หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

2,659 เกณฑ์การวินิจฉัย Sweet syndrome (acute febrile neutrophilic dermatosis)

พบผู้ป่วยซึ่งมีลักษณะทางคลินิกซึ่งสงสัย Sweet syndrome จึงมาทบทวนเกณฑ์การวินิจฉัย

โดยต้องมีทั้งสองเกณฑ์ในข้อหลักและมีอย่างน้อยสองในสี่เกณฑ์ในข้อย่อย
เกณฑ์ในหัวข้อหลัก
1. พลาค (plaque) ที่มีลักษณะแดงหรือตุ่มนูนแดงที่เกิดขึ้นเฉียบพลันร่วมกับมีอาการปวด
2. ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยามีหลักฐานของนิวโทรฟิลมาอยู่อย่างหนาแน่นโดยไม่มีหลักฐานของ  leukocytoclastic vasculitis
เกณฑ์ในหัวข้อย่อย
1. มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
2. ความสัมพันธ์กับโรคพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ ได้แก่โรคเลือดหรือมะเร็งของอวัยวะภายใน, โรคของการอักเสบหรือการตั้งครรภ์ หรือขักนำจากการติดเขื้อทางเดินหายใจส่วนบน, การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร, วัคซีน
3. ตอบสนองเป็นอย่างดีต่อการรักษาด้วย systemic glucocorticoids, โพแทสเซียมไอโอไดด์
4. มีความผิดปกติของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (3 ใน 4 ของสิ่งต่อไปนี้: ESR มากกว่า 20 มม/ชม., ให้ผลบวกต่อ CRP, มีเม็ดเลือดขาวมากกว่า 8,000, มีนิวโทรฟิวมากกว่า 70%)

Ref: http://www.uptodate.com/contents/sweet-syndrome-acute-febrile-neutrophilic-dermatosis-pathogenesis-clinical-manifestations-and-diagnosis

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

2,658 Sedation and delirium in the intensive care unit

Review article
Critical care medicine
N Engl J Med   January 30, 2014

จากการรวบรวมข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการจัดการดูแลภาวะง่วงซึม (sedation) และภาวะสับสนเฉียบพลัน (delirium) สามารถส่งผลกระทบที่สำคัญต่อผลลัพธ์ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในแผนกไอซียู
ข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นได้โดยการใช้โปรโตคอลในการดูระดับความลึกของภาวะง่วงซึม, การมีความเจ็บปวดและภาวะสับสนเฉียบพลัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีการติดตามเป็นประจำ ความเจ็บปวดควรได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การให้ยาที่มีฤทธิ์ง่วงซึมควรให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความสุขสบายและเกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย และการที่จะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วเท่าที่จะสามารถทำ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย 
-Pain, Analgesia, and Sedation in the ICU
-Choice of Sedative Agent
-Prevention and Treatment of Delirium
-Assessment and Monitoring of Sedation and Delirium
   Sedation Scales
   Identifying Delirium
-Prevention and Treatmentof Delirium
   Prevention
   Treatment
-Quality Improvement Techniques
-Conclusions
-Source Information

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1208705

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

2,656 แนวปฎิบัติในการทำ Spinal anesthesia

โดยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความหมาย
-ข้อบ่งชี้
-ผู้รับบริการ
-บุคลากร
-อุปกรณฺ์และยาที่จำเป็น
-ขั้นตอนการทำหัตถการ
-ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้
-การดูแลผู้ป่วยภายหลังการทำ
-บรรณานุกรม

ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://www.rcat.in.th/index.php/cpg-clinical-practice-guideline/doc_download/88-spinal-anesthesia

