วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,703 กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการได้รับการฉายรังสี (radiation cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลันจากการได้รับการฉายรังสี (acute radiation cystitis) เกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังจากการรักษาด้วยรังสี ซึ่งมักจะดีขึ้นได้เอง และให้การดูรักษาแบบอนุรักษ์นิยมทั่วไป กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบภายหลัง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วง 6 เดือนถึง 20 ปีหลังจากการได้รับการฉายรังสี อาการแสดงที่สำคัญคือปัสสาวะเป็นเลือดซึ่งอาจจะมีความรุนแรงแตกต่างกันจนมากถึงขั้นมีเลือดออกและเป็นอันตรายต่อชีวิต
การดูแลรักษาในเบื้องต้นได้แก่การให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ, การให้เลือดถ้าเมื่อมีข้อบ่งชี้ และการใส่สายสวนทางท่อปัสสาวะเพื่อสวนล้าง (washout and irrigation) ในกระเพาะปัสสาวะ ยารับประทานหรือการให้ยาทางหลอดเลือดที่สามารถนำมาใช้ในการควบคุมปัสสาวะเป็นเลือดได้แก่ conjugated estrogens, pentosan polysulfate หรือ  WF10 ซึ่งเป็น immunokine
การส่องกล้อง เข้าไปในท่อปัสสาวะโดยที่ปลายของกล้องจะมีหัวเลเซอร์สำหรับจี้หรือการจี้ด้วยไฟฟ้าที่จุดเลือดออกจะมีประสิทธิภาพในบางครั้ง การฉีดสาร botulinum toxin A เข้าไปในผนังกระเพาะปัสสาวะอาจช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ  การฉีดสารอลูมินั่ม, สารสกัดจากรก (placental extract), โพรสตาแกลนดินส์ หรือฟอร์มาลินอาจจะได้ผล
ทางเลือกในการรักษาที่ลุกล้ำมากขึ้นได้แก่ การอุดหลอดเลือดที่มีเลือดออก (selective embolization) หรือการผูก (ligation) หลอดเลือดแดง internal iliac arteries ทางเลือกในการผ่าตัดได้แก่ การทำทางเบี่ยงของทางเดินปัสสาวะโดยการทำการใส่สายระบายน้ำปัสสาวะผ่านทางผิวหนัง (percutaneous nephrostomy) หรือ intestinal conduit โดยอาจจะตัดหรือไม่ตัดกระเพาะปัสสาวะ การบำบัดด้วยการรักษาด้วยออกซิเจน แรงดันสูง  (hyperbaric oxygen therapy (HBOT) โดยการให้ออกซิเจน 100% ซึ่งสูงกว่าความดันบรรยากาศ มีรายงานความสำเร็จ  60% - 92% ซึ่งการศึกษาแบบ multicenter, double-blind, sham-controlled trial เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ HBOT ในกรณีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการได้รับการฉายรังสีซึ่งยากต่อการรักษาขณะนี้กำลังดำเนินการ
หมายเหตุ
-conjugated estrogens นั้นเป็น mixture ของฮอร์โมนเพศหญิงในธรรมชาติ ซึ่งสร้างจากรังไข่ โดยจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนปนกันหลายตัวเป็นฮอร์โมนธรรมชาติ เช่น ยาที่มีชื่อการค้าว่า Premarin เป็นต้น โดยกลไกที่ชัดเจนยังไม่ทราบ แต่อาจเกี่ยวกับการควบคุมกำกับ cellular immune responses และ cytokines รวมถึงการกระตุ้น endothelial cell activity
-ส่วน pentosan polysulfate หรือ เพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม (Pentosan Polysulfate Sodium) ยาที่มีชื่อการค้าว่า  Elmiron เป็นต้น โยกลไกที่ชัดเจนยังไม่ทราบ แต่ยานี้จะช่วยซ่อมแซม ชั้นของ  urothelial glycosaminoglycan layer และเพิ่มผลในการต้านขบวนการอักเสบ

Ref:
http://pantip.com/topic/30542579

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น