ในปี ค.ศ.1994 American European Consensus Conference (AECC) ได้แบ่งความผิดปกติในกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลันได้เป็นสองระดับ
ระดับที่ 1 คือ acute lung injury ได้แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจนไม่รุนแรงมาก
ระดับที่ 2 คือ acute respiratory distress syndrome (ARDS) จะมีภาวะพร่องออกซิเจนรุนแรงมากกว่า มีอาการรุนแรงกว่า
Acute lung injury (ALI)
-มีอัตราส่วนของค่าความดันออกซิเจนในเลือดต่อสัดส่วนความเข้มข้นของออกซิเจนที่หายใจเข้าไป (PaO2/FiO2) น้อยกว่า 300
-เอ็กซเรย์ทรวงอก จะพบการมี infiltration ของปอดสองข้างแต่อาจจะสมมาตรกันหรือไม่ก็ได้
-และความดันเลือดในปอด (pulmonary wedge pressure) น้อยกว่า 18 มม.ปรอท และไม่มีหลักฐานของความดันในหัวใจห้องบนซ้ายสูง (absence of evidence for cardiogenic pulmonary edema)
Acute respiratory distress syndrome (ARDS)
-PaO2/FiO2) น้อยกว่า 200
-เอ็กซเรย์ทรวงอก จะพบการมี infiltration ของปอดสองข้างแต่อาจจะสมมาตรกันหรือไม่ก็ได้
-และความดันเลือดในปอด (pulmonary wedge pressure) น้อยกว่า 18 มม.ปรอท และไม่มีหลักฐานของความดันในหัวใจห้องบนซ้ายสูง
#ดังนั้นสิ่งทีแตกต่างกันอย่่างชัดเจนเพื่อนำมาวินิจฉัยก็คือการดูที่ PaO2/FiO2 นั่นเอง#
Ref: http://www.bjmp.org/content/acute-lung-injury-and-acute-respiratory-distress-syndrome-review-article
http://emedicine.medscape.com/article/165139-overview
http://www.doctor.or.th/clinic/detail/8946
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
2,778 ความแตกต่างระหว่าง acute lung injury (ALI) และ acute respiratory distress syndrome (ARDS)
ป้ายกำกับ:
Pulmology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น