- ควรรับประทานอาหารที่มี่ แคลเซียมเพิ่มอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เช่น โยเกิร์ต ยาแคลเซียม เป็นต้น
- การลดนํ้าหนักโดยจํากัดแคลอรี และลดอาหารที่มีไขมันสูง ในคนอ้วน พบว่า การลดนํ้าหนัก 1 กิโลกรัม ความดันโลหิตตัวบนจะลดลง 1.6 มม.ปรอท และความดันโลหิตตัวล่างจะลดลง 1.3 มม.ปรอท
- การออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่องโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เคลื่อนไหว เช่น การเต้นแอโรบิค เดินเร็ว ว่ายนํ้า ช่วยลดความดันลงได้ 4-9 มม.ปรอท
- งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ควบคุมอารมณ์โกรธ ลดความเครียด โดยการผ่อนคลาย ทําสมาธิ โยคะ
- ลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม และลดปริมาณเกลือหรือนํ้าปลาในอาหารจะลดความดันโลหิตตัวบนได้ 10 มม.ปรอท และลดความดันโลหิต ตัวล่างได้ 5 มม.ปรอท (เกลือ 1 ช้อนชามีโซเดียม 2.3 กรัม)
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือปน เช่น ของหมัก ของดอง ของตากแห้ง อาหารกระป่อง อาหารที่มี ผงชูรส
- ควรรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียม เช่น กล้วย ส้ม ผลไม้/ผักสด เพราะจะช่วยป้องกันการทําลายหลอดเลือด และลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ลิ้งค์ http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/20130715-4.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557
2,711 การให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผลของความสำเร็จของระดับความดันโลหิตทีลดลง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น