การเพิ่มขึ้นเฉพาะ troponin ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะ troponin สามารถขึ้นได้ในภาวะหัวใจเต้นเร็ว, ความดันโลหิตต่ำ, ความดันโลสูง, การบาดเจ็บต่อหัวใจ, ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดของปอด, ภาวะรุนแรงที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย, ถูกไฟใหม้, ภาวะการหายใจล้่มเหลว, โรคของระบบประสาทเฉียบพลัน, พิษจากยา (รวมถึงยาเคมีบำบัด) การสูงขึ้นของ troponin อย่างเรื้อรัง สามารถเกิดจากสภาวะโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติ เช่น ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนา หรือป่องขยายตัว และยังพบได้บ่อยในผู้ที่การทำงานของไตลดลง ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะสุดท้ายและไม่มีหลักฐานทางคลินิกของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ซึงจะพบได้ใน troponin T มากกว่า troponin I
การเพิ่มขึ้นควรประกอบกับการมีอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเกิดภาวะขาดหัวใจขาดเลือดซ้ำจะสนับสนุนโดยพบการเพิ่มมากกว่า 20% ของระดับ troponin ก่อนหน้านั้น หรือการเพิ่มขึ้นของ high-sensitivity cardiac troponin T values (เช่น มากกว่า 7 ng/L ในช่วง 2 ชม.) ในระหว่างตั้งครรภ์จะมีค่าปกติถ้าไม่มีโรคของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งยังเป็นที่โต้แย้งถึงระดับ troponin ที่เพิ่มขึ้นใน pre-eclampsia, eclampsia หรือ gestational hypertension
ผู้ป่วยที่มี troponin ขึ้นจะช่วยบ่งถึงการดูแลรักษาโดยมีความเสี่ยงสูงขึ้นและได้ประโยชน์จากการให้การรักษาอย่างใกล้ชิดด้วยการให้เกิดการกลับมามีการใหลเวียนอีกครั้ง (revascularization) และการเพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับขนาดของการขาดเลือดและการเสียชีวิต
Ref: 2014 AHA/ACC Guideline for the Management of Patients With Non–ST-Elevation Acute Coronary Syndromes
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557
2,947 ข้อควรทราบเรื่อง troponin ในการวินิจฉัย acute coronary syndrome ( ACS)
ป้ายกำกับ:
Cardiology,
Laboratory
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น