ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมร่วมกับ สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยในเรื่องการวัดระดับระดับครีเอตินินในเลือดให้ได้มาตรฐานเพื่อประเมินการทำงานของไต ด้วยค่า Estimated glomerular filtration rate (eGFR) ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไทยเพื่อให้เกิดการติดตามภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้อย่างแม่นยำนั้น
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยมีคำแนะนำในการรายงานผลค่า eGFR ดังนี้
1. ใช้สมการ CKD-EPI สำหรับผู้ใหญ่และ IDMS traceable Schwartz Equation สำหรับเด็ก (น้อยกว่า 18 ปี)
2. ให้ใช้ค่าระดับครีเอตินินในเลือด โดยใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง เพื่อความแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น
3.ใช้วิธีการวัดค่าครีเอตินินวิธี enzymatic โดยห้องปฎิบัติการ ควรมีระบบควบคุมมาตรฐานโดยการทำ Proficiency testing and Extemal Quality Assessment (PT/QA) สำหรับค่าครีเอตินิน ซึ่งได้ปรับค่ามาตรฐานแล้วเป็นระยะ โดยสามารถเข้าร่วมโครงการนำร่องในการติดตามความถูกต้องของการวัดค่าครีเอตินินกับ Reference center for creatinine standardlzation ที่สมาคมโรคไตฯ จะจัดตั้งขึ้นได้ต่อไป
สูตร CKD-EPI
จะขึ้นอยู่กับเพศ, อายุ และช่วงของระดับ Cr ด้วย และตัวสูตรเองก็จำยาก ซึ่งอาจจะคำนวนออนไลน์ได้
สูตร Schwartz Equation
GFR (mL/min/1.73 m2 ) = (4.41 x Height in cm) / Creatinlne In Mg/dL
ข้อมูลจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
http://www.nephrothai.org/news/news.asp?type=PR&news_id=399
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น