July 1 2014 Vol. 90 Number 1
แม้ว่าผู้ป่วยจำนวนมากจะประสบกับความเจ็บปวดจากความเจ็บป่วยในช่วงท้ายของชีวิต แต่ก็มีหลายทางเลือกในการแก้ไขความเจ็บปวดและปรับปรุงคุณภาพชีวิต การประเมินความเจ็บปวดโดยใช้เครื่องมือการตรวจสอบ ร่วมกับความสนใจสภาวะของผู้ป่วยและการมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงจะช่วยวางแผนการรักษาในแต่ละบุคคล ซึ่ง WHOได้เสนอบันไดความเจ็บปวด (pain ladder) ซึ่งเป็นแนวทางแบบเป็นขั้นตอนในการดูแลจัดการความเจ็บปวด แต่สำหรับผู้ป่วยจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยในระยะท้ายๆ โอปิออยด์ (opioids) ที่มีฤทธิ์แรงป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการลดความเจ็บปวด
ตารางที่แสดงขนาดยาที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เท่าๆ กัน (equianalgesic) ของยาเม็ดและแนวทางของผู้เชี่ยวชาญจะช่วยได้ตั้งแต่ในช่วงแรก, การตรวจสอบ, และปรับขนาดของยาโอปิออยด์ชนิดรับประทานและชนิดให้ทางทางหลอดเลือด แพทย์ควรจะมีความรู้สึกสบายในการให้ยาซ้ำหลังจากช่วงเวลาออกฤทธิ์สูงสุดของยาถ้าผู้ป่วยยังคงมีความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง การใช้ตารางโอปิออยด์ชนิดที่ออกฤทธิ์นานอาจช่วยปรับปรุงการควบคุมความเจ็บปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่มย่อยของความปวด การดูแลรักษาความเจ็บปวดจากอวัยวะภายในมักจะต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน การปวดจากระบบประสาทจะตอบสนองดีกับการให้ยาเสริมกัน เช่น ยากันชักหรือยาต้านซึมเศร้ารวมถึงร่วมกับการให้โอปิออยด์
โอปิออยด์ที่กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการให้ยาโอปิออยด์ในขนาดใดๆ ก็ได้ แต่จะเพิ่มมากขึ้นในกรณีที่ให้มอร์ฟีนและไฮโดรมอร์โฟน (hydromorphone) ในขนาดสูงทางหลอดเลือดและด้วยการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติของการใช้ยายังไม่ถูกต้องจะสามารถปฏิบัติตามแผนการรักษาอาการปวดได้
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0701/p26
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น