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

2,655 การป้องกัน/ชะลอการเกิดเบาหวานชนิดที่สอง จาก Medical Care in Diabetes 2014

-ผู้ป่วยที่ความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง (impaired glucose tolerance,IGT), ภาวะของคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะอด (impaired fasting glucose,IFG) หรือมีระดับ HbA1c อยู่ระหว่าง 5.7–6.4% ควรส่งต่อเพื่อโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพเพื่อการกำหนดเป้าหมายการลดน้ำหนัก 7% ของน้ำหนักตัว และเพิ่มการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที / สัปดาห์ของกิจกรรมในระดับปานกลางเช่น การเดิน
-ติดตามเพื่อให้คำปรึกษาซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับความสำเร็จ
-บนพื้นฐานของความคุ้มค่าในการป้องกันโรคเบาหวาน โปรแกรมดังกล่าวควรได้รับการครอบคุมจากบุคคลที่สามผู้ทําหน้าที่จ่ายเงิน
-ใช้ metformin เพื่อป้องกันการเกิดเบาหวานชนิดที่สองควรพิจรณาในผู้ที่มีความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง, ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะอดอาหาร, หรือมี HbA1c อยู่ระหว่าง 5.7–6.4%, โดยเฉพาะผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กก/ม2, อายุน้อยกว่า 60 ปี, และในผู้หญิงที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
-ตรวจติดตามอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานคือเป็๋นคำแนะนำ
-ตรวจค้ดกรองและรักษาปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด

Ref: http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S5.full

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

2,654 การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จาก Medical Care in Diabetes 2014

-การตรวจคัดกรองจะทำในการมาฝากครรภ์ครั้งแรกในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยมาตรฐาน
-การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กระทำที่ 24-28 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นเบาหวาน
-การตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานว่าจะมีการคงอยู่ต่อไปหรือไม่ ใช้ที่ 6-12 สัปดาห์หลัง
คลอด โดยใช้ OGTT และใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของภาวะที่ไม่ได้ตั้งครรภฺ์
-ในหญิงที่มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรจะมีการตรวจคัดกรองตลอดชีวิตเพื่อเฝ้่าระวังการเกิดเบาหวานและภาวะก่อนเป็นเบาหวานอย่างน้อยทุก 3 ปี
ในหญิงที่มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และพบว่ามีภาวะก่อนเป็นเบาหวานควรได้รับการปรับการดำเนินชีวิตหรือรับประทานยา metformin เพื่อป้องกันการเกิดเบาหวาน
การศึกษาวิจัยต่อไปมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดแนวทางที่เหมือนกันในจะวินิจฉัยเบาหวานจากการตั้งครรภ์

Ref: http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S5.full

2,653 การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ป่วยซึ่งไม่มีอาการ จาก Medical Care in Diabetes 2014

-การตรวจคัดกรองเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะก่อนการเกิดเบาหวาน (prediabetes) ที่ไม่มีอาการ ควรพิจารณาในผู้ใหญ่ทุกๆ อายุที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน (BMI ตั้งแต่ 25 kg/m2) และผู้ที่มีตั้งแต่หนึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวาน ในผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ควรเริ่มต้นตรวจคัดกรองเมื่ออายุ 45 ปี
-ถ้่าผลการตรวจปกติ ให้ทำการตรวจซ้ำอย่างน้อยทุก 3 ปี ซึ่งเป็นการตรวจที่มีเหตุผล
-การตรวจคัดกรองเบาหวานและภาวะก่อนที่จะเป็นเบาหวาน ด้วยการใช้ HbA1c, FPG, หรือ 2-h 75-g OGTT ถือว่ามีความเหมาะสม
-ในกลุ่มคนที่ระบุได้ว่ามีโรคเบาหวานก่อน การระบุและหากเหมาะสม ให้ทำก่ารรักษาปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ

