Creatine kinase (CK) หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ creatine phosphokinase (CPK) CK ชนิดที่พบมากที่หัวใจ คือ CK-MB และหากเรานำอัตราส่วนของ CK-MB/total CK มีค่ามากกว่า 1/20 (มากกว่าร้อยละ 5 ของ total CK) จะช่วยบ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่อย่างไรก็ตาม CK-MB ก็ยังสามารถพบได้ในโรคหรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อลายของอวัยวะอื่นๆ ด้วยเช่นกัน แต่มักจะไม่สูงเกิน 3-4% ของ total CK ดังนั้นระดับ CK-MB ที่สูงขึ้นจึงไม่จำเพาะต่อพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจแต่เพียงอย่างเดียว โดยปกติทางห้องปฏิบัติการควรตรวจหา CK-MB ก็ต่อเมื่อตรวจพบระดับ total CK เพิ่มขึ้นก่อน ระดับ CK-MB จะขึ้นหลังการกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ในเวลา 2-3 ชม. ถึงระดับสูงสุดในเวลา 12-24 ชม. และอยู่นานประมาณ 48-72 ชม. (ค่าต่างๆ เหล่านี้อาจแตกต่างกันบ้างตามแต่ละอ้างอิง)
พบว่าการตรวจวัดระดับ CK-MB แบบต่อเนื่อง (serial CK-MB) ในเวลา 12 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการจะช่วยเพิ่มความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยให้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจเพียงครั้งเดียว
และแม้ในปัจจุบันจะมี cardiac biomarker ที่นำมาช่วยในการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดได้ดีกว่า เช่น cardiac troponin แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงว่าการใช้ cardiac troponin ร่วมกับ CK-MB mass จะช่วยเพิ่มความไวในการตรวจวิเคราะห์โรคและเพิ่มความคุ้มค่าในด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย ส่วนใน unstable angina ค่า CK และ CK-MB จะอยู่ในเกณฑ์ก้ำกึ่ง
เพิ่มเติม
CK มี 3 ชนิดย่อย (isoenzyme) คือ
1. CK-MB(cardiac type) พบมากที่กล้ามเนื้อหัวใจ
2. CK-MM(muscle type) พบมากที่กล้ามเนื้อลาย
3. CK-BB (brain type) พบมากที่สมอง
ขณะนี้มีการตรวจวัด CK-MB ได้เป็น 2 ลักษณะคือ CK-MB activity และ CK-MB mass (concentration) ซึ่งปัจจุบันการวัด CK-MB mass ได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากสามารถตรวจวัดได้แม้มีระดับต่ำมาก และมีความจำเพาะต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมากกว่า
Ref: http://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/principles-of-pharmacotherapy-in-ischemic-heart-diseases-56-01-15
https://www.facebook.com/permalink.php?id=264011650390317&story_fbid=279454645512684
แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557
2,814 ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้ CK, CK-MB ในการตรวจวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ป้ายกำกับ:
Cardiology,
Laboratory
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น