หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

2,856 Posterior wall myocardium infarction

Posterior wall myocardium infarction เกิดขึ้นประมาณ 15-20% ของ STEMI โดยมักเกิดขึ้นร่วมกับการมี  inferior หรือ lateral infarction โดย posterior MI ล้วนๆ เกิดน้อย คือ 3-11% ส่วน posterior wall MI ที่เกิดจากการกระจายตัวของ inferior หรือ lateral infarct จะมีพื้นที่ของความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจขนาดใหญ่ ซึ่งมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความผิดปกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและการเสียชีวิต
การมีเฉพาะ posterior wall MI เป็นข้อบ่งชี้สำหรับการช่วยให้กลับมามีการใหลเวียนของหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ แต่การขาด ST elevation ที่ชัดเจนเป็นภาวะที่การวินิจฉัยมักจะผิดพลาดได้
ซึ่งเราจะไม่สามารถเห็น posterior wall MI ได้โดยตรงจากการทำคลื่นหัวใจมาตรฐาน 12 lead แต่จะพบการมี reciprocal changes ของ ST elevation แทนใน V1-V3 ดังนั้นจึงต้อง EKG ใน lead V7-V9 บริเวณ scapula ซึ่งเป็น mirror image ของ septal leads (V1-V3) จะพบการมี ST elevation มากกว่า 0.5 มม.
ลักษณะที่ทำให้คิดถึงการมี posterior wall MI ได้แก่
-ST depression ขนานกับแนวราบ โดยเฉพาะใน lead 2-3
-R wave ที่สูงและกว้าง (กว้างมากกว่า 30 ms)โดยเฉพาะใน lead 2-3
-T wave ตรงส่วนปลายมีลักษณะหัวตั้ง โดยเฉพาะใน lead 2-3
-R wave ที่เด่นชัด โดยอัตราส่วนของ R/S มากกว่า 1 ใน V2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น