Ref: http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S5.full


วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

2,652 เกณฑ์การวินิจฉัยเบาหวานล่าสุดจาก Medical Care in Diabetes 2014

1. ระดับ HbA1c ตั้งแต่ 6.5 % โดยการตรวจนี้เป็นวิธีที่ได้รับการรับรองโดย National Glycohemoglobin Standardization Program (NGSP) และได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของ Diabetes Control and Complications Trial (DCCT) หรือ
2. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร (Fasting plasma glucose, FPG) ตั้งแต่ 126 มก/ดล (7.0 มิลลิโมล/ดล) ซึ่งการงดอาหาร ต้องงดอาหารที่ให้พลังงานเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชม. หรือ
3. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานน้ำตาล (oral glucose tolerance test, OGTT) ตั้งแต่ 200 มก/ดล (11.1 มิลลิโมล/ดล) การตรวจนี้ควรทำโดยวิธีของ WHO โดยการใช้น้ำตาลกลูโคสที่เทียบเท่ากับ anhydrous glucose 75 กรัม ละลายในน้ำ หรือ
4. ผู้ป่วยซึ่งมีอาการชัดเจนของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemic) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูงวิกฤติ (hyperglycemic crisis) ร่วมกับการมีมีระดับน้ำตาลแบบสุ่มตั้งแต่ 200 มก/ดล (11.1 มิลลิโมล/ดล)
ส่วนในกรณีที่ไม่มีลักษณะที่เข้าได้กับภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ผลตรวจที่ได้ควรทำการตรวจยืนยัน

ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากเกณฑ์การวินิจฉัยล่าสุดก่อนหน้านี้

Ref: http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S5.full

2,651 Diagnostic approach to patients with tinnitus

January 15 2014 Vol. 89 Number 2
American Family Physician 

หูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ในแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว นิยามคือรับรู้ของเสียงโดยที่ไม่มีการกระตุ้นจากเสียงภายนอกร่างกาย เนื่องจากหูอื้อเป็นอาการและไม่ใช่โรค ซึ่งสาเหตุพื้นฐานที่ทำให้เกิดหูอื้อจะต้องค้นหาเพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยให้ดีที่สุด แม้ว่าหูอื้อมักจะหาสาเหตุไม่ได้ (idopathic) แต่พบว่าการสูญเสียการได้ยินจากระบบประสาทเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด และยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ โรคของหู, หลอดเลือด, มะเร็ง, ระบบประสาท, ยา, ด้านทันตกรรม, และปัจจัยทางจิตวิทยา รวมถึงสาเหตุที่รุนแรงมากขึ้น เช่นโรคมีเนียร์หรือเนื้องอกของเส้นประสาทหู (vestibular schwannoma) ซึ่งควรตรวจประเมินเพื่อการตัดออก ประวัติและการตรวจร่างกายบริเวณศรีษะ, ตา, หู, จมูก, ลำคอ และระบบประสาทจะเป็นแนวทางในตรวจประเมินต่อไป
โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดที่มีหูอื้อควรได้รับการตรวจการได้ยิน (audiometry) ร่วมกับการตรวจการทำงานของหูชั้นกลางด้วย tympanometry และผู้ป่วยบางราย จำเป็นต้องตรวจ neuroimaging หรือการตรวจการทำงานของประสาทหูชั้นใน (vestibular function) ร่วมกับเครื่องตรวจบันทึกภาวะนัยน์ตากระตุก (electronystagmography)
การสนับสนุนเพื่อให้คำปรึกษาควรเริ่มต้นในระหว่างการประเมินตั้งแต่ช่วงแรกเพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยในการรับมือกับหูอื้อ การให้คำปรึกษาอาจจะเพิ่มโอกาสของการรักษาที่ประสบความสำเร็จต่อไปด้วย

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0115/p106.html

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

2,650 ผู้ป่วยหญิง 19 ปี มีอาการชาแก้มด้านขวาและริมฝีปากบนด้านขวา 2 สัปดาห์

ผู้ป่วยหญิง 19 ปี มีอาการชาแก้มด้านขวาและริมฝีปากบนด้านขวา 2 สัปดาห์? การเคลื่อนไหวของใบหน้า การเคี้ยวและการกลืนปกติ ปฏิเสธการบาดเจ็บบริเวณศรีษะและใบหน้า

