บางครั้งอาจเราพบ CXR ที่เข้าได้กับวัณโรค เช่น รอยโรคลักษณะ reticulonodular หรือ cavity ที่ตำแหน่งปอดกลีบบน อย่างไรก็ตามรอยโรคเหล่านี้อาจเป็นรอยโรคเก่าของวัณโรคที่ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาหรือเกิดจากโรคอื่นๆ ก็ได้ เช่น เนื้องอก, ปอดอักเสบจากการติดเชื้อชนิดอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้น CXR แม้ว่ามีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค แต่มีความจำเพาะต่ำ โดยมีการศึกษาในประเทศเนปาลพบว่ามีความไว 78%, มีความจำเพาะ 51%
ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ CXR เพียงอย่างเดียวในการวินิจฉัยวัณโรค ต้องตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรคร่วมด้วยเสมอ ในกรณีที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่ภาพถายรังสีทรวงอกพบความผิดปกติเข้าได้กับวัณโรค การนำภาพถายรังสีทรวงอกเดิมมาเปรียบเทียบ โดยเฉพาะเดิมฟิลม์ที่เคยทำมานานกว่า 3 เดือน จะมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยโรค โดยมีแผนภูมิสำหรับเรื่องนี้ตามในอ้างอิงด้านล่างครับ
ซึ่ง CXR ที่อาจเข้าได้กับวัณโรคระยะลุกลาม เช่น patchy infiltrates + cavitary lesion เป็นต้น
ส่วน CXR ที่อาจเขาได้กับรอยโรคเก่าของวัณโรค เช่น fibroreticular infiltrates with/without calcification เป็นต้น
Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
http://203.157.45.179/yala12/wp-content/uploads/2014/01/CPG-TB-17-May-56-corrected.pdf
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16751817
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557
2,798 ข้อควรทราบเรื่องการใช้ภาพถ่ายรังสีทรวงอก (chest X-ray, CXR) ในการตรวจวินิจฉัยวัณโรค
ป้ายกำกับ:
Imaging,
Infectious disease
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น