วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

2,632 Evaluation of the patient with hip pain

Evaluation of the patient with hip pain
January 1 2014 Vol. 89 Number 1
American Family Physician 

อาการปวดสะโพกเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและและก่อให้เกิดความพิการทุพพลภาพได้ โดยมีผลกับทุกๆ วัย การวินิจฉัยแยกโรคของอาการปวดสะโพกมีหลากหลาย ทำให้เกิดความท้าทายในการวินิจฉัย ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดสะโพกหนึ่งในสามตำแหน่ง ได้แก่ สะโพกทางด้านหน้าและขาหนีบ สะโพกด้านหลังและก้น หรือสะโพกด้านข้าง
-อาการปวดสะโพกทางด้านหน้าและขาหนีบมักจะเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพภายในข้อ เช่น osteoarthritis และ hip labral tears
-อาการปวดสะโพกด้านหลังมีความเกี่ยวข้องกับ piriformis syndrome, sacroiliac joint dysfunction, lumbar radiculopathy และที่พบน้อยกว่าคือ ischiofemoral impingement และ vascular claudication
-อาการปวดทางด้านข้างของข้อตะโพกเกิดร่วมกับ greater trochanteric pain syndrome
การตรวจทางคลินิกแม้ว่าจะช่วยแต่มิได้มีความไวสูงหรือมีความจำเพาะสำหรับการวินิจฉัยโรคโดยส่วนใหญ่ แต่วิธีการตรวจประเมินที่สมเหตุผลสามารถใช้ในการตรวจสะโพกได้
การถ่ายภาพด้วยรังสีควรจะทำในกรณีที่มีกระดูกหักเฉียบพลัน, กระดูก-ข้อเคลื่อน, หรือสงสัยกระดูกหักจากแรงกดหรือแรงเค้น โดยการถ่ายภาพด้วยรังสีแบบธรรมดาทั่วไปของสะโพกควรจะรวมถึงมุมมองทางด้านด้านหน้า-หลังของเชิงกรานและท่าขากบด้านข้างของสะโพกด้านที่มีอาการ
การถ่ายภาพแม่เหล็กควรจะทำถ้ามีประวัติว่าภาพถ่ายรังสีธรรมดาไม่ให้ผลการวินิจฉัย การถ่ายภาพแม่เหล็กมีความสำคัญในการตรวจสอบกระดูกหักที่ซ้อนเร้น, กระดูกหักจากแรงกดหรือแรงเค้นและกระดูกตายจากการขาดเลือดมาเลี้ยงของหัวกระดูกต้นขา การถ่ายภาพแม่เหล็กเพื่อดูหลอดเลือดเป็นทางเลือกสำหรับการวินิจฉัย labral tears

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0101/p27.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น