จากข้อมูลทำให้คิดถึงความผิดปกติของ maxillary nerve ซึ่งเป็นแขนงที่ 2 ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 หรือ infraorbital nerve จึงทบทวนเส้นทางเดินของเส้นประสาทนี้ในด้านการรับรู้ (sensory) ซึ่งเส้นประสาทนี้เลี้ยงบริเวณริมฝีปากส่วนบน ด้านข้างและส่วนหลังของจมูก แก้มส่วนบน, บริเวณไรผมที่อยู่ใกล้ ๆ ตา (temple), เยื่อบุจมูก, คางส่วนบน, ฟันส่วนบน, ผนังด้านบนของช่องปาก, และดูราในส่วนของ middle cranial fossa เส้นประสาทจะออกจาก pterygopalatine fossa ผ่านไปยัง  foramen rotundum แล้วข้ามไปส่วนใต้ของ cavernous sinus และผ่านเข้าไปใน trigeminal ganglion


ส่วนรายละเอียดการตรวจเพื่อหาสาเหตุกำลังสืบค้นอยู่ใครเคยมีประสบการณ์หรือจะร่วมเสนอความคิดเห็นก็เชิญได้เลยครับ
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK384/

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

2,649 Acute osteomyelitis in children

Review article
N Engl J Med  January 23, 2014

แบคทีเรียอาจไปเจริญเติบโตในกระดูกได้โดยตรงจากบาดแผล, แพร่กระจายจากเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงที่มีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ การติดเชื้อของข้อ, หรือผ่านมาทางกระแสเลือดซึ่งในเด็กการติดเชื้เฉียบพลันของกระดูกในเด็กพบว่าผ่านการกระแสเลือดมากที่สุด ในประเทศที่มีรายได้สูงการติดเชื้อเฉียบพลันเกิดขึ้นประมาณ 8/100,000 คนต่อปี
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าพบบ่อยมากขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำ เด็กผู้ชายเกิดขึ้นมากกว่าเด็กผู้หญิงสองเท่า เมื่อให้วินิจฉัยการอักเสบติดเชื้อของกระดูกเฉียบพลันควรให้การรักษาอย่างเหมาะสมในทันที
ซึ่งโรคนี้สามารถก่อให้เกิดความรุนแรงหรือทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีทรัพยากรน้อยเมื่อผู้ป่วยมีลักษณะของโรคที่เป็นมากและผู้ที่รอดชีวิตมักจะมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและยาวนาน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Common Manifestations
-Diagnosis
-Management
   Antibiotic Treatment
   Switch from Intravenous to Oral Medication
   Duration of Treatment and Difficult-To-Treat Pathogens
-Role of Surgery
-Case Report
-Response to Treatment and Outcomes
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1213956

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

2,648 ภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูงกับการกดการทำงานของหัวใจ

ภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูงจะลดความสามารถการกระตุ้น (excitability) การทำงานของหัวใจซึ่งจะมีผลต่อทั้งอัตราการเต้นของหัวใจและการนำกระแสไฟฟ้าของเนื้อเยื่อ โดยการกดแรงกระตุ้น (impulse) ของกระแสไฟฟ้าที่มาจาก SA node และลดการนำกระแสไฟฟ้าที่ AV node จนถึง His-Purkinje system
ทำให้เกิดหัวใจเต้นช้าและการยับยั้งการนำกระแสไฟฟ้าและในสุดอาจทำให้หัวใจหยุดทำงานในที่สุด
โดยถ้า K มากกว่า  5.5 mEq/L สัมพันธ์กับความผิดปกติของช่วง repolarization
ถ้า K มากกว่า 6.5 mEq/L สัมพันธ์กับการอ่อนกำลังของหัวใจห้องบนที่เพิ่มมากขึ้น
ถ้า K มากกว่า 7.0  mEq/L สัมพันธ์กับการนำกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและภาวะหัวใจเต้นช้า

