ห่วงโช่แห่งการรอดชีวิต (chain of survival) ตามบัญญัติของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American College of Cardiology, ACC ) ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญต่อเนื่องได้แก่
1. การประเมินผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นทันทีและเรียกรถพยาบาล
2. เริ่มการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เน้นการกดหน้าอก
3. ทำการว็อกไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว
4. การช่วยชีวิตขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพ
5. การดูแลหลังมีภาวะหัวใจหยุดเต้น
ซึ่งในขั้นตอนที่ 3 นี้ก็ถือว่าเป็๋นขั้นตอนที่สำคัญมาก โดยปัจจุบันมีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator, AED) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาชนิดหนึ่ง สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะ VT และ VF ยิ่่งถ้าสามารถเริ่มต้นการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยการกดหน้าอกร่วมกับการใช้เครื่อง AEDได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพียงใด ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในปัจุบันสามารถทำได้โดยบุคคลทั่วไปแม้จะไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ แต่ได้รับการฝึกฝนจนสามารถใช้งานเครื่องได้ และในอนาคตคงจะมีการติดตั้งเครื่องนี้ไว้ตามสถานที่ต่างๆ ให้เกิดความพร้อมและรวดเร็วในการใช้งานได้มากขึ้น
ซึ่งขั้นตอนหลักในการใช้งาน AED มีดังนี้
1. การเปิดเครื่อง
2. การติดแผ่นนำไฟฟ้า
3. การใช้เครื่องวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
4. ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วยในระหว่างที่จะทำการ SHOCK
5. ปฏิบิติตามที่เครื่องบอกได้แก่ ให้ SHOCK หรือทำการกดนวดหัวใจ โดยถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ทำการกดหน้าอก 2 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ (รวมเวลาจะประมาณ 2 นาที)
หรือจนกว่าเรื่องจะวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจอีกครั้งอีกครั้ง
(โดยขั้นตอนที่ 1 และ 2 ไม่ควรเกิน 30 วินาที)
Ref: เอกสารประกอบการอบรมโครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
http://www.heart.org/HEARTORG/CPRAndECC/WhatisCPR/AboutEmergencyCardiovascularCareECC/Chain-of-Survival_UCM_307516_Article.jsp
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น