ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งและมีน้ำในช่องท้อง (ascites) ใน 1 ปีจะมีโอกาสเกิด SBP 10 - 25% อัตราการเกิดซ้ำใน 1 ปีเท่ากับ 40- 70% อัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยที่มี SBP ณ. 1 และ 2 ปี คือ 70% และ 80% ตามลำดับ
การวินิจฉัย จะดูจากลักษณะทางคลินิกร่วมกับผลตรวจจากน้ำในช่องท้อง โดยการพบเชื้อจากการย้อมสีแกรมหรือจากการเพาะเชื้อ หรือดูการจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด PMN ซึ่งอาจจะมีจุตัดที่แตกต่างกันบ้างในแต่ละอ้างอิง โดยพบว่าความไวสูงสุดในการวินิจฉัยจะอยู่ที่การมี 250 /มม3 ขึ้นไปแต่ความจำเพาะที่สุดจะอยู่ที่ 500 /มม3 ขึ้นไป ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการพลาดการวินิจฉัยก็เลือกที่ความไวสูง แต่พบว่า เชื้อในกลุ่ม gram-positive cocci มีรายงานบ่อยครั้งที่จะมี PMN น้อยกว่า 250 /มม3 เนื่องจากการเคลื่อนที่ของ PMN มีความแตกต่างกันตามชนิดของแบทีเรียด้วย แต่ถ้ามีเลือดออกปนในน้ำในช่องท้องโดยการตรวจพบมีเม็ดเลือดแดงมากกว่า 10,000 /มม3 ควรมีการปรับโดยการลบ PMN 1 ตัว/ เม็ดเลือดแดงทุก 250 ตัว จะให้การรักษาประมาณ 10-14 วัน ถึงแม้จะไม่จำเป็นต้องทำการเจาะท้องเพื่อตรวจซ้ำ แต่ยังก็มีคำแนะนำให้ทำเพื่อดูการลดลงของ PMN และการปราศจากเชื้อของน้ำในช่องท้องนั้น โดยถ้าลักษณะทางคลินิกหรือการตรวจน้ำในช่องท้องไม่ดีขึ้นใน 48 ชม. อาจจะต้องคิดถึงการมีภาวะแตกรั่วของลำให้หรือการมีฝีในช่องท้อง และพบว่า 30% ของผู้ที่มีน้ำในช่องท้องเข้าได้กับเกณท์ SPB จะไม่มีอาการทางคลินิก
Ref: http://www.medscape.com/viewarticle/756517_3
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2697093/
http://emedicine.medscape.com/article/789105-treatment#a1156
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
2,765 ข้อควรทราบเรื่อง spontaneous bacterial peritonitis (SBP)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น