Review article
N Engl J Med July 31, 2014
แม้จะมีความก้าวหน้าในเทคนิคการภาพถ่ายทางการแพทย์, ห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัย, การให้การรักษาโดยการผ่าตัด และการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ, ฝีในสมองยังคงเป็นปัญหาทางคลินิกที่ท้าทายร่วมกับมีความสำคัญต่ออัตราการเสียชีวิต ฝีในสมองอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อมัยโคแบคทีเรีย, เชื้อราหรือปรสิต (โปรโตซัวและหนอนพยาธิ) และพบมีการรายงานอุบัติการณ์ 0.4-0.9 รายต่อ 100,000 ประชากร โดยจะมีอัตราเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อาการทางคลินิกที่พบบ่อยที่สุดของฝีในสมองได้แก่ อาการปวดศรีษะ; ไข้ และระดับการเปลี่ยนแปลงของการรู้สึกตัวแต่พบบ่อยๆ ว่าอาจจะไม่มีก็ได้ อาการทางระบบประสาทขึ้นอยู่ตำแหน่งของฝีและสามารถมีอาการได้เป็นวันๆ จนถึงเป็นสัปดาห์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ฝีในบริเวณ frontal หรือ right temporal lobes ผู้ป่วยที่มีฝีในก้านสมองหรือสมองน้อย (cerebellar) อาจมีอัมพาตของเส้นประสาทสมอง, ,uความผิดปกติของการเดิน หรือปวดศรีษะหรือมีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางจิตใจเนื่องจากการมีน้ำคั่งในสมอง (hydrocephalus) โดย 25% ของผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการชักได้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Pathogenesis and Epidemiology
-Clinical Manifestations
-Diagnostic Measures
-Neurosurgical Management
-Antimicrobial Therapy
-Complications and Outcome
-Source Information
อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1301635
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
หน้าเว็บ
▼
วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,845 หนังสือระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ
หนังสือระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ
สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการสาธารณสุขระดับประเทศ
โดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
บทที่ 1 หลักระบาดวิทยา
บทที่ 2 หลักการเกิดโรค
บทที่ 3 การกระจายของโรค ภัย ไข้เจ็บ
บทที่ 4 การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
บทที่ 5 การบันทึกและรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
บทที่ 6 การวิเคราะห์และแปลผลรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
บทที่ 7 สถิติเบื้องต้นทางระบาดวิทยา
บทที่ 8 การสอบสวนทางระบาดวิทยา
บทที่ 9 คำจำกัดความของคำที่พบมากในทางระบาดวิทยา
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
Link: Click
สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการสาธารณสุขระดับประเทศ
โดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
บทที่ 1 หลักระบาดวิทยา
บทที่ 2 หลักการเกิดโรค
บทที่ 3 การกระจายของโรค ภัย ไข้เจ็บ
บทที่ 4 การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
บทที่ 5 การบันทึกและรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
บทที่ 6 การวิเคราะห์และแปลผลรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
บทที่ 7 สถิติเบื้องต้นทางระบาดวิทยา
บทที่ 8 การสอบสวนทางระบาดวิทยา
บทที่ 9 คำจำกัดความของคำที่พบมากในทางระบาดวิทยา
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
Link: Click
วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,844 ความสัมพันธ์ระหว่างระดับของวิตามินดีที่ต่ำกับการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ-หลอดเลือดและโรคมะเร็ง
มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่างระดับ 25-hydroxyvitamin D (25 [OH] D)ในซีรั่มและอัตราการเสียชีวิต ในการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เข้าร่วมแต่ละคนจาก 8 การศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (prospective study) ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา นักวิจัยระบุว่าระดับของ 25 [OH] D มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ-หลอดเลือด มะเร็งและการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุในผู้ใหญ่-สูงอายุ (ช่วงอายุ 50-79) จากผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 26,000 คน
ในระหว่างการติดตามเฉลี่ยในช่วง 4-16 ปี พบว่ามีการเสียชีวิต 6,700 ราย โดยทุกสาเหตุของการเสียชีวิตเป็น 1.6 เท่าในกลุ่มผู้มีควอไทล์ของระดับซีรั่มวิตามินดีต่ำสุดเทียบกับในกลุ่มผู้ที่มีระดับควอไทล์สูงสุด
ซึ่งผลการศึกษามีความคล้ายกันสำหรับการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ-หลอดเลือดทั้งในผู้ป่วยที่มีและไม่มีโรคหัวใจ-หลอดเลือดมาก่อน (risk ratios, 1.7 และ 1.4 ตามลำดับ) และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งในผู้ป่วยที่มีประวัติของโรคมะเร็ง (RR 1.7) แต่ไม่พบในผู้ที่ไม่มีประวัติโรคมะเร็งมาก่อน
Ref: http://www.jwatch.org/na35011/2014/07/24/low-serum-vitamin-d-level-associated-with-excess
ในระหว่างการติดตามเฉลี่ยในช่วง 4-16 ปี พบว่ามีการเสียชีวิต 6,700 ราย โดยทุกสาเหตุของการเสียชีวิตเป็น 1.6 เท่าในกลุ่มผู้มีควอไทล์ของระดับซีรั่มวิตามินดีต่ำสุดเทียบกับในกลุ่มผู้ที่มีระดับควอไทล์สูงสุด
ซึ่งผลการศึกษามีความคล้ายกันสำหรับการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ-หลอดเลือดทั้งในผู้ป่วยที่มีและไม่มีโรคหัวใจ-หลอดเลือดมาก่อน (risk ratios, 1.7 และ 1.4 ตามลำดับ) และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งในผู้ป่วยที่มีประวัติของโรคมะเร็ง (RR 1.7) แต่ไม่พบในผู้ที่ไม่มีประวัติโรคมะเร็งมาก่อน
Ref: http://www.jwatch.org/na35011/2014/07/24/low-serum-vitamin-d-level-associated-with-excess
วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,843 Potassium supplements with loop diuretics
มีผลสรุปการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับประทานโปแตสเซียมเสริมตามแพทย์สั่งร่วมกับยาขับปัสสาวะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ 7% (p=0.003) นอกจากนี้ประโยชน์ของการให้โปแตสเซียมเพิ่มขึ้นตามขนาดของยาขับปัสสาวะที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการได้ furosemide ขนาดมากกว่า 40 มก./วัน ในการศึกษาระหว่างปี 1999 - 2007 ซึ่งในการศึกษานี้พบว่าการให้โปแตสเซียมเสริมลดอัตราการเสียชีวิตได้ 16% (p น้อยกว่า 0.0001) และยังพบว่าในผู้ป่วยที่ได้ furosemide ขนาดน้อยกว่า 40 มก./วัน
ก็พบว่าลดอัตราการเสียชีวิตได้ 7% (P = 0.050) แต่ไม่พบผลของการให้โปแตสเซียมเสริมกับการเสียชีวิตอย่างกระทันหันหรือการเกิด ventricular arrhythmias (P=0.879)
ซึ่งการใช้การเสริมโพแทสเซียมสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาขับปัสสาวะชนิด loop diuretic อาจจะเป็นวิธีที่ค่อนข้างราคาถูกเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยผู้เขียนยังได้กล่าวว่า "ในสภาพการณ์ปัจจุบันของการแสวงหามาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดี นี่คือการรักษาที่ควรพิจารณาถึงประโยชน์"
Ref: http://www.medscape.com/viewarticle/828421
http://www.sciencedaily.com/releases/2014/07/140716141038.htm
ก็พบว่าลดอัตราการเสียชีวิตได้ 7% (P = 0.050) แต่ไม่พบผลของการให้โปแตสเซียมเสริมกับการเสียชีวิตอย่างกระทันหันหรือการเกิด ventricular arrhythmias (P=0.879)
ซึ่งการใช้การเสริมโพแทสเซียมสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาขับปัสสาวะชนิด loop diuretic อาจจะเป็นวิธีที่ค่อนข้างราคาถูกเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยผู้เขียนยังได้กล่าวว่า "ในสภาพการณ์ปัจจุบันของการแสวงหามาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดี นี่คือการรักษาที่ควรพิจารณาถึงประโยชน์"
Ref: http://www.medscape.com/viewarticle/828421
http://www.sciencedaily.com/releases/2014/07/140716141038.htm
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,842 Prolonged febrile illness and fever of unknown origin in adults
American Family Physician
July 15 2014 Vol. 90 Number 2
ไข้ไม่ทราบสาเหตุมีความหมายว่าเป็นการมีไข้ (อุณหภูมิตั้งแต่ 101 F [38.3 C]) เป็นเวลาสามสัปดาห์หรือนานกว่านั้นโดยได้มีการสืบค้นหาสาเหตุให้กับผู้ป่วยเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์แล้ว
เมื่อไม่นานมานี้ความหมายในเชิงคุณภาพนี้มีความต้องการเพียงการสืบค้นที่เหมาะสมเพื่อการวินิจฉัย แม้ว่าจะมีมากกว่า 200 โรคในการวินิจฉัยแยกโรค ซึ่งผู้ใหญ่จะจำกัดอยู่ประมาณไม่กี่สิบโรคที่อาจเป็นสาเหตุได้ ไข้ไม่ทราบสาเหตุมักจะมีลักษณะทางคลินิกไม่ตรงไปตรงมาของโรคที่พบบ่อยๆ มากกว่าการที่จะเป็นโรคที่พบน้อยๆ กลุ่มย่อยที่พบมากที่สุดในการวินิจฉัยแยกโรคได้แก่ การติดเชื้อ, มะเร็ง, โรคของการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ และอื่น ๆ
