-แนะนำ ให้ใช้ beta-blocker ในผู้ป่วยที่มี LVEF< 40% NYHA II - IV ที่มีอาการทรงตัว ทุกรายยกเว้นจะมีข้อห้าม
-สามารถใช้ได้ทั้งใน ischemic และ non-ischemic cardiomyopathy
-ผู้ป่วยควรได้รับ ACEI อยู่แล้ว (ยกเว้นมีข้อห้าม)
-ผู้ป่วยต้องไม่อยู่ในภาวะสารน้ำคั่งอย่างชัดเจน เช่นบวมมาก หรือมี pulmonary edema
-ผู้ป่วยต้องไม่ได้กำลังใช้ intravenous inotropes
-เริ่มจากขนาดยาที่ต่ำมาก ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาขึ้นทีละน้อย (2 เท่า) ทุกๆ 2 สัปดาห์จนถึงขนาด target dose หรือขนาดสูงสุดที่ผู้ป่วยทนได้
-สามารถเริ่มที่แผนกผู้ป่วยนอกได้
-หลังเริ่มยาอาจเกิดภาวะสารน้ำคั่ง ส่งผลให้อาการทรุดได้ จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังอาการภาวะหัวใจล้มเหลวและควบคุมไม่ให้ น้ำและเกลือคั่งอย่างเคร่งครัด แนะนำให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนักตนเองทุกวัน ถ้าน้ำหนักขึ้นมากกว่า 1.5-2 กก. ควรเพิ่มขนาดของยาขับปัสสาวะ
-ถ้าหอบเหนื่อยมากขึ้นจากสารน้ำคั่ง ให้เพิ่มขนาดของยาขับปัสสาวะก่อน หากไม่ได้ผลและมีอาการ/อาการแสดงของภาวะ hypoperfusion จึจะลดขนาดของ beta-blocker ลงชั่วคราว (ไม่ควรหยุด betablocker โดยไม่จำเป็น)
-หากมี hypotension ให้ลดขนาด vasodilator (เช่น nitrates) ลงก่อน หากจำเป็นค่อยลดขนาดยา beta-blocker
-เมื่อผู้ป่วยอาการทรงตัวแล้ว ให้พยายามใส่ beta-blocker กลับ หรือเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้ง
-กรณีจำ เป็นต้องใช้ inotropic support ชั่วคราว พิจารณาเลือกใช้ phosphodiesterase inhibitors (มากกว่า dobutamine) เพราะจะไม่ถูกต้านฤทธิ์โดย beta-blocker
-ข้อห้าม ได้แก่ ผู้ป่วย asthma หรือ severe bronchial disease ภาวะ bradycardia หรือ hypotension ที่มีอาการ
Ref: คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังแบบบูรณาการ โดยโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น