วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

2,841 ว่าด้วยเรื่องการตรวจคัดกรองหลอดเลือดในช่องท้องโป่งพอง (abdominal aortic aneurysms,AAAs)

-ความชุกของของหลอดเลือดในช่องท้องโป่งพอง (abdominal aortic aneurysms,AAAs) ซึ่งกำหนดโดยการที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดตั้งแต่ 3.0 เซนติเมตรขึ้นไป ในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี อาจจะพบได้สูงถึง 7% ในผู้ชาย และ 1% ในผู้หญิง
-ในปี 2005 (U.S. Preventive Services Task Force, USPSTF) แนะนำการตรวจคัดกรองเพียงครั้งเดียวโดยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) ในผู้ชายอายุ 65-75 ปี ที่เคยสูบบุหรี่ (โดยการกำหนดในผู้ที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ 100 มวนขึ้นไป) และไม่แนะนำกับการตรวจคัดกรองเป็นประจำในผู้หญิง
-ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การมีอายุที่มากขึ้น, การสูบบุหรี่, ประวัติศาสตร์ญาติสายตรงลำดับแรกเป็น AAA และมีประวัติของการโป่งพองของหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วน หรือความดันโลหิตสูง
-ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอระหว่างประโยชน์และผลเสียของการตรวจคัดกรองในผู้หญิง 65-75 ปี ที่เคยสูบบุหรี่
-การตรวจคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวด์แบบ duplex ในช่องท้องมีความไวและความจำเพาะของ 97% และ 99% ตามลำดับ และเป็นวิธีการมาตรฐานในการตรวจคัดกรอง AAA
-การรักษา: กรณีที่มีขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ 5.5เซนติเมตรขึ้นไป) ให้รักษาโดยการ open repair หรือ endovascular intervention สำหรับขนาดเล็ก (3.0-5.4 เซนติเมตร) ให้การรักษาแบบ conservatively (เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ซ้ำทุก 3-12 เดือน)
-การตรวจคัดกรองในผู้ชายพบว่ามีความสัมพันธ์กับ absolute risk reduction related death 1.4 ต่อ 1000 คนที่ทำการตรวจคัดกรอง
-ซึ่งในคำแนำนำล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาก็ยังแนะนำให้ทำการคัดกรองในผู้ชายอายุ 65-75 ปี ที่เคยสูบบุหรี่ รวมถึงอาจจะทำการตรวจคัดกรองในผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่แต่มีปัจจัยเสี่ยง

Ref: http://www.jwatch.org/na34998/2014/07/10/screening-abdominal-aortic-aneurysms
http://www.familypracticenews.com/home/article/uspstf-women-smokers-might-benefit-from-aaa-screening/808f4dd2a9e9d2b2d58d1eef81e2ef09.h

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น