การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันยังไม่เป็นที่ตกลงกันอย่างชัดเจน ในกรณีอาการไม่รุนแรงยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องให้ แต่พบว่ามีผลลัพทธ์ดีขึ้นในผู้ที่เป็นรุนแรง พบว่าประมาณ 30 % ของผู้ที่มีตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันรุนแรงจะเกิดการติดเชื้อในเนื้อเยื่อตับอ่อนที่เสียหาย การให้ยาปฏิชีวนะสามารถป้องกันการติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อที่มีอยู่โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดเนื้อตาย (pancreatic necrosis)
บทบาทและศักยภาพในการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันในตับอ่อนอักเสบรุนแรงได้รับการสนับสนุนโดยการทดลองแบบสุ่มที่แสดงให้เห็นว่าการให้ยา imipenem ลดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อได้แก่การติดเชื้อของสายสวนส่วนกลาง (central-line), การติดเชื้อปอด, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและติดเชื้อในเนื้อเยื่อตับอ่อนที่ตาย, และยังมีการศึกษาพบว่าการให้ยาปฏิชีวนะช่วยลดการเกิด pancreatic sepsis, การเสียชีวิต, การติดเชื้อภายนอกตับอ่อน, และลดอัตราการผ่าตัด แต่ก็ยังมีการทดลองแบบสุ่มที่ผ่านมาไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอัตราการติดเชื้อใน pancreatic necrosis, ภาวะแทรกซ้อนเชิงระบบ หรืออัตราตายในผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยา ciprofloxacin + metronidazole เมื่อเทียบกับ placebo ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่แนะนำในการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกัน ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้นที่ยังไม่มีการตกตลงกันอย่างเป็นแนวทางที่ชัดเจน การจะพิจารณาใช้ยาจึงต้องเปรียบเทียบพิจารณาอย่างรอบคอบระหว่างประโยชน์ที่ได้กับความเสี่ยงที่อาจได้รับ (เช่นผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากยา, การติดเชื้อรา, และการดื้อยา)
Ref: http://www.uptodate.com/contents/acute-pancreatitis-beyond-the-basics
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp054958
http://www.aafp.org/afp/2007/0515/p1513.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น