ในการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก มีหลายวิธี แต่การตรวจเฟอริตินในซีรั่ม (serum ferritin) ในปัจจุบันคือการทดสอบที่มีประสิทธิภาพและค่าคุ้มค่ามากที่สุดได้รับข้อบกพร่องของการทดสอบอื่น ๆ ช่วยลดจุดอ่อนหรือข้อด้อยของการตรวจอื่นๆ
-Mean corpuscular volume MCV จะต่ำในภาวะขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรง แต่ถ้ามีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น โรคตับจะทำให้การมีขนาดเล็กของเม็ดเลือดแดงลดลง
-Reticulocyte hemoglobin จะต่ำทั้งในโรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็กและธาลัสซี และยังลดลงยังมีภาวะซีดจากขบวนการอักเสบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการจำกัดการกระจายธาตุเหล็กในการพัฒนาเซลล์เม็ดเลือดแดง
-Serum iron จะต่ำในภาวะโลหิตจางจากขบวนการอักเสบและสูงขึ้น (falsely elevated) ในกรณีรับประทานธาตุเหล็ก
-การเพิ่มขึ้นของ total iron-binding capacity (TIBC) มีความจำเพาะต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แต่การที่ TIBC ลดต่ำลงในกรณีที่มีการอักเสบ, ผู้สูงอายุ, ทุพภโพชนาการ จึงมีความไวต่ำ
-Iron saturation จะต่ำทั้งในภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กและภาวะโลหิตจางจากขบวนการอักเสบ
-Serum soluble transferrin receptor จะเพิมขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และไม่มีผลจากภาวะซีดจากขบวนการอักเสบ แต่อย่างไรก็ตามระดับจะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีสภาะวะใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของมวลของเซลล์เม็ดเลือดแดงเช่น ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแแดงแตก (hemolytic anemias) และในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด chronic lymphocytic leukemia
-การย้อมสีไขกระดูกเหล็กเป็นวิธีที่ให้ความถูกต้องที่สุดของการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แต่เป็นกาตรวจที่รุกล้ำและมีราคาแพง
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1215361
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557
2,934 ข้อควรทราบเรื่องการส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ป้ายกำกับ:
hematology,
Laboratory
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น