ในบางครั้งต้องพยายามทำการแยก T wave ที่เห็นว่าเป็น hyperacute T wave จากการมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเป็น T wave ปกติ หรือเป็น early repolarization เพราะ hyperacute T wave สามารถเกิดได้จาก subendocardial ischemia หรือเป็นคลื่นที่เกิดขึ้นระยะเริ่มแรกของ STEMI
ลักษณะที่คิดถึง hyperacute T wave
-สูงมากกว่า 8-9 มม.
-ค่อนข้างสมมาตร
-คงอยู่ชั่วคราว (มีการเปลี่ยนแปลง)
-ฐานอาจจะแคบหรือกว้างก็ได้แต่มักกว้างและกว้างกว่า QRS complex
-อาจจะมี prolonged QT interval
-ถ้่ามี 2 lead ที่ติดต่อกัน (contagious leads) จะคิดถึงมากขึ้น
ลักษณะที่คิดถึง normal T wave
-สูงน้อยกว่า 5-7 มม.
-ไม่สมมาตร (ด้านขาขึ้นจะมีความชันน้อยกว่าขาลง)
-คงอยู่ตลอด (ไม่เปลี่ยนแปลง)
และการแยก hyperacute T wave จาก early repolarization โดยการใช้ EKG อย่างเดียวนั้นเป็นไปได้ยาก แต่สามารถแยกได้จากอาการทางคลินิก ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการที่เข้าได้กับ acute coronary syndrome ให้นึกว่าน่าจะ เป็น hyperacute T wave จาก ischemia ไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่า เป็นจากอย่างอื่น ในขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการใดเลยที่เข้ากับ ACS เช่น ผู้ป่วยที่มาตรวจสุขภาพประจำปี ก็สามารถวินิจฉัยเป็น early
repolarization ได้อย่างปลอดภัย
Ref: http://www.cardiook.net/content/view/32-Hyperacute-T-wave.html
Critical Decisions in Emergency and Acute Care Electrocardiography
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น