การรวบรวมกิจกรรมที่จำเป็นซึ่งมีอิทธิต่อการนำไปสู่การเกิดโรค รวมทั้งเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีสภาพร่างกายจิตใจและสังคมที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยความพยายามของตัวผู้ป่วยเอง หรือกลับมาดีขึ้นคืนเมื่อเกิดการสูญเสีย ในสถานที่ที่เป็นไปได้ของการใช้ชีวิตในชุมชน การฟื้นฟูสมรรถภาพไม่สามารถถือได้ว่าเป็นรูปแบบที่แยกออกจากการรักษา แต่จะต้องบูรณาร่วมไปกับการกับการรักษาทั้งหมด
ซึ่งนอกจากการเน้นที่การป้องกันและฟื้นฟูหลังจากการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว (secondary prevention) ในปัจจุบัน cardiac rehabilitation ได้ขยายขอบเขตครอบคลุมถึงการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนเกิดโรค (primary prevention) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ยังขยายการป้องกันและฟื้นฟูในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว และหลังการผ่าตัด หลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention) หลังการใส่อุปกรณ์โรคหัวใจ (เช่น automatic implantable cardioverter defibrillator, cardiac pacemaker, cardiac re-syncronized therapy) อีกด้วย การฟื้นฟูหัวใจ (cardiac rehabilitation) หลังเกิดอาการโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiac event) เป็นคำแนะนำระดับ class I recommendation จากสมาคมหัวใจในยุโรป อเมริกา หลายองค์กร (European Society of Cardiology, American Heart Association, American College of Cardiology)
Ref: Cardiovascular disease Prevention and Cardiac Rehabilitation: update
http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/RehabGuideline.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557
2,890 ว่าด้วยเรื่องความหมายและขอบเขตของการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ (cardiac rehabilitation)
ป้ายกำกับ:
Cardiology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น