จากที่เขียนใน Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism ทางสมาคมยังคงไม่แนะนำในเรื่องการวินิจฉัยโรคขาดแอนโดรเจนในผู้หญิงที่มีสุขภาพดี เนื่องจากยังขาดการกำหมดลักษณะกลุ่มอาการที่ชัดเจน ร่วมกับการที่ยังไม่มีข้อมูลเทียบเคียงระหว่างระดับแอนโดรเจนกับอาการบางอย่างที่มี
ข้อเสนอแนะต่างๆ คือ
-การรักษาด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone therapy) คือการให้ฮอร์โมนในขนาดทางสรีรวิทยาที่สูง (high physiological doses) อาจช่วยในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของความต้องการทางเพศที่ลดลง หากได้รับการรักษาผู้ป่วยควรจะได้รับการติดตามภาวะแอนโดรเจนเกิน (กลุ่มที่ทำการศึกษาให้ข้อสังเกตว่าการให้ฮอร์โมนเพศชายในขนาดทางสรีรวิทยายังไม่มีสำหรับผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา)
-เนื่องจากข้อมูลที่จำกัดการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชายไม่ควรให้เป็นประจำ (routinely) สำหรับเสภาวะอื่น ๆ ในวงกว้าง รวมทั้งภาวะมีบุตรยาก, สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด, และระดับแอนโดรเจนต่ำเนื่องจากต่อมใต้สมองไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ (hypopituitarism), ต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ (adrenal insufficiency) หรือภาวะหมดประจำเดือนจากการผ่าตัด
-Dehydroepiandrosterone ยังไม่แนะนำในการให้แบบเป็นประจำ (routinely) สำหรับภาวะแอนโดรเจนต่ำหรือสภาพที่อื่น ๆ เนื่องจากยังขาดข้อมูลสนับสนุนเกี่ยวกับประสิทธิภาพและการศึกษาเกี่ยวความปลอดภัยที่ยาวนานพอ
Ref: http://press.endocrine.org/doi/full/10.1210/jc.2014-2260
Physician's First Watch: Endocrine society updates guidelines on androgen therapy in women
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557
2,944 Endocrine society updates guidelines on androgen therapy in women
ป้ายกำกับ:
Drug,
Endocrinology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น