แพทย์ควรดำเนินการถามประวัติที่ครอบคลุมและการตรวจร่างกายที่จะเป็นช่่องทางในการประเมินเบื้องต้นเพื่อการวินิจฉัย หรือหากไม่มีเบาะแสการวินิจฉัย อย่างน้อยผู้ป่วยควรได้รับการสืบค้นขั้นต่ำสุดได้แก่ CBC, CXR, UA และ UC, electrolyte ต่างๆ, liver enzymes, ESR, and C-reactive protein การตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมได้แก่ blood cultures, lactate dehydrogenase, creatine kinase, rheumatoid factor, และ antinuclear antibodies. การตรวจหา HIV และ region-specific serologic testing ที่เหมาะสม (e.g., cytomegalovirus, Epstein-Barr virus, tuberculosis) และการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง-ช่องเชิงกราน หรือการตรวจด้วย CT หากยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้, 18F fluorodeoxyglucose positron emission tomography ร่วมกับ CT อาจจะช่วยแพทย์ในการเข้าถึงเพื่อการตัดเนื้อเยื่อ ยาปฏิชีวนะแบบ empiric หรือสเตียรอยด์โดยทั่วไปอาจจะส่งผลต่อไข้ไม่ทราบสาเหตุได้
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0715/p91
July 15 2014 Vol. 90 Number 2
ไข้ไม่ทราบสาเหตุมีความหมายว่าเป็นการมีไข้ (อุณหภูมิตั้งแต่ 101 F [38.3 C]) เป็นเวลาสามสัปดาห์หรือนานกว่านั้นโดยได้มีการสืบค้นหาสาเหตุให้กับผู้ป่วยเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์แล้ว
เมื่อไม่นานมานี้ความหมายในเชิงคุณภาพนี้มีความต้องการเพียงการสืบค้นที่เหมาะสมเพื่อการวินิจฉัย แม้ว่าจะมีมากกว่า 200 โรคในการวินิจฉัยแยกโรค ซึ่งผู้ใหญ่จะจำกัดอยู่ประมาณไม่กี่สิบโรคที่อาจเป็นสาเหตุได้ ไข้ไม่ทราบสาเหตุมักจะมีลักษณะทางคลินิกไม่ตรงไปตรงมาของโรคที่พบบ่อยๆ มากกว่าการที่จะเป็นโรคที่พบน้อยๆ กลุ่มย่อยที่พบมากที่สุดในการวินิจฉัยแยกโรคได้แก่ การติดเชื้อ, มะเร็ง, โรคของการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ และอื่น ๆ
แพทย์ควรดำเนินการถามประวัติที่ครอบคลุมและการตรวจร่างกายที่จะเป็นช่่องทางในการประเมินเบื้องต้นเพื่อการวินิจฉัย หรือหากไม่มีเบาะแสการวินิจฉัย อย่างน้อยผู้ป่วยควรได้รับการสืบค้นขั้นต่ำสุดได้แก่ CBC, CXR, UA และ UC, electrolyte ต่างๆ, liver enzymes, ESR, and C-reactive protein การตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมได้แก่ blood cultures, lactate dehydrogenase, creatine kinase, rheumatoid factor, และ antinuclear antibodies. การตรวจหา HIV และ region-specific serologic testing ที่เหมาะสม (e.g., cytomegalovirus, Epstein-Barr virus, tuberculosis) และการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง-ช่องเชิงกราน หรือการตรวจด้วย CT หากยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้, 18F fluorodeoxyglucose positron emission tomography ร่วมกับ CT อาจจะช่วยแพทย์ในการเข้าถึงเพื่อการตัดเนื้อเยื่อ ยาปฏิชีวนะแบบ empiric หรือสเตียรอยด์โดยทั่วไปอาจจะส่งผลต่อไข้ไม่ทราบสาเหตุได้
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0715/p91
2,841 ว่าด้วยเรื่องการตรวจคัดกรองหลอดเลือดในช่องท้องโป่งพอง (abdominal aortic aneurysms,AAAs)
-ความชุกของของหลอดเลือดในช่องท้องโป่งพอง (abdominal aortic aneurysms,AAAs) ซึ่งกำหนดโดยการที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดตั้งแต่ 3.0 เซนติเมตรขึ้นไป ในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี อาจจะพบได้สูงถึง 7% ในผู้ชาย และ 1% ในผู้หญิง
-ในปี 2005 (U.S. Preventive Services Task Force, USPSTF) แนะนำการตรวจคัดกรองเพียงครั้งเดียวโดยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) ในผู้ชายอายุ 65-75 ปี ที่เคยสูบบุหรี่ (โดยการกำหนดในผู้ที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ 100 มวนขึ้นไป) และไม่แนะนำกับการตรวจคัดกรองเป็นประจำในผู้หญิง
-ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การมีอายุที่มากขึ้น, การสูบบุหรี่, ประวัติศาสตร์ญาติสายตรงลำดับแรกเป็น AAA และมีประวัติของการโป่งพองของหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วน หรือความดันโลหิตสูง
-ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอระหว่างประโยชน์และผลเสียของการตรวจคัดกรองในผู้หญิง 65-75 ปี ที่เคยสูบบุหรี่
-การตรวจคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวด์แบบ duplex ในช่องท้องมีความไวและความจำเพาะของ 97% และ 99% ตามลำดับ และเป็นวิธีการมาตรฐานในการตรวจคัดกรอง AAA
-การรักษา: กรณีที่มีขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ 5.5เซนติเมตรขึ้นไป) ให้รักษาโดยการ open repair หรือ endovascular intervention สำหรับขนาดเล็ก (3.0-5.4 เซนติเมตร) ให้การรักษาแบบ conservatively (เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ซ้ำทุก 3-12 เดือน)
-การตรวจคัดกรองในผู้ชายพบว่ามีความสัมพันธ์กับ absolute risk reduction related death 1.4 ต่อ 1000 คนที่ทำการตรวจคัดกรอง
-ซึ่งในคำแนำนำล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาก็ยังแนะนำให้ทำการคัดกรองในผู้ชายอายุ 65-75 ปี ที่เคยสูบบุหรี่ รวมถึงอาจจะทำการตรวจคัดกรองในผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่แต่มีปัจจัยเสี่ยง
Ref: http://www.jwatch.org/na34998/2014/07/10/screening-abdominal-aortic-aneurysms
http://www.familypracticenews.com/home/article/uspstf-women-smokers-might-benefit-from-aaa-screening/808f4dd2a9e9d2b2d58d1eef81e2ef09.h
-ในปี 2005 (U.S. Preventive Services Task Force, USPSTF) แนะนำการตรวจคัดกรองเพียงครั้งเดียวโดยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) ในผู้ชายอายุ 65-75 ปี ที่เคยสูบบุหรี่ (โดยการกำหนดในผู้ที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ 100 มวนขึ้นไป) และไม่แนะนำกับการตรวจคัดกรองเป็นประจำในผู้หญิง
-ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การมีอายุที่มากขึ้น, การสูบบุหรี่, ประวัติศาสตร์ญาติสายตรงลำดับแรกเป็น AAA และมีประวัติของการโป่งพองของหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วน หรือความดันโลหิตสูง
-ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอระหว่างประโยชน์และผลเสียของการตรวจคัดกรองในผู้หญิง 65-75 ปี ที่เคยสูบบุหรี่
-การตรวจคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวด์แบบ duplex ในช่องท้องมีความไวและความจำเพาะของ 97% และ 99% ตามลำดับ และเป็นวิธีการมาตรฐานในการตรวจคัดกรอง AAA
-การรักษา: กรณีที่มีขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ 5.5เซนติเมตรขึ้นไป) ให้รักษาโดยการ open repair หรือ endovascular intervention สำหรับขนาดเล็ก (3.0-5.4 เซนติเมตร) ให้การรักษาแบบ conservatively (เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ซ้ำทุก 3-12 เดือน)
-การตรวจคัดกรองในผู้ชายพบว่ามีความสัมพันธ์กับ absolute risk reduction related death 1.4 ต่อ 1000 คนที่ทำการตรวจคัดกรอง
-ซึ่งในคำแนำนำล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาก็ยังแนะนำให้ทำการคัดกรองในผู้ชายอายุ 65-75 ปี ที่เคยสูบบุหรี่ รวมถึงอาจจะทำการตรวจคัดกรองในผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่แต่มีปัจจัยเสี่ยง
Ref: http://www.jwatch.org/na34998/2014/07/10/screening-abdominal-aortic-aneurysms
http://www.familypracticenews.com/home/article/uspstf-women-smokers-might-benefit-from-aaa-screening/808f4dd2a9e9d2b2d58d1eef81e2ef09.h
วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,840 ความรู้ทางการแพทย์ พิษจากเห็ด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความเป็นมา
-ความเป็นพิษ
1. สารพิษกลุ่ม protoplasmic poisons
2. สารพิษกลุ่ม neurotoxin
3. สารพิษกลุ่ม gastrointestinal irritants
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-ข้อแนะนำในการรับประทานเห็ด
-การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Ref: http://www.dmsc-library.moph.go.th/ebooks/files/showimgpic%20(23).pdf
-ความเป็นมา
-ความเป็นพิษ
1. สารพิษกลุ่ม protoplasmic poisons
2. สารพิษกลุ่ม neurotoxin
3. สารพิษกลุ่ม gastrointestinal irritants
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-ข้อแนะนำในการรับประทานเห็ด
-การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Ref: http://www.dmsc-library.moph.go.th/ebooks/files/showimgpic%20(23).pdf
วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,839 ความรู้เรื่องโรคอาหารเป็นพิษ
โดยกลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ สำนักระบาดวิทยา
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความหมาย
-การระบาด
-Vibrio parahaemolyticus
-Bacillus cereus food intoxication
-Staphylococcal food poisoning
-Clostridium perfringens food intoxication
-การป้องกันและควบคุมโรค
โดยในแต่ละเชื้อจะกล่าวในรายละเอียดถึง
ลักษณะโรค
การวินิจฉัยโรค
สาเหตุ
วิธีติดต่อ
ระยะฟักตัว
ระยะติดต่อ
อาการและอาการแสดง
ระบาดวิทยาของโรค
การรักษา
ลิ้งค์ http://www.boe.moph.go.th/fact/Food_Poisoning.htm
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความหมาย
-การระบาด
-Vibrio parahaemolyticus
-Bacillus cereus food intoxication
-Staphylococcal food poisoning
-Clostridium perfringens food intoxication
-การป้องกันและควบคุมโรค
โดยในแต่ละเชื้อจะกล่าวในรายละเอียดถึง
ลักษณะโรค
การวินิจฉัยโรค
สาเหตุ
วิธีติดต่อ
ระยะฟักตัว
ระยะติดต่อ
อาการและอาการแสดง
ระบาดวิทยาของโรค
การรักษา
ลิ้งค์ http://www.boe.moph.go.th/fact/Food_Poisoning.htm
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,838 Care of the asplenic patient
Clinical practice
N Engl J Med July 24, 2014
Key clinical points
-ผู้ป่วยทีไม่มีม้ามมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีการดำเนินไปอย่างรวดเร็วเป็นอันตรายซึ่งอาจเสียชีวิตได้ถึง 50%
