American Family Physician
August 1 2014 Vol. 90 Number 3
ภาวะสับสนเฉียบพลัน (delirium) มีนิยามคือกลุ่มอาการของการเปลี่ยนแปลงผันผวนอย่างเฉียบพลันของความสนใจ การเอาใจใส่ ความตระหนักและการรับรู้-เข้าใจ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุในโรงพยาบาลและผู้ที่ต้องได้รับการการดูแลระยะยาวและอาจบ่งบอกถึงสภาพที่คุกคามต่อชีวิต การประเมินและการป้องกันภาวะสับสนเฉียบพลันควรจะเกิดขึ้นขณะที่เข้ารับการรักษาใน รพ. และโดยตลอดกที่รักษาในโรงพยาบาล
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรได้รับการให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกัน เช่นเดียวกับอาการและอาการแสดงของภาวะสับสนเฉียบพลันและสภาวะที่จะบ่งชี้ถึงความจำเป็นในการที่จะต้องประเมินผลโดยทันที
ยาบางชนิด, ความบกพร่องของประสาทสัมผัส, การสูญเสัยการรับรู้, และสภาวะทางการแพทย์ต่างๆเหล่านี้ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาวะสับสนเฉียบพลัน การให้การป้องกันเช่นการทำให้เกิดการรับรู้ใหม่บ่อยๆ, และการให้เคลื่อนไหวที่เร็วและบ่อย, การควบคุมความเจ็บปวด, การให้โภชนบำบัดและสารน้ำอย่างเพียงพอ, การลดความบกพร่องทางประสาทสัมผัส, และสร้างความมั่นใจในรูปแบบการนอนที่เหมาะสมทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงการลดอุบัติการณ์ของภาวะสับสนเฉียบพลัน โดยที่ยังไม่รวมถึงการดูแลสภาพแวดล้อม การรักษาภาวะสับสนเฉียบพลัน
การรักษาภาวะสับสนเฉียบพลันควรมุ่งเน้นไปที่การระบุและการจัดการเงื่อนไขทางการแพทย์ที่เป็นสาเหตุ ให้การดูแลสนับสนุนเพื่อให้เกิดการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการเสริมสร้างป้องกัน การให้การรักษาด้วยยาควรจะสงวนไว้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของตัวเองหรือความปลอดภัยของผู้อื่นและผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิต ในผู้สูงอายุภาวะสับสนเฉียบพลันเพิ่มเป็นปัจจัยเสี่ยงของการการทำงานที่ลดลง, การทำงานของสถาบัน, และการเสียชีวิต
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0801/p150
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น