Ref: http://lifeinthefastlane.com/ecg-library/basics/hyperkalaemia/

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

2,647 Lung abscess

หญิง 85 ปี ไข้ ไอ มีเสมหะ 3 วัน CXR เป็นดังภาพ จะให้การวินิจฉัยอย่างไร ให้การรักษาอย่างไร และมี CXR เก่าเมื่อ 5 ปีก่อนเปรียบเทียบให้ดูด้วย

CXR เก่าเมื่อ 5 ปีก่อน

CXR ครั้งนี้

ขอขอบคุณสำหรับการร่วมตอบเพื่อการเรียนรู้ครับ
จากภาพเอกซเรย์ทรวงอกพบว่าเป็นลักษณะ cavity with an air-fluid level inside ที่ปอดด้านขวาทำให้คิดถึงฝีในปอด (lung abscess) โดยภาพแรกเป็นภาพเดิมเมื่อ 5 ปีก่อน หลังจากที่ผู้ป่วยเคยเป็นฝีในปอดที่ได้รับการรักษาหายแล้ว แต่ยังพบว่ามีผนังของฝีเป็นลักษณะกลมโดยคงค้างอยู่ตลอด และครั้งนี้เกิดเป็นฝีขึ้นมาใหม่
โดยฝีในปอดมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสำลักจึงมักจะเป็นเชื้อแอนแอโรบิค แต่ก็สามารถมีจากสาเหตุอื่นได้ เช่น เชื้อแกรมลบ แกรมบวก วัณโรค เชื้อรา เป็นต้น โดย empiric antimicrobial สำหรับ 
เชื้อแอนแอโรบิค เช่น clindamycin โดยควรให้เป็นทางหลอดเลือดดำ ส่วนยาปฏิชีวนะอื่นๆ และการใช้สามารถอ่านได้จากอ้างอิงด้านล่าง
ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดหรือการระบายหนองคือความล้มเหลวจากการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งมักได้แก่ขนาดฝีที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 6 ซม. มีภาวะแทรกซ้อนหรือมีความรุนแรง

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

2,646 แนวทางการดูแลผู้ป่วยถ่ายเป็นเลือด

โดยราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-คำนำ
-การวินิจฉัย
   ประวัติ
   ตรวจร่างกาย
   การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-แนวทางการรักษา
   กลุ่มที่เลือดออกครั้งละไม่มาก และไม่มีอาการอื่นที่รุนแรวร่วมด้วย
   กลุ่มที่ถ่ายเป็นเลือดรุนแรง

ลิ้งค์ http://www.surgeons.or.th/cpg/9C98.pdf

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

2,645 ชนิดของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ( allergic rhinitis)

Seasonal allergic rhinitis จะมีอาการในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือฤดูหนึ่ง โดยจะเป็นช่วงที่มีสารก่อภูมิแพ้สูง ซึ่งมักเป็นสารก่อภูมิแพ้จากภายนอกบ้าน เช่น ละอองเกสร หญ้า วัชพืช พืชดอก พืชต่างๆ
สปอร์ของเชื้อรา เป็นต้น
Perennial allergic rhinitis ผู้ป่วยมักมีอาการทั้งปี มักเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ที่มีในที่อยู่อาศัย หรือในสถานที่ทำงาน เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนและรังแคสัตว์ เชื้อรา เป็นต้น
ส่วน WHO ได้แบ่งได้เป็น
Intermittent คือมีอาการเป็นบางครั้ง น้อยกว่า 4 วัน/สัปดาห์ หรือมีอาการติดต่อกันน้อยกว่า 4 สัปดาห์
Persistent คือมีอาการโดยตลอด คือมีมากกว่า 4 วัน/ สัปดาห์ และเป็นนานต่อเนื่องมากกว่า 4 สัปดาห์