-ผู้ป่วยที่ไม่มีม้ามควรจะทราบถึงความเจ็บป่วยต่างๆ ที่มีไข้ หรือที่มีอาการรุนแรงโดยไม่มีไข้ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการเริ่มมีอาการของการติดเชื้อที่อันตรายถึงชีวิต
-ผู้ป่วยไม่มีม้ามที่มีไข้ควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพแบบ empirical ในทันที
-การให้วัคซีนสำหรับ pneumococci, Haemophilus influenzae type b, meningococci, และ influenza virus ถือเป็นคำแนะนำ
-การให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันโรคโดยทั่วไปถือเป็นคำแนะนำสำหรับเด็กที่ไม่มีม้ามซึ่งอายุน้อยกว่า 5 ปีและอาจให้การพิจารณาในเด็กโตและผู้ใหญ่ในที่เพิ่งตัดม้ามได้ 1-2 ปี และให้การป้องกันไปตลอดชีวิตสำหรับผู้ที่เคยเกิดมีการติดเชื้อแบคทีเรียภายหลังการต้ดม้าม
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
Vaccinations
Prophylactic Antimicrobial Therapy
Management of Febrile Episodes
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1314291
N Engl J Med July 24, 2014
Key clinical points
-ผู้ป่วยทีไม่มีม้ามมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีการดำเนินไปอย่างรวดเร็วเป็นอันตรายซึ่งอาจเสียชีวิตได้ถึง 50%
-ผู้ป่วยที่ไม่มีม้ามควรจะทราบถึงความเจ็บป่วยต่างๆ ที่มีไข้ หรือที่มีอาการรุนแรงโดยไม่มีไข้ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการเริ่มมีอาการของการติดเชื้อที่อันตรายถึงชีวิต
-ผู้ป่วยไม่มีม้ามที่มีไข้ควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพแบบ empirical ในทันที
-การให้วัคซีนสำหรับ pneumococci, Haemophilus influenzae type b, meningococci, และ influenza virus ถือเป็นคำแนะนำ
-การให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันโรคโดยทั่วไปถือเป็นคำแนะนำสำหรับเด็กที่ไม่มีม้ามซึ่งอายุน้อยกว่า 5 ปีและอาจให้การพิจารณาในเด็กโตและผู้ใหญ่ในที่เพิ่งตัดม้ามได้ 1-2 ปี และให้การป้องกันไปตลอดชีวิตสำหรับผู้ที่เคยเกิดมีการติดเชื้อแบคทีเรียภายหลังการต้ดม้าม
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
Vaccinations
Prophylactic Antimicrobial Therapy
Management of Febrile Episodes
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1314291
วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,837 แนวทางเวชปฏิบัติ การรักษาวัณโรคในเด็ก พศ.2557
โดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาณสุข
แม้จะเป็นเว็บไซต์ของโรคผู้ใหญ่แต่ก็ขออนุญาตินำเรื่องของเด็กมาลงเพราะเนื้อหาน่าสนใจ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปก็อาจต้องดูแลผู้ป่วยเด็กด้วยครับ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-คำย่อ
-บทที่ 1 สถานการณ์สาเหตุและการติดต่อวัณโรคในเด็ก
-บทที่ 2 วัณโรคปอดและวัณโรคเยื่อหุ้มปอดในเด็ก
-บทที่ 3 การรักษาวัณโรค
-บทที่ 4 วัณโรคนอกปอด
-บทที่ 5 การรักษาผู้ป่วยวัณโรคเด็กที่สัมผัสโรค
-บทที่ 6 วัคซีน BCG ในเด็ก
-บทที่ 7 การรักษาผู้ป่วยวัณโรคในกรณีพิเศษต่างๆ
-เอกสารอ้างอิง
-ภาคผนวก
ลิ้งค์ http://www.pidst.net/files_khowledge/pidst_20140605111556_filekhow.pdf
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาณสุข
แม้จะเป็นเว็บไซต์ของโรคผู้ใหญ่แต่ก็ขออนุญาตินำเรื่องของเด็กมาลงเพราะเนื้อหาน่าสนใจ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปก็อาจต้องดูแลผู้ป่วยเด็กด้วยครับ
-คำย่อ
-บทที่ 1 สถานการณ์สาเหตุและการติดต่อวัณโรคในเด็ก
-บทที่ 2 วัณโรคปอดและวัณโรคเยื่อหุ้มปอดในเด็ก
-บทที่ 3 การรักษาวัณโรค
-บทที่ 4 วัณโรคนอกปอด
-บทที่ 5 การรักษาผู้ป่วยวัณโรคเด็กที่สัมผัสโรค
-บทที่ 6 วัคซีน BCG ในเด็ก
-บทที่ 7 การรักษาผู้ป่วยวัณโรคในกรณีพิเศษต่างๆ
-เอกสารอ้างอิง
-ภาคผนวก
ลิ้งค์ http://www.pidst.net/files_khowledge/pidst_20140605111556_filekhow.pdf
วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,836 แนวทางการรักษาเด็กและวัยรุ่นปัสสาวะรดที่นอน
Practice parameter for the assessment and treatment
of children and adolescents with enuresis
J Am Acad Child Adolesc Psychiatry.
volume 43 : 12, December 2004
สรุปและเรียบเรียงโดย ผศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Definition
-Assessment
-Treatment
ลิ้งค์ http://rcpsycht.org/capst/
of children and adolescents with enuresis
J Am Acad Child Adolesc Psychiatry.
volume 43 : 12, December 2004
สรุปและเรียบเรียงโดย ผศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Definition
-Assessment
-Treatment
ลิ้งค์ http://rcpsycht.org/capst/
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,835 หญิง 36 ปี ใจสั่น 30 นาที ก่อนมา รพ. EKG เป็นดังภาพ
หญิง 36 ปี ใจสั่น 30 นาที ก่อนมา รพ. EKG เป็นดังภาพ จะให้การวินิจฉัยจังหวะของ EKG นี้ว่าอย่างไรครับ?
วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,834 ความรู้เรื่องแมงมุมพิษ
ตอนนี้มีข่าวว่ามีผู้ป่วยถูกแมงมุมพิษสีน้ำตาลกัดซึ่งมีอาการหนัก
ถ้าสนใจอ่านความรู้เรื่องแมงมุมพิษลองศึกษาตามนี้นะครับ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
1. แมงมุมแม่ม่ายดำ (black widow spider)
2. แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล (brown widow spider)
3. แมงมุมสันโดษสีน้ำตาล (brown recluse spider)
โดยในแมงมุมแต่ละชนิดจะประกอบด้วย
-อาการและอาการแสดง
-การรักษา
ลิ้งค์ http://www.dst.or.th/html/index.php?op=article-detail&id=1207&cid=7#.U8uxZfmSyHN
ถ้าสนใจอ่านความรู้เรื่องแมงมุมพิษลองศึกษาตามนี้นะครับ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
1. แมงมุมแม่ม่ายดำ (black widow spider)
2. แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล (brown widow spider)
3. แมงมุมสันโดษสีน้ำตาล (brown recluse spider)
โดยในแมงมุมแต่ละชนิดจะประกอบด้วย
-อาการและอาการแสดง
-การรักษา
ลิ้งค์ http://www.dst.or.th/html/index.php?op=article-detail&id=1207&cid=7#.U8uxZfmSyHN
วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,833 Diagnostic approach to pleural effusion
American Family Physician
2 July 15 2014 Vol. 90 Number
ภาวะการมีน้ำคั่งในเยื่อหุ้มปอดมักเป็นภาวะที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว, ปอดอักเสบ, มะเร็ง เกิดจากการมีของเหลวสะสมอยู่ระหว่างเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกและเยื่อหุ้มปอดชั้นใน กระบวนการซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อกลไกของระบบสารน้ำ เช่นใน heart failure หรือ nephrotic syndrome มีแนวโน้มเป็น transudate ขณะที่การอักเสบเฉพาะที่มักสัมพันธ์กับ exudate โดยผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการไอ เหนื่อย เจ็บหน้าอกจี๊ดๆ แปล๊บๆ ขณะหายใจเข้าออกหรือไอ (pleuritic chest pain) เคาะทึบจากการตรวจร่างกาย การตรวจ CXR สามารถช่วยในการวินิจฉัย การเจาะปอด (thoacentesis) บ่งบอกการวินิจฉัยและช่วยลดอาการ การใช้อัลตร่าซาวด์เพื่อหาตำแหน่งในการเจาะน้ำมาตรวจมีความเหมาะสมน่านำมาใช้ การตรวจวิเคราะห์น้ำจากเยื่อหุ้มปอดต่างๆ ที่ทำได้แก่ protein, lactate dehydrogenase levels, gram staining, cytology, และ pH ส่วน Light criteria จะช่วยในการแยก exudate กับ transudate การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ, การส่องกล้องผ่านทางหลอดลม, การตัดชิ้นเนื้อผ่านทางผิวหนัง, การส่องกล้องผ่านเข้าทางเยื่อหุ้มปอด (thoracoscopy) อาจจะมีความจำเป็นสำหรับการวินิจฉัยเมื่อการตรวจสิบค้นในเบื้องต้นไม่สามารถให้คำตอบได้
2 July 15 2014 Vol. 90 Number
ภาวะการมีน้ำคั่งในเยื่อหุ้มปอดมักเป็นภาวะที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว, ปอดอักเสบ, มะเร็ง เกิดจากการมีของเหลวสะสมอยู่ระหว่างเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกและเยื่อหุ้มปอดชั้นใน กระบวนการซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อกลไกของระบบสารน้ำ เช่นใน heart failure หรือ nephrotic syndrome มีแนวโน้มเป็น transudate ขณะที่การอักเสบเฉพาะที่มักสัมพันธ์กับ exudate โดยผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการไอ เหนื่อย เจ็บหน้าอกจี๊ดๆ แปล๊บๆ ขณะหายใจเข้าออกหรือไอ (pleuritic chest pain) เคาะทึบจากการตรวจร่างกาย การตรวจ CXR สามารถช่วยในการวินิจฉัย การเจาะปอด (thoacentesis) บ่งบอกการวินิจฉัยและช่วยลดอาการ การใช้อัลตร่าซาวด์เพื่อหาตำแหน่งในการเจาะน้ำมาตรวจมีความเหมาะสมน่านำมาใช้ การตรวจวิเคราะห์น้ำจากเยื่อหุ้มปอดต่างๆ ที่ทำได้แก่ protein, lactate dehydrogenase levels, gram staining, cytology, และ pH ส่วน Light criteria จะช่วยในการแยก exudate กับ transudate การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ, การส่องกล้องผ่านทางหลอดลม, การตัดชิ้นเนื้อผ่านทางผิวหนัง, การส่องกล้องผ่านเข้าทางเยื่อหุ้มปอด (thoracoscopy) อาจจะมีความจำเป็นสำหรับการวินิจฉัยเมื่อการตรวจสิบค้นในเบื้องต้นไม่สามารถให้คำตอบได้
วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,832 Bronchiectasis
ชาย 64 ปี ไอมีเสมหะเรื้อรัง เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง เป็นมานานมากกว่า 3 เดือน ปฏิเสบการเคยมีโรคปอดใดๆ มาก่อน จากภาพเอกซเรย์ที่เห็น ขอให้ช่วยอ่านฟิล์ม คิดถึงอะไร และจะยืนยันการวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างไรครับ?
ขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ ขอเป็นเฉลยพรุ่งนี้ วันนี้ติดอยู่เวรครับ
ขอเลื่อนเฉลยไปก่อนนะครับ พอดีเน็ตเสียไม่สามารถสืบค้นรายละเอียดจนครบได้ครับ (21-7-57)
23-7-57:
จากภาพคิดถึง bronchiectasis หรือโรคหลอดลมพอง ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการไอมีเสมหะเรื้อรัง เสมหะมีลักษณะเป็นเมือก มูกหนอง หนืดเหนียว อาจมีเลือดปนเสมหะ ไอเป็นเลือดออกมาก นอกจากนี้ยังอาจเป็นผลมาจากความเสียหายของทางเดินหายใจที่เกิดจากการทำลายจากการการติดเชื้อเฉียบพลัน อาการหายใจหอบและเกิดเสียงวี๊ดพบได้ร้อยละ 75 ของผู้ป่วย อาการเจ็บหน้าอกแบบ pleuritic chest pain เกิดขึ้นในร้อยละ 50 เสียงผิดปกติได้แก่ crackles (พบได้ 70 %), เสียงวี๊ด (34 %) และมีเสียง rhonchi (44%) ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยนำไปสู่การวินิจฉัย
Bronchiectasis เป็นโรคที่เกิดกับ bronchi และ bronchioles เกิดเนื่องจากวงจรของการติดเชื้อและการอักเสบร่วมกับการมีสารตัวสื่อกลางซึ่งเกี่ยวข้องกับการคั่งของสารที่เกี่ยวเนื่องกับการอักเสบสะสมและจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการอุดตันและความเสียหายต่อทางเดินหายใจและการติดเชื้อเกิดขึ้นซ้ำอีก
CXR อาจจะพบลักษณะที่ไม่จำเพาะได้แก่การอักเสบเป็นส่วนๆ, การทึบที่ไม่สม่ำเสมอแบบกระจัดกระจาย, linear หรือ plate-like atelectasis, หรือการขยายตัวและหนาขึ้นของท่อทางเดินหายใจที่เป็นลักษณะเฉพาะซึ่ง (มักจะเห็นที่ตำแหน่งท่อทางเดินหายใจส่วนปลาย) หรือลักษณะคล้ายรางรถไฟในกรณีที่ท่อทางเดินหายใจตั้งฉากไปกับลำแสงเอกซเรย์ โดยใน HRCT เป็นเครื่องมือที่ดีในการวินิจฉัยจะพบการขยายตัวและหนาขึ้นของท่อทางเดินหายใจ การโป่งขดบางครั้งอาจจะมีลักษณะเป็นกลุ่มของถุงน้ำตลอดจนเป็นลักษณะของการมี infiltration ในส่วนปลาย
ซึ่งผู้ป่วยได้รับการทำ HRCT ผลเป็นดังรูปด้านล่างครับ
วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,831 Single-pill combination regimens for treatment of HIV-1 infection
Clinical therapeutics
N Engl J Med July 17, 2014
การรักษาเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพต้องมีการรับประทานยาหลายชนิดเป็นประจำทุกวันไปโดยตลอ พบว่าอายุขัยของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากผู้ติดเชื้อจะได้รับประโยชน์ ยายังช่วยยับยั้งการติดต่อของเอชไอวีชนิดที่ 1 ไปสู่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อได้เกือบจะสมบูรณ์ ถ้าเราสามารถที่จะรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่หรือทั้งหมดก็จะเป็นการช่วยป้องกันการติดเชื้อใหม่ "ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของโรคเอดส์" ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใฝ่ฝัน
การศึกษาแบบสังเกตหลายการศึกษา รวมถึงการวิเคราะห์แบบ cohort ในผู้ป่วยที่ไม่มีที่อยู่อาศัยและผู้ที่มีที่อยู๋อาศัยแบบย่ำแย่ยังแสดงให้เห็นถึงอัตราการยอมรับที่สูงขึ้นขหรือผลลัพธ์ที่ดีขึ้นด้วยยาผสมในเม็ดเดียว การยอมรับอยู่ที่ 95% หรือมากกว่า ซึ่งพบในยาผสมในเม็ดเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานยาที่มากกว่า 3 ชนิดขึ้นไป
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The clinical problem
-Biologic features of HIV-1 infection
-Clinical evidence
-Clinical use
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Recommendations
-Source Information
N Engl J Med July 17, 2014
การรักษาเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพต้องมีการรับประทานยาหลายชนิดเป็นประจำทุกวันไปโดยตลอ พบว่าอายุขัยของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากผู้ติดเชื้อจะได้รับประโยชน์ ยายังช่วยยับยั้งการติดต่อของเอชไอวีชนิดที่ 1 ไปสู่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อได้เกือบจะสมบูรณ์ ถ้าเราสามารถที่จะรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่หรือทั้งหมดก็จะเป็นการช่วยป้องกันการติดเชื้อใหม่ "ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของโรคเอดส์" ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใฝ่ฝัน
การศึกษาแบบสังเกตหลายการศึกษา รวมถึงการวิเคราะห์แบบ cohort ในผู้ป่วยที่ไม่มีที่อยู่อาศัยและผู้ที่มีที่อยู๋อาศัยแบบย่ำแย่ยังแสดงให้เห็นถึงอัตราการยอมรับที่สูงขึ้นขหรือผลลัพธ์ที่ดีขึ้นด้วยยาผสมในเม็ดเดียว การยอมรับอยู่ที่ 95% หรือมากกว่า ซึ่งพบในยาผสมในเม็ดเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานยาที่มากกว่า 3 ชนิดขึ้นไป
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The clinical problem
-Biologic features of HIV-1 infection
-Clinical evidence
-Clinical use
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Recommendations
-Source Information
อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct1215532
วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,830 การใช้่ยาวัณโรคในผู้ป่วยโรคไต
-ยา INH และ RMP ไม่จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยาในผู้ป่วยไตวาย เนื่องจากขับออกทางน้ำดี
-ยา EMB และ metabolites ของ PZA ขับออกทางไต ดังนั้นจึงต้องปรับยาดังกล่าวในผู้ป่วยโรคไตที่มี อัตราการกรองของไตน้อยกว่า 30 มล/นาที โดยการให้ยาจะไม่ลดขนาดยาลงแต่จะยืดระยะเวลาในการให้ยานานขึ้น เนื่องจากฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อขึ้นอยู่กับขนาดของยา (concentration dependent bactericidal) ขนาดยาในผู้ป่วยโรคไต
-ยา SM ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพิษต่อไตและหูมากขึ้น
-ในผู้ป่วยไตวายที่ต้องล้างไต (hemodialysis) ควรให้ยาหลังทำการล้างไต โดยเฉพาะยา PZA จะถูกกำจัดโดย hemodialysis
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
ลิ้งค์ http://203.157.45.179/yala12/wp-content/uploads/2014/01/CPG-TB-17-May-56-corrected.pdf
-ยา EMB และ metabolites ของ PZA ขับออกทางไต ดังนั้นจึงต้องปรับยาดังกล่าวในผู้ป่วยโรคไตที่มี อัตราการกรองของไตน้อยกว่า 30 มล/นาที โดยการให้ยาจะไม่ลดขนาดยาลงแต่จะยืดระยะเวลาในการให้ยานานขึ้น เนื่องจากฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อขึ้นอยู่กับขนาดของยา (concentration dependent bactericidal) ขนาดยาในผู้ป่วยโรคไต
-ยา SM ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพิษต่อไตและหูมากขึ้น
-ในผู้ป่วยไตวายที่ต้องล้างไต (hemodialysis) ควรให้ยาหลังทำการล้างไต โดยเฉพาะยา PZA จะถูกกำจัดโดย hemodialysis
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
ลิ้งค์ http://203.157.45.179/yala12/wp-content/uploads/2014/01/CPG-TB-17-May-56-corrected.pdf
วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,829 Cerebellar infarction
เป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่พบได้ไม่บ่อย จะเกี่ยวข้องกับเส้นเลือด 3 เส้นที่มาเลี้ยง ได้แก่
-Superior cerebellar artery (SCA)
-Anterior inferior cerebellar artery (AICA)
-Posterior inferior cerebellar artery (PICA)
พบได้ประมาณ 1.5-2.3% ของ cerebral infarction โดยเสันเลือดที่มาเลี้ยงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ posterior circulation ลักษณะทางคลินิก อาจไม่จำเพาะ เช่น คลื่นใส้ อาเจียน เวียนศรีษะ มีความรู้สึกไม่มั่นคงและปวดศีรษะ ซึ่งการวินิจฉัยทางคลินิกอาศัยการตรวจทางระบบประสาทที่เน้นและสงสัย อาจตรวจพบ incoordination, ataxia และ horizontal nystagmus
ลักษณะที่เห็นจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) จะพบมีการสูญเสียการแยกความแตกต่างของ grey-white matter, พบการมีสีดำขึ้น (hypoattenuation) และการบวม อาจนำมาสู๋การเกิด chronic encephalomalacia ซึ่งเกิดขึ้นโดยมีลักษณะที่สอดคล้องตามตำแหน่งของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง (vascular territories)
อัตราการเสียชีวิตจะสูงกว่าการอุดตันของหลอดเลือดอื่นๆ ซึ่งมักจะเกิดมีการขาดเลือดของก้านสมองร่วมด้วย หรือการเกิดน้ำในโพรงสมองจากการกดเบียดทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงสมองมากกว่าจะเกิดจากการที่ตัว cerebellar เองที่ขาดเลือด ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยคือ upward tentorial herniation
Ref: http://radiopaedia.org/articles/cerebellar-infarction
-Superior cerebellar artery (SCA)
-Anterior inferior cerebellar artery (AICA)
-Posterior inferior cerebellar artery (PICA)
พบได้ประมาณ 1.5-2.3% ของ cerebral infarction โดยเสันเลือดที่มาเลี้ยงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ posterior circulation ลักษณะทางคลินิก อาจไม่จำเพาะ เช่น คลื่นใส้ อาเจียน เวียนศรีษะ มีความรู้สึกไม่มั่นคงและปวดศีรษะ ซึ่งการวินิจฉัยทางคลินิกอาศัยการตรวจทางระบบประสาทที่เน้นและสงสัย อาจตรวจพบ incoordination, ataxia และ horizontal nystagmus
