ซึ่งภาวะนี้ประกอบด้วยความผิดปกติของฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid hormone) แคลเซียม (calcium) ฟอสเฟต (phosphate) วิตามินดี (vitamin D) ผลคูณของแคลเซียมและฟอสเฟต (Ca x P) กระบวนการสร้างและการสลายกระดูก (bone turnover) รวมทั้งการมีเกลือแคลเซียมสะสม (calcifications) ในเนื้อเยื่อ เส้นเลือดหรืออวัยวะต่างๆ นำไปสู่การเจ็บป่วยพิการและเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
พยาธิสรีรวิทยา: นื่องจากฟอสเฟตในเลือดถูกกำจัดออกทางไตเป็นหลัก เมื่อไตทำงานบกพร่องทำให้ฟอสเฟตในเลือดถูกกำจัดน้อยลง ส่งผลให้เกิดภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง ภาวะดังกล่าวมีผลยับยั้งการสังเคราะห์ calcitriol ทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำตามมา (secondary hypocalcemia) ส่งผลกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ปรับตัวต่อการสร้างฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในขนาดสูงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมีขนาดเพิ่มมากขึ้น (parathyroid hyperplasia) ในขณะที่ปริมาณของตัวรับวิตามินดีและ calcium – sensing receptor ลดลง ทำให้เกิดการดื้อ (resistance) ต่อแคลเซียมและวิตามินดี ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดสูงอย่างเรื้อรังภาวะนี้อาจจะมีลักษณะการแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเกิดร่วมกัน
-มีความผิดปกติของแคลเซียม, ฟอสเฟต, ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (PTH), หรือเมตาโบลิซมของวิตามินดี
-มีความผิดปกติของกระบวนการสร้างและการสลายกระดูก (bone turnover), การสะสมแร่ธาตุ (mineralization), การเจริญของกระดูกในเชิงปริมาณ (volume linear growth), หรือในด้านความแข็งแร็ง
(strength)
-พบมี เกิดการสร้างกระดูกหรือการมีแคลเซียมสะสมในบริเวณที่ไม่ใช่กระดูก (extraskeletal calcificationX
ลักษณะทางคลนิกได้แก่:
-กระดูกและข้อ : ปวดกระดูก กระดูกหัก กระดูกผิดรูป เส้นเอ็นฉีกขาด, ภาวะกระดูกอ่อน (osteomalacia), osteitisfibrosa, adynamic bone disease (ABD), osteoslerosis, โรคกระดูกพรุน (osteoporosis), calcific periarthritis
-กล้ามเนื้อ: ปวดกล้ามเนื้อและความผิดปกติของกล้ามเนื้อ (myopathy)
-การหายใจ: ปอดทำงานบกพร่อง ปอดมีพังพืด (pulmonary fibrosis) และความดันในหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension)
-หัวใจและหลอดเลือด: กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาโต, ภาวะหัวใจล้มเหลว, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น