Ref: http://www.rcot.org/datafile/_file/_doctor/2c8b94f621a80887da6a17d3f25597f6.pdf
http://www.uptodate.com/contents/allergic-rhinitis-seasonal-allergies-beyond-the-basics
http://aaia.ca/learnthelink/images/ARIA_07_At_A_Glance_1st_Edition_July_07.pdf

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

2,644 แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ

 โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

2,642 A Pragmatic view of the new cholesterol treatment guidelines

Medicine and society
N Engl J Med January 16, 2014

กุญแจสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
แพทย์ผู้ปฏิบัติงานควรจะพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการปฏิบัติตามตามแนวทางการรักษาคอเลสเตอรอลใหม่ อันได้แก่
1. หลีกเลี่ยงการรักษาเพื่อลดคอเลสเตอรอลในผู้ป่วยบางกลุ่ม
2. ขจัดการตรวจประเมินระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอลแบบทำเป็นประจำ (routine) ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาสแตตินเพราะระดับเป้าหมายจะไม่ได้เน้นย้ำอีกต่อไป
3. หลีกเลี่ยงยาที่ไม่ใช่สแตตินเพื่อใช้ในการลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอลในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยาสแตติน
4. ให้ความระมัดระวังมากขึ้นในการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 75 ปีที่ไม่มีลักษณะทางคลินิกของหลอดลือดแดงแข็งตัว-โรคหัวใจและหลอดเลือด
5. ลดการตรวจสิ่งที่เป็นเครื่องหมาย-ตัวแทน เช่น C-reactive protein หรือ calcium scores
6. ใช้การคำนวนความเสี่ยงใหม่เพื่อที่จะกำหนดเป้าหมายของผู้ป่วยจำนวนมากในการรักษาด้วยยาสแตติน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Key Features of the New Guidelines
-Key Implications for Practitioners
-Source Information

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMms1314569?query=featured_home

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

2,641 ใหม่ อัลกอริทึ่มแนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงปรับปรุงสำหรับประเทศไทย พัฒนาจาก JNC 8 (สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้)

แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงพัฒนาจาก JNC8 ที่สามารถนำไปใช้กับโรงพยาบาลทุกระดับของประเทศไทย
โดย Extern คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบ ซึ่งมาฝึกปฏิบัติงานวิชาเวชศาสตร์ชุมชนที่ รพ. พิมาย

คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ดาวน์โหลด คลิก

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

2,640 อาหารบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนฟอกเลือด

โดย รศ.ชวลิต  รัตนกุล
อาจารย์พิเศษ หน่วยไต รพ.จุฬาลงกรณ์
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-รูปร่าง ตำแหน่ง และขนาดของไต
-กายวิภาคของไต
-หน้าที่ของไต
-โรคของไต
-คำจำกัดความของโรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease)
-โรคไตเริ้อรัง (Chronic Kidney Disease-CKD)
-ความจริงที่ควรทราบเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง
-อาการของโรคไตเรอรง
-ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง
-ระยะต่างๆ ของโรคไตเรื้อรัง
-โรคไตเรื้อรัง (CKD) ระยะก่อนฟอกเลือด (Pre-dialysis) ระยะ 1-5
-บทบาทของอาหารบำบัดในโรคไตเรื้อรังระยะก่อนฟอกเลือด
-ข้อปฏิบัติในการป้องกันและบำบัดภาวะ dyslipidemia ในผู้ป่วย CKD
-แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี
-แหล่งอาหารที่ให้แคลเซี่ยม
-วิตามินดี
-การใช้ยาและอาหารบำบัด
-การจัดอาหารโปรตีนต่ำในภาวะโรคไตเรื้อรังระยะก่อนฟอกเลือด
-การกระจายอาหารหลักหมู่ต่างๆ ไปใน 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น
-ข้อควรทราบในการปรุงรส
-การจัดอาหารเพื่อแก้ไขสภาวะที่เกิดร่วมกับ CKD
-ภาคผนวก

