การรักษาในระยะยาว (long term management) มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความบ่อยของการเกิดซ้ำ ให้พิจารณาเป็นรายบุคคลโดยขึ้นอยู่กับความถี่, ความรุนแรงของโรคและผลกระทบของอาการต่อคุณภาพชีวิต สำหรับผู้ที่เป็นไม่บ่อย สามารถหายได้เองและมีอาการน้อยในแต่ละครั้ง อาจwม่จำเป็นต้องให้การรักษา หรืออาจจะใช้ยารับประทานเมื่อมีอาการโดยเฉพาะในผู้ทีมีอาการนานๆ ครั้ง เช่นไม่กี่ครั้งต่อปี แต่ในแต่ละครั้งเป็นค่อนข้างนาน เช่น 1-2 ชม. และมี hemodynamic คงที่
แต่พบว่าผู้ป่วยจำนวนมากจะเลือกใช้วิธีการการรักษาให้หายขาดเนื่องจากความวิตกกังวลว่า อาจเกิดอาการขึ้นอีกได้
ข้อบ่งชี้ในการรักษาในระยะยาว
-มีอาการเกิดขึ้นซ้ำในแต่ละครั้งมีผลต่อคุณภาพชีวิต
-มีอาการเกิดขึ้นและพบมี WPW syndrome จาก EKG
-เกิดขึ้นไม่บ่อยแต่มีผลต่อการประกอบอาชีพหรือการเแข่งขันกีฬาหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยง (เช่นนักบินและนักดำน้ำ)
ยาที่แนะนำได้แก่ยาที่ยับยั้ง AV node ใน Class Ic and Class III โดย beta blockers และ calcium-channel blockers (Class II และ IV ตามลำดับ) เป็นยาทางเลือกลำดับแรกที่เหมาะสมในผู้ที่ EKG ไม่พบ WPW syndrome
ซึ่งพบว่า beta blockers และ calcium-channel blockers เหนือกว่า digoxin ในการยับยั้ง AV node ในช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของ sympathetic tone เช่น ในช่วงออกกำลังกาย
และไม่ควรใช้ digoxin ในผู้ป่วยที่มี WPW syndrome เพราะจะเพิ่มการนำกระแสไฟฟ้าของ accessory pathway ในช่วงการเกิด atrial fibrillation และอาจนำมาสู่กสารเกิด ventricular fibrillation ส่วนการใช้ยายับยั้ง AV node สองตัวร่วมกันจะเพิ่มประสิทธิภาพแต่ก็จะเพิ่มผลข้างเคียงเช่นกัน
Ref: https://www.mja.com.au/journal/2009/190/5/supraventricular-tachycardia
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp051145
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น