April 1 2014 Vol. 89 Number 7
American Academy of Family Physicians
ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลันพบได้ในประมาณ 5% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินสำหรับด้วยเจ็บหน้าอกที่ไม่สัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้ชาย 20-50 ปีบริบูรณ์
ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลันอาจมีสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้แก่การติดเชื้อ, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, การใช้ยา, การบาดเจ็บที่ช่องอก, และโรคทางระบบเช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินผลสาเหตุส่วนใหญ่จะไม่เป็นผล ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลันมักจะมาด้วยอาการเจ็บ แทง หน้าอกเฉียบพลันใต้กระดูกสันอก อาการดีขึ้นด้วยการนั่งหรือการพิงไปข้างหน้า เสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial friction rub) สามารถพบได้ถึง 85% ของผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะคลาสสิกคือการยกสูงและเว้าสูงขึ้น โดยไม่มี reciprocal T-wave inversions หรือ Q waves
การรักษาอันดับแรกได้แก่ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์และ colchicine ส่วนกลูโคคอร์ติคอยด์ตามปกติแล้วจะสำรองไว้้สำหรับกรณีที่รุนแรงหรือดิ้อต่อการรักษาหรือในกรณีที่สาเหตุของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมีแนวโน้มที่จะเกิดจากโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ปฏิกิริยาต่อตนเอง (autoreactivity) หรือ ยูรีเมีย การปรึกษาแพทย์โรคหัวใจเป็นสิ่งที่แนะนำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ที่มีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบที่ดื้อต่อการรักษาแบบ empiric และในผู้ที่มีสาเหตุไม่ชัดเจน
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0401/p553
โรคนี้มีโอกาศหายขาดมี้ยค่ะ ลูกชายเป็นค่ะ อายุ1เดือน
ตอบลบพอดีผมก็ไม่ชำนาญโรคในเด็ก แต่คิดว่าการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุครับ เช่นจากการติดเชื้อ โรคของภูมิคุ้มกัน เนื้องงอก และอื่นๆ ถ้ารู้สาเหตุก็แก้ที่สาเหตุ ลองสอบถามแพทย์ที่รักษาโดยละเอียดอีกครั้งน่าจะได้คำตอบครับ
ตอบลบ