วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

2,754 Leukemia: An overview for primary care

American Family Physician
May 1 2014 Vol. 89 Number 9

มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) เป็นการเพิ่มจำนวนมากขึ้นจาก clone ของเซลต้นกำเนิดเม็ดโลหิตในไขกระดูก โดยมี 4 ชนิดย่อยที่มักจะพบโดยแพทย์เวชปฏิบัติคือ acute lymphoblastic, acute myelogenous, chronic lymphocytic, และ chronic myelogenous ซึ่ง acute lymphoblastic leukemia เกิดมากในเด็ก ขณะที่ชนิดย่อยอื่นๆ พบมากกว่าในผู้ใหญ่
ปัจจัยเสี่ยงได้แก่พันธุกรรม, สิ่งแวดล้อม เช่น การสัมผัสต่อรังสี ผู้ป่วยมักจะมีอาการจะไม่จำเพาะ ได้แก่ ไข้, น้ำหนักลด, ปวดกระดูก, มีรอยช้ำง่าย, หรือการมีเลือดออก การตรวจ CBC มักจะพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น และการมีเซลไลน์เพิ่มขึ้นหรือลดลง ผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว ควรให้การส่งต่อเพื่อพบแพทย์ทางด้านระบบเลือด-มะเร็ง โดยเร็ว ยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจไขกระดูกหรือในเลือดเพิ่ม การรักษาได้แก่ เคมีบำบัด การฉายรังสี การรักษาด้วยแอนติบอดี้ชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibodies) หรือการปลูกถ่ายเซลต้นกําเนิดเม็ดเลือด ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาได้แก่ tumor lysis syndrome และการติดเชื้อที่รุนแรงจากการที่ภูมิคุ้มกันลดลง ผู้ที่รอดชีวิตจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวควรติดตามอย่างใกล้ชิดสำหรับการเกิดมะเร็งทุติยภูมิ, ภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ, และการรบกวนต่อระบบต่อมไร้ท่อ เช่น metabolic syndrome, hypothyroidism, และ hypogonadism การอยู่รอดที่ 5 ปี สูงสุดในผู้ที่อายุน้อยและในผู้ป่วย chronic myelogenous leukemia หรือ chronic lymphocytic leukemia

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0501/p731

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น