ลักษณะที่เห็นจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) จะพบมีการสูญเสียการแยกความแตกต่างของ grey-white matter, พบการมีสีดำขึ้น (hypoattenuation) และการบวม อาจนำมาสู๋การเกิด chronic encephalomalacia ซึ่งเกิดขึ้นโดยมีลักษณะที่สอดคล้องตามตำแหน่งของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง (vascular territories)
อัตราการเสียชีวิตจะสูงกว่าการอุดตันของหลอดเลือดอื่นๆ ซึ่งมักจะเกิดมีการขาดเลือดของก้านสมองร่วมด้วย หรือการเกิดน้ำในโพรงสมองจากการกดเบียดทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงสมองมากกว่าจะเกิดจากการที่ตัว cerebellar เองที่ขาดเลือด ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยคือ upward tentorial herniation
Ref: http://radiopaedia.org/articles/cerebellar-infarction
วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,828 การพิจารณาแยกอาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากผลข้างเคียงของยาวัณโรคกับที่เกิดจากการมีภาวะตับอักเสบ
อาการคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นผลของยาโดยตรงที่ระคายเคืองทางเดินอาหารโดยไม่ได้เกิดจากการมีภาวะตับอักเสบ โดยมักจะมีอาการเฉพาะหลังการรับประทานยา ไม่ได้เป็นทั้งวัน โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายในวันเดียวกันเมื่อระยะเวลาห่างออกไปจากมื้อยา ส่วนใหญ่พบในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการรับประทานยา ส่วนอาการของตับอักเสบซึ่งมักจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยโดยมักเป็นตลอดทั้งวัน และอาจพบหลังจากเริ่มรับประทานยาไปแล้วหลายสัปดาห์ อย่างไรก็ตามการแยกภาวะตับอักเสบออกจากผลของยาที่ทำให้มีอาการคลื่นไส้หรือปวดท้องนั้น สามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้โดยตรวจการทำงานของตับเป็นหลัก ซึ่งยาที่เป็นสาเหตุให้เกิดตับอกเสบได้แก่ INH, rifampicin, pyrazinamide ส่วนกรณีที่มีเฉพาะค่า bilirubin สูงขึ้นโดยไม่ค่อยมีความผิดปกติของ AST/ALT มักเกิดจากยา rifampicin สามารถอ่านรายละเอียดในการตรวจดูแลรักษาภาวะตับอักเสบจากยาวัณโรคได้โดยละเอียดตามอ้างอิงด้านล่างครับ
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
ลิ้งค์ http://203.157.45.179/yala12/wp-content/uploads/2014/01/CPG-TB-17-May-56-corrected.pdf
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
ลิ้งค์ http://203.157.45.179/yala12/wp-content/uploads/2014/01/CPG-TB-17-May-56-corrected.pdf
วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,827 การปรับเปลี่ยนสูตรยาในการรักษาวัณโรคตามแนวทางล่าสุดขององค์การอนามัยโลก
แนวทางการรักษาวัณโรคขององค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุด (พ.ศ. 2552) ได้ยกเลิกระบบ category 1 ถึง 4 และได้จัดระบบสูตรยาใหม่เป็น 3 สูตร ดังนี้
สูตรที่ 1: New patient regimen (สูตรสำหรับผู้ป่วยใหม่ที่ยังไม่เคยรักษา หรือเคยรักษามาไม่เกิน 1 เดือน)
2HRZE / 4HR
สูตรที่ 2 : Re-treatment regimen with first-line drugs (สูตรสำหรับผู้ป่วยรักษาซ้ำด้วยยาวัณโรคแนวที่หนึ่ง) ใช้ในกรณีผู้ป่วยที่ต้องรักษาวัณโรคซ้ำจาก default หรือ relapse
2HRZES5 / 1HRZE / 5HRE
สูตรที่ 3 : MDR regimen (สูตรสำหรับผู้ป่วยที่ยืนยันการวินิจฉัยหรือมีความเสี่ยงสูงต่อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน) ใช้เป็นสูตรมาตรฐานเริ่มต้นของการรักษาซ้ำในกรณี treatment failure หรือมีผลยืนยันวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
> 6Km5LfxEtoCs (+-PAS ) / > = 12 LfxEtoCs (+-PAS )
Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
สูตรที่ 1: New patient regimen (สูตรสำหรับผู้ป่วยใหม่ที่ยังไม่เคยรักษา หรือเคยรักษามาไม่เกิน 1 เดือน)
2HRZE / 4HR
สูตรที่ 2 : Re-treatment regimen with first-line drugs (สูตรสำหรับผู้ป่วยรักษาซ้ำด้วยยาวัณโรคแนวที่หนึ่ง) ใช้ในกรณีผู้ป่วยที่ต้องรักษาวัณโรคซ้ำจาก default หรือ relapse
2HRZES5 / 1HRZE / 5HRE
สูตรที่ 3 : MDR regimen (สูตรสำหรับผู้ป่วยที่ยืนยันการวินิจฉัยหรือมีความเสี่ยงสูงต่อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน) ใช้เป็นสูตรมาตรฐานเริ่มต้นของการรักษาซ้ำในกรณี treatment failure หรือมีผลยืนยันวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
> 6Km5LfxEtoCs (+-PAS ) / > = 12 LfxEtoCs (+-PAS )
Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,826 Pharmacologic management of pain at the end of life
American Family Physician
July 1 2014 Vol. 90 Number 1
แม้ว่าผู้ป่วยจำนวนมากจะประสบกับความเจ็บปวดจากความเจ็บป่วยในช่วงท้ายของชีวิต แต่ก็มีหลายทางเลือกในการแก้ไขความเจ็บปวดและปรับปรุงคุณภาพชีวิต การประเมินความเจ็บปวดโดยใช้เครื่องมือการตรวจสอบ ร่วมกับความสนใจสภาวะของผู้ป่วยและการมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงจะช่วยวางแผนการรักษาในแต่ละบุคคล ซึ่ง WHOได้เสนอบันไดความเจ็บปวด (pain ladder) ซึ่งเป็นแนวทางแบบเป็นขั้นตอนในการดูแลจัดการความเจ็บปวด แต่สำหรับผู้ป่วยจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยในระยะท้ายๆ โอปิออยด์ (opioids) ที่มีฤทธิ์แรงป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการลดความเจ็บปวด
ตารางที่แสดงขนาดยาที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เท่าๆ กัน (equianalgesic) ของยาเม็ดและแนวทางของผู้เชี่ยวชาญจะช่วยได้ตั้งแต่ในช่วงแรก, การตรวจสอบ, และปรับขนาดของยาโอปิออยด์ชนิดรับประทานและชนิดให้ทางทางหลอดเลือด แพทย์ควรจะมีความรู้สึกสบายในการให้ยาซ้ำหลังจากช่วงเวลาออกฤทธิ์สูงสุดของยาถ้าผู้ป่วยยังคงมีความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง การใช้ตารางโอปิออยด์ชนิดที่ออกฤทธิ์นานอาจช่วยปรับปรุงการควบคุมความเจ็บปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่มย่อยของความปวด การดูแลรักษาความเจ็บปวดจากอวัยวะภายในมักจะต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน การปวดจากระบบประสาทจะตอบสนองดีกับการให้ยาเสริมกัน เช่น ยากันชักหรือยาต้านซึมเศร้ารวมถึงร่วมกับการให้โอปิออยด์
โอปิออยด์ที่กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการให้ยาโอปิออยด์ในขนาดใดๆ ก็ได้ แต่จะเพิ่มมากขึ้นในกรณีที่ให้มอร์ฟีนและไฮโดรมอร์โฟน (hydromorphone) ในขนาดสูงทางหลอดเลือดและด้วยการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติของการใช้ยายังไม่ถูกต้องจะสามารถปฏิบัติตามแผนการรักษาอาการปวดได้
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0701/p26
July 1 2014 Vol. 90 Number 1
แม้ว่าผู้ป่วยจำนวนมากจะประสบกับความเจ็บปวดจากความเจ็บป่วยในช่วงท้ายของชีวิต แต่ก็มีหลายทางเลือกในการแก้ไขความเจ็บปวดและปรับปรุงคุณภาพชีวิต การประเมินความเจ็บปวดโดยใช้เครื่องมือการตรวจสอบ ร่วมกับความสนใจสภาวะของผู้ป่วยและการมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงจะช่วยวางแผนการรักษาในแต่ละบุคคล ซึ่ง WHOได้เสนอบันไดความเจ็บปวด (pain ladder) ซึ่งเป็นแนวทางแบบเป็นขั้นตอนในการดูแลจัดการความเจ็บปวด แต่สำหรับผู้ป่วยจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยในระยะท้ายๆ โอปิออยด์ (opioids) ที่มีฤทธิ์แรงป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการลดความเจ็บปวด
ตารางที่แสดงขนาดยาที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เท่าๆ กัน (equianalgesic) ของยาเม็ดและแนวทางของผู้เชี่ยวชาญจะช่วยได้ตั้งแต่ในช่วงแรก, การตรวจสอบ, และปรับขนาดของยาโอปิออยด์ชนิดรับประทานและชนิดให้ทางทางหลอดเลือด แพทย์ควรจะมีความรู้สึกสบายในการให้ยาซ้ำหลังจากช่วงเวลาออกฤทธิ์สูงสุดของยาถ้าผู้ป่วยยังคงมีความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง การใช้ตารางโอปิออยด์ชนิดที่ออกฤทธิ์นานอาจช่วยปรับปรุงการควบคุมความเจ็บปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่มย่อยของความปวด การดูแลรักษาความเจ็บปวดจากอวัยวะภายในมักจะต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน การปวดจากระบบประสาทจะตอบสนองดีกับการให้ยาเสริมกัน เช่น ยากันชักหรือยาต้านซึมเศร้ารวมถึงร่วมกับการให้โอปิออยด์
โอปิออยด์ที่กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการให้ยาโอปิออยด์ในขนาดใดๆ ก็ได้ แต่จะเพิ่มมากขึ้นในกรณีที่ให้มอร์ฟีนและไฮโดรมอร์โฟน (hydromorphone) ในขนาดสูงทางหลอดเลือดและด้วยการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติของการใช้ยายังไม่ถูกต้องจะสามารถปฏิบัติตามแผนการรักษาอาการปวดได้
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0701/p26
วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,825 Peritonsillar abscess (quinsy, quinsey)
ชาย 30 ปี ปวดในช่องปากด้านขวา กลืนลำบาก อ้าปากลำบาก 3 วัน จะให้การวินิจฉัยอะไรและให้การรักษาอย่างไร?
ขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ครับ
ภาพนี้เป็นช่วงที่ผู้ป่วยดีขึ้นบ้างแล้ว อาการปวดลดลง อ้าปากได้กว้างขึ้น เริ่มพูดและรับประทานได้แล้วจึงสามารถถ่ายรูปได้
ซึ่งจากข้อมูลและการตรวจตั้งแต่แรกทำให้คิดถึง peritonsillar abscess หรืออาจเรียกว่า (quinsy, quinsey) ทางด้านขวา โดยประวัติและการตรวจร่างกายมักจะสามารถให้การวินิจฉัยได้ แต่บางครั้งอาจจะใช้เครื่องมือในการช่วยวินิจฉัยได้ เช่น การใช้อัลตร้าซาวนด์ โดยอาจวางหัวตรวจที่ตำแหน่ง submandibular gland หรือการตรวจในช่องปากโดยให้ผู้ป่วยนั่ง แล้วใช้ tongue blade กดที่ลิ้นไว้ ใช้หัวตรวจวางที่รอยโรคซึ่งอาจจะพบ echo-free cavity with an irregular, well-defined circumference แต่การที่ผู้ป่วยอ้าปากได้น้อย (มี trimus) อาจจะเกิดข้อจำกัดในการตรวจ
การวินิจฉัยแยกโรคได้แก่
-Peritonsillar cellulitis
-Cervical adenitis
-Tonsillar abscess
-Dental infections
-Salivary gland infection
เป็นต้น
การรักษา อาจจะใช้การทำ needle aspiration, incision and drainage, และการทำ tonsillectomy
โดยยากลุ่ม pennicillin เป็นยาทางเลือกหลักในการรักษา แต่กรณีที่เป็นเชื้อ beta-lactamase-producing organisms อาจพิจารณายาเป็น clindamycin, second หรือ third-generation หรือถ้าใช้ pennicillin แล้วไม่ตอบสนองอาจเพิ่ม metronidazole ระหว่างรอผลการเพาะเชื้อและการตอบสนองของยา และชนิดของยาปฏิชีวนะยังขึ้นอยู่กับการย้อมเชื้อสีแกรม, การเพาะเชื้อด้วย
ส่วนผู้ที่ร่วมตอบแสดงความเห็นบอกว่าเป็น deep neck infections ซึ่งก็ถือว่า peritonsillar abscess เป็นการติดเชื้อของโพรงส่วนลึกของคอ (deep neck infections) เช่นกันครับ โดย deep neck infections เป็นการอักเสบติดเชื้อที่บริเวณศรีษะและคอซึ่งเกิดขึ้นภายในโพรงที่เกิดจากเยื้อพังผืดส่วนลึกของคอ (deep cervical fascia) เยื่อพังผืดดังกล่าวห่อหุ้มอวัยวะต่างๆ บริเวณคอ ได้แก่ กล้ามเนื้อในบริเวณลำคอ กล่องเสียง หลอดลม หลอดอาหาร ต่อมต่างๆ รวมถึง เส้นประสาท และหลอดเลือด โดยที่การติดเชื้อของโพรงลึกส่วนคอสามารถแบ่งย่อยเป็นโพรง (spaces) ต่างๆ ตามตำแหน่งทางกายวิภาค ได้แก่ superficial space, retropharyngeal space, danger space, prevertebral space, vascular space, submandibular space, parapharyngeal space, peritonsillar space, masticator and temporal space, parotid space เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,824 Mold infections of the central nervous system
Review article
N Engl J Med July 10, 2014
เมื่อเร็วๆ นี้ การระบาดของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Exserohilum rostratum เชื่อมโยงกับการฉีด methylprednisolone acetate ที่ epidural ได้นำมาสู่ความสนใจต่อการติดเชื้อของเชื้อราต่อระบบประสาทส่วนกลางแม้ว่าจะพบไม่บ่อย แต่การติดเชื้อเหล่านี้มักจะเกิดความเสียหายและยากที่จะรักษา โดยในบทความนี้มุ่งเน้นในด้านระบาดวิทยา, ลักษณะทางคลินิก, และการรักษาของการติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง:ซึ่งครอบคลุมกลุ่มของเชื้อโรคที่พบบ่อย: aspergillus, fusarium, and scedosporium species
molds อยู่ใน order Mucorales และ dematiaceous molds การติดเชื้อในกลุ่มเหล่านี้มีรูปแบบที่โดดเด่นทางระบาดวิทยา, มีอาการทางคลินิก, มีลักษณะทางจุลชีววิทยา, และผลกระทบในการรักษา ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่แพทย์ควรจะเข้าใจ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Common Features
Early Diagnosis
Antifungal Therapy
Neurosurgical Assessment and Intervention
Management of Immunologic Impairments
-Specific Pathogens
Aspergillus Species
Mucorales
Fusarium Species
Scedosporium Species
Dematiaceous Molds
-Source Information
อ้่างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1216008
N Engl J Med July 10, 2014
เมื่อเร็วๆ นี้ การระบาดของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Exserohilum rostratum เชื่อมโยงกับการฉีด methylprednisolone acetate ที่ epidural ได้นำมาสู่ความสนใจต่อการติดเชื้อของเชื้อราต่อระบบประสาทส่วนกลางแม้ว่าจะพบไม่บ่อย แต่การติดเชื้อเหล่านี้มักจะเกิดความเสียหายและยากที่จะรักษา โดยในบทความนี้มุ่งเน้นในด้านระบาดวิทยา, ลักษณะทางคลินิก, และการรักษาของการติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง:ซึ่งครอบคลุมกลุ่มของเชื้อโรคที่พบบ่อย: aspergillus, fusarium, and scedosporium species
molds อยู่ใน order Mucorales และ dematiaceous molds การติดเชื้อในกลุ่มเหล่านี้มีรูปแบบที่โดดเด่นทางระบาดวิทยา, มีอาการทางคลินิก, มีลักษณะทางจุลชีววิทยา, และผลกระทบในการรักษา ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่แพทย์ควรจะเข้าใจ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Common Features
Early Diagnosis
Antifungal Therapy
Neurosurgical Assessment and Intervention
Management of Immunologic Impairments
-Specific Pathogens
Aspergillus Species
Mucorales
Fusarium Species
Scedosporium Species
Dematiaceous Molds
-Source Information
อ้่างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1216008
วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,823 Prevention and treatment of motion sickness
July 1 2014 Vol. 90 Number 1
American Family Physician
อาการเมารถเมาเรือ (motion sickness) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยซึ่งเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวในบางลักษณะ ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากการไม่ประสานงานกันของระบบการทรงตัว, ระบบการมองเห็น และระบบการรับความรู้สึกจากกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ (proprioceptive systems)
แม้ว่าอาการคลื่นไส้เป็นอาการหลักที่สำคัญ แต่มักจะมีอาการนำอื่นๆ ได้แก่อาการทางกระเพาะอาหาร, รู้สึกอ่อนเพลียไม่สบาย, วิงเวียน, รู้สึกง่วง, และความกระวนกระวาย
ควรจะเน้นผู้ป่วยในการตรวจสอบวินิจฉัยด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มแรก และผู้ป่วยควรได้รับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกลวิธีการใช้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเมาก่อนที่จะเดินทาง ผู้ป่วยควรเรียนรู้ที่จะระบุสถานการณ์ที่จะนำไปสู่อาการดังกล่าวและลดการเคลื่อนไหวให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ไม่สบายเพื่อการหลีกเลี่ยงสภาวะดังกล่าว ในขณะที่เดินทางหรือการอยู่ในตำแหน่งที่มีเสถียรภาพมากที่สุดของยานพาหนะ การเคลื่อนไหวที่ช้าๆ ทำเป็นช่วงๆ สามารถลดอาการ กลวิธีพฤติกรรมอื่น ๆ รวมถึงการดูภาพขอบฟ้าจริง, การหมุนพวงมาลัย, การเอียงศีรษะไปในทิศทางที่เลี้ยวเปลี่ยนท่าหรือการนอนลงร่วมกับการปิดตา
ผู้ป่วยควรพยายามที่จะลดแหล่งอื่นๆ ของความรู้สึกไม่สบายทางร่างกาย, จิตใจ, และอารมณ์ ยา scopolamine เป็นยาตัวแรกที่เลือกในการป้องกันและสามารถให้ผ่านทางผิวหนัง (transdermal) เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนจะต้องทำการการเคลื่อนไหว ยาต้านฮีสตามีนรุ่นแรกแม้ว่าจะง่วงแต่ว่ามีประสิทธิภาพ ส่วนยาต้านฮีสตามีนที่ไม่ง่วง, ondansetron และรากขิงมิได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดดังกล่าว
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0701/p41
American Family Physician
อาการเมารถเมาเรือ (motion sickness) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยซึ่งเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวในบางลักษณะ ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากการไม่ประสานงานกันของระบบการทรงตัว, ระบบการมองเห็น และระบบการรับความรู้สึกจากกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ (proprioceptive systems)
แม้ว่าอาการคลื่นไส้เป็นอาการหลักที่สำคัญ แต่มักจะมีอาการนำอื่นๆ ได้แก่อาการทางกระเพาะอาหาร, รู้สึกอ่อนเพลียไม่สบาย, วิงเวียน, รู้สึกง่วง, และความกระวนกระวาย
ควรจะเน้นผู้ป่วยในการตรวจสอบวินิจฉัยด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มแรก และผู้ป่วยควรได้รับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกลวิธีการใช้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเมาก่อนที่จะเดินทาง ผู้ป่วยควรเรียนรู้ที่จะระบุสถานการณ์ที่จะนำไปสู่อาการดังกล่าวและลดการเคลื่อนไหวให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ไม่สบายเพื่อการหลีกเลี่ยงสภาวะดังกล่าว ในขณะที่เดินทางหรือการอยู่ในตำแหน่งที่มีเสถียรภาพมากที่สุดของยานพาหนะ การเคลื่อนไหวที่ช้าๆ ทำเป็นช่วงๆ สามารถลดอาการ กลวิธีพฤติกรรมอื่น ๆ รวมถึงการดูภาพขอบฟ้าจริง, การหมุนพวงมาลัย, การเอียงศีรษะไปในทิศทางที่เลี้ยวเปลี่ยนท่าหรือการนอนลงร่วมกับการปิดตา
ผู้ป่วยควรพยายามที่จะลดแหล่งอื่นๆ ของความรู้สึกไม่สบายทางร่างกาย, จิตใจ, และอารมณ์ ยา scopolamine เป็นยาตัวแรกที่เลือกในการป้องกันและสามารถให้ผ่านทางผิวหนัง (transdermal) เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนจะต้องทำการการเคลื่อนไหว ยาต้านฮีสตามีนรุ่นแรกแม้ว่าจะง่วงแต่ว่ามีประสิทธิภาพ ส่วนยาต้านฮีสตามีนที่ไม่ง่วง, ondansetron และรากขิงมิได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดดังกล่าว
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0701/p41
วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,822 ผังการวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โดยกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
ผังการวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 2546 แม้จะเก่าหน่อยแต่ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
ลิ้งค์ http://e-lib.ddc.moph.go.th/downloaded.php?id=7434&name=eb112
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,821 คู่มือการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,820 ว่าด้วยเรื่องการให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันยังไม่เป็นที่ตกลงกันอย่างชัดเจน ในกรณีอาการไม่รุนแรงยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องให้ แต่พบว่ามีผลลัพทธ์ดีขึ้นในผู้ที่เป็นรุนแรง พบว่าประมาณ 30 % ของผู้ที่มีตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันรุนแรงจะเกิดการติดเชื้อในเนื้อเยื่อตับอ่อนที่เสียหาย การให้ยาปฏิชีวนะสามารถป้องกันการติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อที่มีอยู่โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดเนื้อตาย (pancreatic necrosis)
บทบาทและศักยภาพในการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันในตับอ่อนอักเสบรุนแรงได้รับการสนับสนุนโดยการทดลองแบบสุ่มที่แสดงให้เห็นว่าการให้ยา imipenem ลดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อได้แก่การติดเชื้อของสายสวนส่วนกลาง (central-line), การติดเชื้อปอด, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและติดเชื้อในเนื้อเยื่อตับอ่อนที่ตาย, และยังมีการศึกษาพบว่าการให้ยาปฏิชีวนะช่วยลดการเกิด pancreatic sepsis, การเสียชีวิต, การติดเชื้อภายนอกตับอ่อน, และลดอัตราการผ่าตัด แต่ก็ยังมีการทดลองแบบสุ่มที่ผ่านมาไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอัตราการติดเชื้อใน pancreatic necrosis, ภาวะแทรกซ้อนเชิงระบบ หรืออัตราตายในผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยา ciprofloxacin + metronidazole เมื่อเทียบกับ placebo ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่แนะนำในการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกัน ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้นที่ยังไม่มีการตกตลงกันอย่างเป็นแนวทางที่ชัดเจน การจะพิจารณาใช้ยาจึงต้องเปรียบเทียบพิจารณาอย่างรอบคอบระหว่างประโยชน์ที่ได้กับความเสี่ยงที่อาจได้รับ (เช่นผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากยา, การติดเชื้อรา, และการดื้อยา)
Ref: http://www.uptodate.com/contents/acute-pancreatitis-beyond-the-basics
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp054958
http://www.aafp.org/afp/2007/0515/p1513.html
บทบาทและศักยภาพในการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันในตับอ่อนอักเสบรุนแรงได้รับการสนับสนุนโดยการทดลองแบบสุ่มที่แสดงให้เห็นว่าการให้ยา imipenem ลดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อได้แก่การติดเชื้อของสายสวนส่วนกลาง (central-line), การติดเชื้อปอด, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและติดเชื้อในเนื้อเยื่อตับอ่อนที่ตาย, และยังมีการศึกษาพบว่าการให้ยาปฏิชีวนะช่วยลดการเกิด pancreatic sepsis, การเสียชีวิต, การติดเชื้อภายนอกตับอ่อน, และลดอัตราการผ่าตัด แต่ก็ยังมีการทดลองแบบสุ่มที่ผ่านมาไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอัตราการติดเชื้อใน pancreatic necrosis, ภาวะแทรกซ้อนเชิงระบบ หรืออัตราตายในผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยา ciprofloxacin + metronidazole เมื่อเทียบกับ placebo ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่แนะนำในการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกัน ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้นที่ยังไม่มีการตกตลงกันอย่างเป็นแนวทางที่ชัดเจน การจะพิจารณาใช้ยาจึงต้องเปรียบเทียบพิจารณาอย่างรอบคอบระหว่างประโยชน์ที่ได้กับความเสี่ยงที่อาจได้รับ (เช่นผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากยา, การติดเชื้อรา, และการดื้อยา)
Ref: http://www.uptodate.com/contents/acute-pancreatitis-beyond-the-basics
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp054958
http://www.aafp.org/afp/2007/0515/p1513.html
วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,819 A randomized trial of epidural glucocorticoid injections for spinal stenosis
Original article
N Engl J Med July 3, 201
ที่มา: การฉีดกลูโคคอร์ติคอยด์ที่ชั้น epidural มีการมาอย่างแพร่หลายในการรักษาอาการของกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบ (lumbar spinal stenosis) ซึ่งเป็นสาเหตุของความเจ็บปวดและการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามยังขาดข้อมูลที่ชัดเจนในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการฉีดยานี้
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ double-blind โดยการสุ่มผู้ป่วยจำนวน 400 คนที่มีกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบและมีอาการปวดขาระดับปานกลางถึงรุนแรงและการที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ โดยได้รับการฉีดกลูโคคอร์ติคอยด์ร่วมกับลิโดเคน (lidocaine) หรือลิโดเคนเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดหนึ่งหรือสองครั้งก่อนที่จะประเมินผลลัพธ์หลักที่ 6 สัปดาห์หลังจากการสุ่มและการฉีดครั้งแรก
ผลลัพธ์โดยดูจากการมีคะแนนของ Roland–Morris Disability Questionnaire (RMDQ) โดยมีช่วงคะแนน 0-24 ซึ่งการมีคะแนนสูงแสดงให้เห็นถึงการที่ร่างกายไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ที่มากขึ้น และการประเมินความรุนแรงของอาการปวดขา (ในระดับคะแนน 0-10 , โดย 0 แสดงถึงความไม่เจ็บปวดและ 10 แสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดรุนแรงเท่าที่สามารถจินตนาการได้)
ผลการศึกษา: ที่ 6 สัปดาห์พบว่าไม่มีแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มในระดับคะแนน RMDQ (adjusted difference ของผลการรักษาเฉลี่ยระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฉีดกลูโคคอร์ติคอยด์ร่วมกับลิโดเคน และกลุ่มที่ได้รับลิโดเคนอย่างเดียวคือ -1.0 points; 95% confidence interval [CI], −2.1 to 0.1; P=0.07) หรือความรุนแรงของอาการปวดขา (adjusted difference ของผลการรักษาเฉลี่ย, −0.2 points; 95% CI, −0.8 to 0.4; P=0.48)
การวิเคราะห์กลุ่มย่อยรองอย่างจำเพาะด้วยการแบ่งชั้นตามประเภทของการฉีด (interlaminar กับ transforaminal) ก็เช่นเดียวกันคือพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ 6 สัปดาห์
สรุป: ในการรักษากระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบ การฉีดกลูโคคอร์ติคอยด์ร่วมกับลิโดเคนอาจให้ประโยช์น้อยมากหรือไม่มีประโยชน์ในระยะสั้นเมื่อเทียบกับการลิโดเคนเพียงอย่างเดียว
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1313265
N Engl J Med July 3, 201
ที่มา: การฉีดกลูโคคอร์ติคอยด์ที่ชั้น epidural มีการมาอย่างแพร่หลายในการรักษาอาการของกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบ (lumbar spinal stenosis) ซึ่งเป็นสาเหตุของความเจ็บปวดและการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามยังขาดข้อมูลที่ชัดเจนในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการฉีดยานี้
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ double-blind โดยการสุ่มผู้ป่วยจำนวน 400 คนที่มีกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบและมีอาการปวดขาระดับปานกลางถึงรุนแรงและการที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ โดยได้รับการฉีดกลูโคคอร์ติคอยด์ร่วมกับลิโดเคน (lidocaine) หรือลิโดเคนเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดหนึ่งหรือสองครั้งก่อนที่จะประเมินผลลัพธ์หลักที่ 6 สัปดาห์หลังจากการสุ่มและการฉีดครั้งแรก
ผลลัพธ์โดยดูจากการมีคะแนนของ Roland–Morris Disability Questionnaire (RMDQ) โดยมีช่วงคะแนน 0-24 ซึ่งการมีคะแนนสูงแสดงให้เห็นถึงการที่ร่างกายไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ที่มากขึ้น และการประเมินความรุนแรงของอาการปวดขา (ในระดับคะแนน 0-10 , โดย 0 แสดงถึงความไม่เจ็บปวดและ 10 แสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดรุนแรงเท่าที่สามารถจินตนาการได้)
ผลการศึกษา: ที่ 6 สัปดาห์พบว่าไม่มีแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มในระดับคะแนน RMDQ (adjusted difference ของผลการรักษาเฉลี่ยระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฉีดกลูโคคอร์ติคอยด์ร่วมกับลิโดเคน และกลุ่มที่ได้รับลิโดเคนอย่างเดียวคือ -1.0 points; 95% confidence interval [CI], −2.1 to 0.1; P=0.07) หรือความรุนแรงของอาการปวดขา (adjusted difference ของผลการรักษาเฉลี่ย, −0.2 points; 95% CI, −0.8 to 0.4; P=0.48)
การวิเคราะห์กลุ่มย่อยรองอย่างจำเพาะด้วยการแบ่งชั้นตามประเภทของการฉีด (interlaminar กับ transforaminal) ก็เช่นเดียวกันคือพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ 6 สัปดาห์
สรุป: ในการรักษากระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบ การฉีดกลูโคคอร์ติคอยด์ร่วมกับลิโดเคนอาจให้ประโยช์น้อยมากหรือไม่มีประโยชน์ในระยะสั้นเมื่อเทียบกับการลิโดเคนเพียงอย่างเดียว
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1313265
วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,818 Acute kidney injury and chronic kidney disease as interconnected syndromes
