Original article
N Engl J Med April 24, 2014
ที่มา: The surviving sepsis campaign มีข้อแนะนำสำหรับเป้าหมายความดันเลือดแดงเฉลี่ยคือไม่น้อยกว่า 65 มิลลิเมตรปรอทในระหว่างการเริ่มต้นแก้ไขผู้ป่วยที่มีช็อก แต่ถ้าเป้าหมายความดันเลือดแดงเฉลี่ยที่สูงกว่านี้จะมีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำกว่าเป้าหมายเดิมยังไม่เป็นที่ทราบ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาในหลายสถาบันแบบ open-label trial โดยการสุ่มผู้ป่วย 776 คนที่เกิด septic shock จะได้รับการแก้ไขให้ความดันเลือดแดงเฉลี่ยอยู่ที่ 80-85 มิลลิเมตรปรอท (กลุ่มที่มีเป้าหมายสูง)
หรือ 65-70 มม. ปรอท (กลุ่มที่มีเป้าหมายต่ำ ) ผลลัพธ์หลักคืออัตราการเสียชีวิต Iณ. วันที่ 28
ผลการศึกษา: ณ. 28 วันไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มของอัตราการเสียชีวิต กับการเสียชีวิตที่รายงานใน 142 คนจากผู้ป่วย 388 คนในกลุ่มที่มีเป้าหมายสูง (36.6%) และ 132 จากผู้ป่วยจาก 388 คนในกลุ่มที่มีเป้าหมายต่ำ (34.0%) (hazard ratio ในกลุ่มเป้าหมายสูง 1.07; 95% confidence interval [CI], 0.84-1.38, P = 0.57)
นอกจากนี้ยังไม่มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของการเสียชีวิตที่ 90 วัน โดยมีผู้เสียชีวิต 170 คน (43.8%) และ 164 คน (42.3%) ตามลำดับ (hazard ratio,1.04 95% CI, 0.83-1.30, P = 0.74) การเกิดขึ้นของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม (74 เหตุการณ์ [19.1%] และ 69 เหตุการณ์ [17.8%], ตามลำดับ, P = 0.64) แต่อุบัติการณ์ของการวินิจฉัยใหม่ของ atrial fibrillation มากกว่าในกลุ่มที่มีเป้าหมายสูง โดยในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเรื้อรังพบว่าผู้ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายสูงจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตน้อยกว่าผู้ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายต่ำ แต่การรักษาดังกล่าวไม่ได้สัมพันธ์กับความแตกต่างของอัตราการเสียชีวิต
สรุป: เป้าหมายความดันเลือดแดงเฉลี่ยที่ 80-85 มิลลิเมตรปรอทเทียบกับ 65-70 มิลลิเมตรปรอทในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ พบว่าการแก้ไขภาวะช็อตดังกล่าวไม่ไมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการเสียชีวิตทั้งที่ 28 หรือ 90 วัน
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1312173
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น