มีประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยที่พบสาเหตุของการกำเริบ โดยสาเหตุหลักคือการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งพบร้อยละ 80 (อ้างอิงของต่างประเทศ 50-60%) ส่วนอีกร้อยละ 20 (อ้างอิงของต่างประเทศร้อยละ 10) เกิดจากปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะ อุณหภูมิ โดยการติดเชื้อมักเป็นเชื้อไวรัส เช่น rhinovirus, respiratory syncytial virus, influenza ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยได้แก่ Haemophilus influenza, moraxella catarrhalis และ streptococcus pneumoniae โดยผู้ที่มีอาการกำเริบสามารถเพาะเชื้อจากเสมหะได้ร้อยละ 40-60 และถ้ามีเสมหะเปลี่ยนสี เป็นสีเหลือง-เขียว จะสามารถเพาะเชื้อได้มากขึ้นคือร้อยละ 84
ส่วนเสมหะที่มีลักษณะเป็นเมือกมีโอกาสเพาะเชื้อได้ร้อยละ 38 และการติดเชื่อร่วมกันทั้งไวรัสและแบคทีเรียพบได้ร้อยละ 25 การมีโรคร่วม เช่นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว เบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงของการกำเริบที่รุนแรงมากขึ้น
Ref: หนังสือภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ โดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
http://www.bcmj.org/article/acute-exacerbation-chronic-obstructive-pulmonary-disease
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557
2,908 ว่าด้วยเรื่องปัจจัยเสี่ยงของการกำเริบเฉียบพลันในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกำเริบเฉียบพลัน
ป้ายกำกับ:
Pulmology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น