Review article
N Engl J Med July 3, 2014
นานกว่า 40 ปีมาแล้วที่แพทย์ด้านโรคไตได้แบ่งการทำงานของไตที่ลดลงเป็นสองกลุ่มอาการที่แตกต่างกัน คือไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ในขณะที่เป็นโรคไตเรื้อรังได้รับการยอมรับในศตวรรษที่ 19 ซึ่งความผิดปกติของไตอย่างเฉียบพลันมีหลักฐานในช่วงที่มีการระเบิดทำลายในลอนดอนของสงครามโลกครั้งที่ 2
ด้วยความจริงที่ว่าการบาดเจ็บที่เกิดการถูกกดหรือทับอาจเป็นสาเหตุได้อย่างรุนแรงแต่การทำงานของไตมักจะกลับมาปกติ ระดับของโรคและระยะของอาการไตวายเฉียบพลันและเรื้อรังมีการจำแนกไปตามระดับของครีเอตินินหรืออัตราการกรองของไต สิ่งที่แสดงถึงการทำงานไตนี้ได้รับการระบุไว้ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 20 ซึ่งการลดการทำงานของไตในขั้นรุนแรงของกลุ่มอาการทั้งสองจะให้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิดการแยกรูปแบบของความต่างหากในไตวายเรื้อรังและไตวายเฉียบพลันถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดวิธีการวิจัยทางคลินิกและการทดลองศึกษาแต่อย่างไรก็ตามการศึกษาทางระบาดวิทยาและกลไกล่าสุดแสดงให้เห็นว่าทั้งสองกลุ่มอาการไม่สามารถแยกออกจากกันได้ทั้งหมด แต่มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยไตวายเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการทำงานลดลงเฉียบพลันของไต และการทำงานลดลงเฉียบพลันของไตก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการการเกิดโรคไตเรื้อรังและทั้งสองเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Definition of Acute Kidney Injury
-Epidemiologic Evidence for Interconnection of the Two Syndromes
-Acute Kidney Injury, Chronic Kidney Disease, and Cardiovascular Disease
-Progression of Chronic Kidney Disease after Acute Kidney Injury
-Chronic Kidney Disease as a Risk Factor for Acute Kidney Injury
-Unanswered Questions
-Source Information
อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1214243
N Engl J Med July 3, 2014
นานกว่า 40 ปีมาแล้วที่แพทย์ด้านโรคไตได้แบ่งการทำงานของไตที่ลดลงเป็นสองกลุ่มอาการที่แตกต่างกัน คือไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ในขณะที่เป็นโรคไตเรื้อรังได้รับการยอมรับในศตวรรษที่ 19 ซึ่งความผิดปกติของไตอย่างเฉียบพลันมีหลักฐานในช่วงที่มีการระเบิดทำลายในลอนดอนของสงครามโลกครั้งที่ 2
ด้วยความจริงที่ว่าการบาดเจ็บที่เกิดการถูกกดหรือทับอาจเป็นสาเหตุได้อย่างรุนแรงแต่การทำงานของไตมักจะกลับมาปกติ ระดับของโรคและระยะของอาการไตวายเฉียบพลันและเรื้อรังมีการจำแนกไปตามระดับของครีเอตินินหรืออัตราการกรองของไต สิ่งที่แสดงถึงการทำงานไตนี้ได้รับการระบุไว้ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 20 ซึ่งการลดการทำงานของไตในขั้นรุนแรงของกลุ่มอาการทั้งสองจะให้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิดการแยกรูปแบบของความต่างหากในไตวายเรื้อรังและไตวายเฉียบพลันถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดวิธีการวิจัยทางคลินิกและการทดลองศึกษาแต่อย่างไรก็ตามการศึกษาทางระบาดวิทยาและกลไกล่าสุดแสดงให้เห็นว่าทั้งสองกลุ่มอาการไม่สามารถแยกออกจากกันได้ทั้งหมด แต่มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยไตวายเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการทำงานลดลงเฉียบพลันของไต และการทำงานลดลงเฉียบพลันของไตก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการการเกิดโรคไตเรื้อรังและทั้งสองเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Definition of Acute Kidney Injury
-Epidemiologic Evidence for Interconnection of the Two Syndromes
-Acute Kidney Injury, Chronic Kidney Disease, and Cardiovascular Disease
-Progression of Chronic Kidney Disease after Acute Kidney Injury
-Chronic Kidney Disease as a Risk Factor for Acute Kidney Injury
-Unanswered Questions
-Source Information
อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1214243
วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,817 Giant-cell arteritis and polymyalgia rheumatica
Clinical practice
N Engl J Med July 3, 2014
Key clinical points
-โรคระบบภูมิคุ้มกัน giant-cell arteritis และ polymyalgia rheumatica เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่อายุ 50 ปีหรือมากกว่าและได้รับการยอมรับในขณะนี้ว่าเป็นโรคเรื้อรัง
-การวินิจฉัย giant-cell arteritis ควรจะได้รับการยืนยันบนพื้นฐานของผลการตรวจจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อถึงความเป็นไปได้
-กลูโคคอร์ติคอยด์เป็นการรักษามาตรฐานในการรักษาทั้ง giant-cell arteritis และ polymyalgia rheumatica โดยใช้ขนาดที่สูงขึ้นสำหรับ giant-cell arteritis การกำเริบในผู้ป่วยที่เป็น giant-cell arteritis และ polymyalgia rheumatica พบได้บ่อยในระหว่างการลดขนาดของกลูโคคอร์ติคอยด์และมักจะตอบสนองในการเพิ่มขนาดยาขึ้น 10 ถึง 20%
-Arteritic ischemic optic neuropathy อาจส่งผลให้ตาบอด ควรจะถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินและต้องให้การวินิจฉัยที่รวดเร็วโดยให้การรักษาด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์ขนาดสูง
-หนึ่งในสี่ของผู้ป่วยที่เป็น giant-cell arteritis พบว่าเส้นเลือดเอออร์ต้าเป็นเส้นเลือดหลักที่ได้รับผลกระทบ โดยที่เส้นเลือดขนาดใหญ่มีความน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยด้วยการใช้เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือการถ่ายภาพคลื่นสนามแม่เหล็ก
-โดยทั่วไปการมีชีวิตที่ยืนยาวจะไม่ได้ลดลงจาก giant-cell arteritis หรือ polymyalgia rheumatica แต่การรักษาด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์มักจะมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความใส่ใจในเรื่องเกี่ยวกับการสูญเสียมวลกระดูกและการพิจารณาเพื่อการป้องกันการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อ pneumocystis pneumonia
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Pathophysiological Features
Strategies and Evidence
Evaluation and Management
Treatment
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Source Information
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1214825
N Engl J Med July 3, 2014
Key clinical points
-โรคระบบภูมิคุ้มกัน giant-cell arteritis และ polymyalgia rheumatica เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่อายุ 50 ปีหรือมากกว่าและได้รับการยอมรับในขณะนี้ว่าเป็นโรคเรื้อรัง
-การวินิจฉัย giant-cell arteritis ควรจะได้รับการยืนยันบนพื้นฐานของผลการตรวจจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อถึงความเป็นไปได้
-กลูโคคอร์ติคอยด์เป็นการรักษามาตรฐานในการรักษาทั้ง giant-cell arteritis และ polymyalgia rheumatica โดยใช้ขนาดที่สูงขึ้นสำหรับ giant-cell arteritis การกำเริบในผู้ป่วยที่เป็น giant-cell arteritis และ polymyalgia rheumatica พบได้บ่อยในระหว่างการลดขนาดของกลูโคคอร์ติคอยด์และมักจะตอบสนองในการเพิ่มขนาดยาขึ้น 10 ถึง 20%
-Arteritic ischemic optic neuropathy อาจส่งผลให้ตาบอด ควรจะถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินและต้องให้การวินิจฉัยที่รวดเร็วโดยให้การรักษาด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์ขนาดสูง
-หนึ่งในสี่ของผู้ป่วยที่เป็น giant-cell arteritis พบว่าเส้นเลือดเอออร์ต้าเป็นเส้นเลือดหลักที่ได้รับผลกระทบ โดยที่เส้นเลือดขนาดใหญ่มีความน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยด้วยการใช้เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือการถ่ายภาพคลื่นสนามแม่เหล็ก
-โดยทั่วไปการมีชีวิตที่ยืนยาวจะไม่ได้ลดลงจาก giant-cell arteritis หรือ polymyalgia rheumatica แต่การรักษาด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์มักจะมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความใส่ใจในเรื่องเกี่ยวกับการสูญเสียมวลกระดูกและการพิจารณาเพื่อการป้องกันการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อ pneumocystis pneumonia
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Pathophysiological Features
Strategies and Evidence
Evaluation and Management
Treatment
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Source Information
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1214825
วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,816 แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2557
แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2557
[Essentials of HIV/AIDS Treatment and Prevention 2014 Thailand)
โดยสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดติอทางเพศสัมพันธ์
กรมควบคุมโรค
ลิ้งค์ http://www.aidsstithai.org/contents/download/733
[Essentials of HIV/AIDS Treatment and Prevention 2014 Thailand)
โดยสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดติอทางเพศสัมพันธ์
กรมควบคุมโรค
วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,815 EKG ของผู้ป่วยชาย 85 ปี
EKG ของผู้ป่วยชาย 85 ปี ลักษณะ P wave ที่เห็นมีความผิดปกติอย่างไร และมีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง?
Click ที่ภาพเพื่อขยายขนาด