลอดเลือดดำ, และการยาเคมีบำบัดหลายอย่างร่วมกัน
กลไกของยาเคมีชักนำให้เกิดปฏิกิริยารอยดำคล้ำยังไม่เป็นที่รู้ทราบอย่างชัดเจนในปัจจุบัน แต่อาจเกี่ยวข้องกับความเป็นพิษโดยตรง, การกระตุ้น melanocyte, และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังขบวนการอักเสบ (postinflammatory change) แม้ว่าปฏิกิริยาเหล่านี้บางครั้งอาจจะเป็นอย่างถาวร แต่ในกรณีส่วนใหญ่การเปลี่ยนสีจะค่อยๆ ดีขึ้นภายหลังการหยุดรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK13290/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น