วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,695 Diagnosis and initial management of dysmenorrhea

American Family Physician
March 1 2014 Vol. 89 Number 5

อาการปวดประจำเดือนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดในอุ้งเชิงกรานซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและบางครั้งส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในกิจกรรม ประวัติและการตรวจร่างกายรวมทั้งการตรวจภายในในผู้ป่วยที่มีเพศสัมพันธ์อาจช่วยบอกสาเหตุได้
อาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (primary dysmenorrhea) คืออาการปวดประจำเดือนโดยไม่มีพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน  การมีเลือดออกผิดปกติจากมดลูก, อาการปวดประจำเดือน อาการปวดที่ไม่เป็นรอบ การเปลี่ยนแปลงในความรุนแรงและระยะเวลาของความเจ็บปวด และ ความผิดปกติของผลการตรวจอุ้งเชิงกรานสนับสนุนถึงการมีพยาธิวิทยาสถาพหรือที่รียกว่าอาการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ (secondary dysmenorrhea) และต้องการการสืบค้นต่อ การตรวจอัลตร้าซาวด์ผ่านทางช่องคลอด (ultrasonography transvaginal) ควรจะทำการตรวจถ้าสงสัยอาการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ
โดยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ อาการและอาการแสดงของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญแทรกเข้าไปอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก (adenomyosis) ได้แก่อาการปวดประจำเดือน ภาวะมีประจำเดือนมากผิดปกติ  และมดลูกขยายใหญ่
ทางเลือกสำหรับการรักษาอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ ได้แก่ NSAID และฮอร์โมนคุมกำเนิด
ฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นการรักษาหลักของอาการปวดประจำเดือนจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
การใช้ความร้อนเฉพาะที่ การออกกำลังกาย และอาหารเสริมทางโภชนาการอาจเป็นประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือน แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการทำโยคะ การฝังเข็มหรือการนวด

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0301/p341.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น