Review article
N Engl J Med July 3, 2014
นานกว่า 40 ปีมาแล้วที่แพทย์ด้านโรคไตได้แบ่งการทำงานของไตที่ลดลงเป็นสองกลุ่มอาการที่แตกต่างกัน คือไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ในขณะที่เป็นโรคไตเรื้อรังได้รับการยอมรับในศตวรรษที่ 19 ซึ่งความผิดปกติของไตอย่างเฉียบพลันมีหลักฐานในช่วงที่มีการระเบิดทำลายในลอนดอนของสงครามโลกครั้งที่ 2
ด้วยความจริงที่ว่าการบาดเจ็บที่เกิดการถูกกดหรือทับอาจเป็นสาเหตุได้อย่างรุนแรงแต่การทำงานของไตมักจะกลับมาปกติ ระดับของโรคและระยะของอาการไตวายเฉียบพลันและเรื้อรังมีการจำแนกไปตามระดับของครีเอตินินหรืออัตราการกรองของไต สิ่งที่แสดงถึงการทำงานไตนี้ได้รับการระบุไว้ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 20 ซึ่งการลดการทำงานของไตในขั้นรุนแรงของกลุ่มอาการทั้งสองจะให้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิดการแยกรูปแบบของความต่างหากในไตวายเรื้อรังและไตวายเฉียบพลันถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดวิธีการวิจัยทางคลินิกและการทดลองศึกษาแต่อย่างไรก็ตามการศึกษาทางระบาดวิทยาและกลไกล่าสุดแสดงให้เห็นว่าทั้งสองกลุ่มอาการไม่สามารถแยกออกจากกันได้ทั้งหมด แต่มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยไตวายเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการทำงานลดลงเฉียบพลันของไต และการทำงานลดลงเฉียบพลันของไตก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการการเกิดโรคไตเรื้อรังและทั้งสองเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Definition of Acute Kidney Injury
-Epidemiologic Evidence for Interconnection of the Two Syndromes
-Acute Kidney Injury, Chronic Kidney Disease, and Cardiovascular Disease
-Progression of Chronic Kidney Disease after Acute Kidney Injury
-Chronic Kidney Disease as a Risk Factor for Acute Kidney Injury
-Unanswered Questions
-Source Information
อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1214243
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น