N Engl J Med August 14, 2014
การศึกษา: ทำการศึกษาผู้ใหญ่ 102,216 คนจาก 18 ประเทศ ตรวจสอบปริมาณการขับออกของโซเดียมและโพแทสเซียมตลอด 24 ชั่วโมง จากตัวอย่างปัสสาวะ 1 ครั้ง ในช่วงเช้าภายหลังการงดอาหาร และนำมาใช้เป็นตัวแทนสำหรับการบริโภค แล้วประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการขับอิเล็กโทรไลท์และความดันโลหิตด้วยการใช้อุปกรณ์อัตโนมัติ
ผลการศึกษา: การวิเคราะห์แบบถดถอยแสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นของ 2.11 มิลลิเมตรปรอทของความดันโลหิตตัวบนและ 0.78 มิลลิเมตรปรอทของความดันโลหิตตัวล่างสำหรับแต่ละการเพิ่ม 1 กรัมในการขับออกของโซเดียม พบความสัมพันธ์ของความชันกับปริมาณโซเดียมที่สูงขึ้น (เพิ่มขึ้น 2.58 มิลลิเมตรปรอทต่อกรัมโซเดียมที่ขับอกมากกว่า 5 กรัมต่อวัน, 1.74 มิลลิเมตรปรอทต่อกรัมสำหรับ 3-5 กรัมต่อวันและ 0.74 มิลลิเมตรปรอท ต่อกรัมสำหรับที่น้อยกว่า 3 กรัมต่อวัน, P น้อยกว่า 0.001 สำหรับการปฏิสัมพันธ์) ความสัมพันธ์ของความชันสัมพันธ์กับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (2.49 มิลลิเมตรปรอทต่อกรัม) สูงกว่าผู้ที่ไม่มีความดันโลหิตสูง (1.30 มิลลิเมตรปรอทต่อกรัม, p น้อยกว่า 0.001 สำหรับการปฏิสัมพันธ์) และความลาดชันเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น (2.97 มิลลิเมตรปรอทต่อกรัมที่อายุมากกว่า 55 ปี, 2.43 มิลลิเมตรปรอทต่อกรัมที่อายุ 45 - 55 ปี และ 1.96 มิลลิเมตรปรอทต่อกรัมที่อายุมากกว่า 45 ปี; P น้อยกว่า 0.001สำหรับการปฏิสัมพันธ์)
การขับโพแทสเซียมมีความสัมพันธ์ผกผันกับความดันโลหิตตัวบน โดยความชันสัมพันธ์กับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่ไม่มีวามดันโลหิตสูง (p น้อยกว่า 0.001) และความลาดชันเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น (P น้อยกว่า 0.001)
สรุป: ในการศึกษานี้ พบว่าความสัมพันธ์ของการประเมินปริมาณการบริโภคของโซเดียมและโพแทสเซียม โดยดูจากการวัดของการขับถ่ายของไอออนบวก (cations) เหล่านี้ โดยมีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นเส้นตรงกับความดันโลหิต และมีความเด่นชัดที่สุดในคนที่บริโภคอาหารทีมีโซเดียมสูง, ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและผู้สูงอายุ
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1311989?query=featured_home#t=abstract
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น