วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

2,927 การแพ้ที่เกิดจากการใช้ยากันชัก (anticonvulsant hypersensitivity syndrome, AHS)

Anticonvulsant hypersensitivity syndrome (AHS) หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า phenytoin pseudolymphoma syndrome เป็นภาวะหนึ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่มีความรุนแรงถึงแก่ชีวิต มักจะพบในผู้ป่วยที่ไวต่อยาในกลุ่ม aromatic anticonvulsants เช่น phenytoine, carbamazepine, phenobarbital sodium ซึ่งยาเหล่านี้เมื่อถูกเปลี่ยนแปลงโดย cytochrome (CY) P-450 enzyme ในตับแล้วจะได้เป็น arene oxides ซึ่งจะถูก metabolites ด้วยเอนไซม์ epoxide hydrolase กลายเป็นสารที่ไม่มีพิษต่อเซลล์ แต่ในผู้ที่ขาด epoxide hydrolase จะมีการสะสมของ arene oxides โดยเชื่อว่าสารนี้จะไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ตัวเอง หรืออาจไปสร้าง covalent bonds กับเซลล์และ macromolecules รอบๆข้าง ซึ่งจะกลายเป็นพิษต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่ายาเหล่านี้เกิด cross-reactivity กัน 50%-80% (บางอ้างอิง 40-80%) และยา anticonvulsants ตัวอื่นๆ เช่น lamotrigine, primidone และ felbamate ซึ่งมีสูตรโครงสร้างและถูกเปลี่ยนแปลงเหมือนกับ carbamazepine, phenytoin, oxcarbazepine และ phenobarbital อาจจะเป็นสาเหตุของภาวะ anticonvulsant hypersensitivity syndrome ก็ได้ พบว่าผู้ป่วยบางคนที่ไวต่อ phenytoin และ carbamazepine อาจจะทนต่อ phenobarbital แต่สำหรับผู้ป่วยที่เคยเกิดภาวะ AHS มาแล้วไม่ควรใช้หรือได้รับยาเหล่านี้เป็นเวลานานๆ เพราะอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ hypersensitivity ซ้ำได้ ดังนั้นควรเลี่ยงไปใช้ valproate หรือยากลุ่มใหม่ๆ แทน ได้แก่ benzodiazepine,valproic acid, gabapentin,topiramate และ levetiracetam
ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงหลายๆ ลักษณะที่เกิดขึ้นร่วมกันได้แก่ อาการทางผิวหนัง เป็นได้ตั้งแต่ มีผื่นแดง จนถึงเกิดภาวะ Stevens-Johnson syndrome หรือ Toxic Epidermal Necrolysis (TEN) ร่วมกับอาการไข้  ต่อมน้ำเหลืองโต ตับอักเสบ และมีการเพิ่มสูงขึ้นของ eosinophil มักเกิดประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากได้รับยา อุบัติการณ์เกิดประมาณ 1 ใน 1,000 ถึง 1 ใน 10,000 รายของผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักที่มีโครงสร้างเป็น aromatic ring
การป้องกันภาวะ AHS เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับยากันชักเป็นครั้งแรก โดยให้คำแนะนาปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติถึงโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ยา อาการแสดงที่บ่งบอกถึงการแพ้ต้องรีบหยุดยา และพบแพทย์ทันที หากผู้ป่วยมีแนวโน้มเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการ AHS จากการใช้ aromatic AEDs แนะนำให้หยุดยาทันทีที่เกิดอาการขึ้น ร่วมกับการใหคำปรึกษาแก่ครอบครัวเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงการแพ้ยาในลักษณะเดียวกันใน first degree relatives ให้ระมัดระวังการใช้ยาในกลุ่มยากันชักที่มี aromatic ring เป็นสวนประกอบในโครงสร้าง แต่หากมีความจำเป็น ต้องใช้ยานี้ ควรทำการติดตามอาการและอาการแสดงของ AHS อย่างใก้ลชิด เรียกการป้องกัน AHS ในลักษณะนี้ว่าการป้องกันแบบปฐมภูมิ (primary prevention)

Ref: http://neurosci.kku.ac.th/wp-content/uploads/2009/09/6-3-11.pdf
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/dis/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=49:-anticonvulsants-cross-reactivity-&catid=16:answers-the-questions&Itemid=34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น