วัณโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจแบบการติดต่อทางอากาศ (airborne-transmitted) โดยการสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรคที่ปนออกมากับเสมหะเมื่อมีการไอหรือจาม การติดเชื้อวัณโรค (TB infection) คือ การรับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายหลังมีการสัมผัสใก้ลชิดผู้ป่วยวัณโรคที่อยูในระยะแพ่รเชื้อ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 30 ของผู้สัมผัสใก้ลชิด วินิจฉัยได้ด้วยการทดสอบการติดเชื้อวัณโรคทางผิวหนัง (tuberculin skin test; TST) หรือการตรวจวัดระดับ interferon gamma (ซึ่งเป็นภูมิต้านทานต่อเชื้อวัณโรค) จากเลือดโดยตรง โดยวิธี interferon-gamma release assay (IGRA) โดยทั่วไปหลังติดเชื้อวัณโรค คนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกตใดๆ เลยตลอดชีวิต เรียกว่าการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (latent TB infection; LTBI) ซึ่งไม่ใช่การป่วยเป็นวัณโรค และไม่สามารถแพ่รกระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ มีเพียงประมาณร้อยละ 10 ของ LTBI เท่านั้นที่ป่วยเป็นวณโรคในภายหล้ง เรียกว่าวัณโรคกำเริบ (reactivated TB) โดยบางรายอาจเกิดขึ้้นหลังการติดเชื้อวัณโรคนานนับสิบปี ) สำหรับวัณโรคปฐมภูมิ (primary TB) คือการป่วยเป็นวัณโรคหลังการติดเชื้อวัณโรค โดยมีระยะฟักตัวนาน 4-6 สัปดาห์ มักเกิดในเด็กเล็ก หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอมาก ภายหลังการรักษาด้วยสูตรยารักษาวัณโรคมาตรฐานระยะสั้น (Standard short-course; SSC) 2 สัปดาห์จำนวนเชื้อและอาการไอของผู้ป่วยจะลดลง ทำให้การแพร่เชื้อของผู้ป่วยวัณโรคลดลงด้วยเชื้อวัณโรคที่เจือปนในสิ่งแวดลอมถูกทำลายได้ง่ายด้วยแสงแดด
คำแนะนำในการลดการแพ่รกระจายเชื้อวัณโรค
-ไม่จำเป็น ต้องรับตัวผู้ปวยไว้รักษาในโรงพยาบาลในช่วง 2 สัปดาห์แรก ยกเว้นแต่มีข้อบ่งชี้การแพทย์หรือมีข้อจำเป็นอื่นๆที่มีเหตุผลสมควรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
-กรณีที่เป็นวัณโรคปอดเสมหะบวก แนะนำให้แยกผู้ป่วยจากบุคคลอื่่นอย่างน้อย 2 สัปดาห์แรกของการรักษาด้วย SSC เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
-แนะนำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดใช้หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกตลอดเวลาเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างน้อย
2 สัปดาหแรกของการรักษาด้วย SSC หรือจนกว่าไม่ไอหรือไอน้อยลงมาก หรือตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ วัณโรคแล้ว เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
-ใช้กระดาษเช็ดหน้าปิดปากและจมูกขณะไอหรือจามในช่วงที่ยังตรวจเสมหะพบเชื้อ ทิ้งกระดาษในภาชนะที่มีฝาปิดแล้วล้างมือทุกครั้งหรือบ้วนเสมหะใส่ชักโครกหรืออ่างล้างมือ ทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวแล้วล้างมือทุกครั้ง
-แนะนำให้บุคคลในครอบครัวหรือผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยทกคน มารับการตรวจคัดกรองหาวัณโรค โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557
2,796 ข้อควรทราบเรื่องการแพร่กระจาย การติดต่อ และคำแนะนำนการลดการแพ่รกระจายเชื้อวัณโรค
ป้ายกำกับ:
Infectious disease
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอบคุณมากๆนะครับสำหรับข้อมูล
ตอบลบ** บาคาร่า **
คับผม ขอบคุณ เช่นกันครับ
ลบ