อาการปวดศรีษะแบบปฐมภูมิ เป็นอาการปวดศรีษะที่ไม่พบพยาธิสภาพ, ปัญหาด้านโครงสร้าง หรือโรคทางกายอื่นๆ มักจะไม่ร้ายแรงหรืออันตรายมาก แต่ความรุนแรงมีหลากหลายขึ้นอยู่กับชนิดสาเหตุ อาจมีอาการเป็นๆ หายๆ ได้ อาจทำให้เกิดอาการปวดในชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญและลดความสามารถในการทำงาน อาการปวดศรีษะแบบปฐมภูมิพบได้ 90% ของอาการปวดศรีษะทั้งหมด มักเกิดในช่วงอายุ 20-40 ปี โดยไมเกรนและ tension-type headaches เป็นชนิดหนึ่งของอาการปวดศรีษะแบบปฐมภูมิที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนชนิดอื่นๆ เช่น cluster headache, trigeminal neuralgia, hemicrania continua, primary stabbing headache, และอื่นๆ
อาการปวดศรีษะแบบทุติยภูมิ จะมีสาเหตุ มีพยาธิสภาพหรือเกิดจากโรคทางทางกายที่มีผลต่อโครงสร้างที่ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณศรีษะ คอ และใบหน้า เช่นการติดเชื้อ, การได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะ, ความผิดปกติของหลอดเลือด, เลือดออกในสมองหรือเนื้องอก อาการปวดหัวศรีษะแบบทุติยภูมิ อาจจะไม่เป็นอันตรายหรือเป็นอันตรายก็ได้ บางชนิดมีสัญญานเตือนที่บ่งบอกถึงภาวะอันตราย
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ ในอาการปวดศรีษะแบบปฐมภูมิอาจจะมีอาการปวดศรีษะรุนแรงแต่ไม่ทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิต เช่น cluster headache ในทางตรงกันข้ามอาการปวดศรีษะแบบทุติยภูมิ เช่นในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอาจจะปวดศรีษะไม่รุนแรง แต่อาจทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้
Ref: หนังสือภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ โดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
http://en.wikipedia.org/wiki/Headache
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557
2,912 ความแตกต่างระหว่างอาการปวดศรีษะแบบปฐมภูมิ (primary headache) และแบบทุติยภูมิ (secondary headache)
ป้ายกำกับ:
Neurology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น