คนไข้ VT/VF หรือ cardiac arrest ในโรงเรียนแพทย์
ถือเป็นโอกาสที่ดีมากในการช่วยเหลือคนไข้
เนื่องจากมีเพื่อนแพทย์และอาจจารย์คอยช่วยเหลือ
รวมทั้งอุปกรณ์ในการกู้ชีพครบครัน ที่สุดในประเทศ
ฝากไว้สำหรับน้องๆที่อยู่ รรพ.
สิ่งที่น้องๆมีเหนือกว่ารพ.อำเภอ
1. ระหว่างการกู้ชีพ
- แพทย์ที่ทำการกู้ชีพ มักจะเป็นแพทย์ประจำบ้านที่อยู่
ประจำวอร์ดนั้น หรือ ER โดยมีลูกทีมเป็นน้องๆนักเรียนแพทย์
กับพี่ๆพยาบาล อนึ่ง แพทย์ประจำบ้าน คือแพทย์ที่เรียนจบมาหลายปีแล้ว มีประสบการณ์
ความรู้ ความสามารถ ที่ได้รับการคัดเลือกจากอาจารย์
ให้กลับมาเทรนเป็นแพทย์เฉพาะทาง
- มีพี่ๆแพทย์ประจำบ้านต่อยอดทุกสาขาให้ได้ปรึกษา แต่มาทันรึเปล่าขึ้นกับบริบท
- มีอุปกรณ์แปลผลเลือดได้รวดเร็ว
- มี bedside ultrasound ที่ช่วยวินิจฉัย tamponade, acute massive PE หรือ acute MI
- มี bedside Transesophageal Echocardiogram ช่วยวินิจฉัย aortic dissection หรือ ประเมิน clot ใน pulmonary artery ได้ชัดเจนมากขึ้น
- สามารถทำการเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจได้ข้างเตียง
(ในชีวิตการเป็นแพทย์ของผม เคยเจาะได้ทันในคนไข้ที่ arrest อยู่ มีแต่ในห้อง cath ที่ tamponade เกิดขึ้นระหว่างทำ PCI เท่านั้น นอกห้อง cath ผมไม่เคยเจาะแล้วช่วยชีวิตคนไข้ได้ทันเลย อาจเป็นเพราะผมไม่มีความสามารถเพียงพอ)
- ในเรื่องของยาที่ใช้ในการกู้ชีพรวมทั้งเครื่อง defibrillator แทบไม่มีอะไรต่างจากรพ.อำเภอ
2. การรักษาหลังจากพ้นระยะ cardiac arrest แล้ว
- มี ICU, CCU ที่ทันสมัย
- มีเครื่อง CT scan
- สามารถทำ therapeutic hypothermia
- มี cath lab ที่สามารถทำ primary PCI หรือ ดูด clot ออกจาก pulmonary artery รวมทั้งการให้ยาละลายลิ่มเลือดโดยตรง
ในรายที่เป็น PE ใช้ fluoroscopic ช่วยใส่อุปกรณ์ต่างๆเช่น IABP หรือ temporary pacemaker
- มีทีม CVT สนับสนุน ในการทำ surgical embolectomy, emergent CABG หรือ ECMO
- มีแพทย์เฉพาะทางทุกสาขาให้ปรึกษาได้
ข้อสองที่หรูหรา จะไม่มีความหมายอะไรเลย
หากไม่สามารถรอดมาจากข้อแรก
การช่วยชีวิตคนไข้ออกมาจากความตาย
แก่นสำคัญอยู่ที่คนใช้ ... หาใช่อุปกรณ์
เหมือนในบทประพันนธ์ของโกวเล้ง ที่ว่า
'กระบี่อยู่้ที่ใจ แม้กิ่งไผ่ก็ไร้เทียมทาน'
โดย อ. 1412 แห่ง Thaiclinic. com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น