ลิ้งค์ http://www.nephrothai.org/news/news.asp?type=KNOWLEDGE&news_id=394

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

2,639 รวมโพสต์แนวรักษาความดันโลหิตสูง 2014 (JNC 8) ขนาดของยารักษาความดันโลหิตชนิดต่างๆ จาก JNC 8

ความแตกต่างระหว่าง JNC 7 และ JNC 8 ในด้านคำนิยาม เป้าหมายการรักษา และการใช้ยา
ความดันโลหิตสูง
ลิ้งค์
สรุปคำแนะนำ 9 ข้อในการรักษาความดันโลหิตสูงโดย 2014 (JNC 8)
ลิ้งค์
สามกลยุทธ์ในการปรับยารักษาความดันโลหิตสูงใน 2014 (JNC 8)
ลิงค์
ภาคสรุปของแนวรักษาความดันโลหิตสูง 2014 (JNC 8) 
ลิ้งค์
ขนาดของยารักษาความดันโลหิตชนิดต่างๆ จาก JNC 8
ลิ้งค์

2,638 ขนาดของยารักษาความดันโลหิตชนิดต่างๆ จาก JNC 8

ขนาดของยารักษาความดันโลหิตตามจากข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์จาก JNC 8

คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

2,637 บทสรุปของแนวรักษาความดันโลหิตสูง 2014 (JNC 8) แปลเป็นภาษาไทย

สิ่งสำคัญจะสังเกตเห็นว่าในแนวทางนี้ยังไม่ได้ให้นิยามใหม่ของความดันโลหิตสูง ซึ่งคณะทำงานเชื่อว่าคำนิยาม BP ที่  140/90  มม. ปรอท จาก JNC 7 ยังคงมีความเหมาะสม ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติของความดันโลหิตและความเสี่ยงจะลดลงเป็นเส้นตรงลงเมื่อความดันโลหิตลดลงอย่างมาก แต่ประโยชน์ของการรักษาด้วยการให้ยาเพื่อลดระดับความดันโลหิตในขนาดนี้ยังไม่ได้รับการจัดทำขึ้น แต่ยังไม่สามารถเน้นกับทุกๆ คนที่มีความดันโลหิตสูง ถึงประโยชน์ที่จะได้่รับจากการรับประทานอาหารสุขภาพ การควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกายเป็นประจำ
การรักษาด้วยการปรับวิถีชีวิตมีแนวโน้มในการช่วยควบคุมความดันโลหิตและยังลดความต้องการใช้ยา
แม้ว่าผู้จัดทำแนวทางความดันโลหิตสูงนี้ไม่ได้นำข้อมูลหลักฐานของการรักษาด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต แต่เราสนับสนุนคำแนะนำ Lifestyle Work Group ของปี 2013
คำแนะนำจากแนวทางที่มีข้อมูลหลักฐานจากคณะกรรมให้ JNC 8 เสนอให้แพทย์วิเคราะห์สิ่งที่ทราบและไม่ทราบเกี่ยวกับจุดเริ่มการรักษาความดันโลหิต, เป้าหมายและกลยุทธ์การรักษาด้วยยาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้บนหลักฐานที่ได้จากการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT)
อย่างไรก็ตาม คำแนะนำเหล่านี้จะไม่ได้ใช้แทนการตัดสินใจทางคลินิกและการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแล ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบและใช้ลักษณะทางคลินิกและสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละคน
ซึ่งเราหวังว่าอัลกอริทึมของแนวทางจะอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานและเป็นประโยชน์กับแพทย์ซึ่งไม่ค่อยมีเวลา โดยจากหลักฐานระดับสูงของรายงานนี้จะเป็นการแจ้งมาตรการที่มีคุณภาพสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง

Ref: http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1791497

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

2,636 สามกลยุทธ์ในการปรับยารักษาความดันโลหิตสูงใน JNC 8 (2014)

กลยุทธ์ A: เริ่มยาตัวแรกแล้วปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดหลังจากนั้นเริ่มยาตัวที่สอง ถ้า BP ไม่ได้ตามเป้าหมายจากการที่เริ่มให้ยา ให้ปรับขนาดยานั้นขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำ และถ้ายังไม่ได้ BP ตามเป้าหมาย ให้เริ่มยาตัวที่สอง (โดยอาจเป็น thaizide diuretic, CCB, ACEI, ARB) และปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำ ถ้าได้ยาสองตัวแล้วยังไม่ได้ตามเป้าหมายอีก ให้เลือกยาตัวที่สามจากยาดังกล่าวข้างต้น โดยหลีกเลี่ยงการใช้ ACEI ร่วมกับ ARB และปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำเพื่อให้ได้ BP ตามเป้าหมาย
กลยุทธ์ B: เริ่มยาตัวแรกแล้วเริ่มยาตัวที่สองก่อนที่จะถึงขนาดยาสูงสุดของยาตัวแรก แล้วปรับยาให้ได้ขนาดสูงสุดที่แนะนำของยาสองตัว และถ้ายังไม่ได้ตามเป้าหมาย ให้เลือกยาตัวที่สาม  (โดยอาจเป็น thaizide diuretic, CCB, ACEI, ARB) โดยหลีกเลี่ยงการใช้ ACEI ร่วมกับ ARB และปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำเพื่อให้ได้ BP ตามเป้าหมาย
กลยุทธ์ C: เริ่มยาสองตัวพร้อมกัน (อาจเป็นยาสองชนิดแยกเม็ดกนหรือยาสองชนิดรวมในเม็ดเดียว) ปรับขนาดยา 2 ตัวพร้อมๆ กัน โดยคณะคณะกรรมการบางท่านแนะนำให้เริ่มยาไม่ต่ำกว่า2 ตัวในกรณีที่ SBP มากกว่า 160 มม. ปรอทและ/หรือ DBP มากกว่า 100 มม. ปรอท หรือถ้า SBP มากกว่าเป้าหมายเกินกว่า 20 มม. ปรอท หรือ DBP มากกว่าเป้าหมายเกินกว่า 10 มม. ปรอท และถ้ายังไม่ได้ตามเป้าหมาย ให้เลือกยาตัวที่สาม (โดยอาจเป็น thaizide diuretic, CCB, ACEI, ARB)โดยหลีกเลี่ยงการใช้ ACEI ร่วมกับ ARB และปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำ

Ref: http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1791497

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

2,635 Miliary tuberculosis

ผู้ป่วยชายอายุ 31 ปี ไข้ ไอมีเสมหะ เหนื่อยง่ายมานานกว่า 2 สัปดาห์ ผลเอกซเรย์ทรวงอกเป็นดังภาพ ผลตรวจเสมหะ AFB พบเชื้อวัณโรค


จากลักษณะทางคลินิกผลเอกซเรย์และผลตรวจเสมหะเข้าได้กับ miliary tuberculosis
Miliary tuberculosis เป็นการแพร่กระจายของเป็นบริเวณกว้างขวางของเชื้อวัณโรคผ่านทางมาทางกระแสเลือด วัณโรคชนิด miliary ซึ่งลักษณะดั้งเดิมจะคล้ายเม็ดข้าวฟ่าง (milletlike) โดยจะมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 2 มม. หรืออยู่ในช่วง 1-5 มม. จะพบว่ามีเชื้อวัณโรคจำนวนมากกระจายอยู่ในปอด สามารถเห็นหลักฐานดังกล่าวได้จากถ่ายภาพรังสีทรวงอก ซึ่งรูปแบบนี้พบได้ 1-3% ของวัณโรคทั้งหมด โดย 25% ของ miliary TB จะมี meningeal involvement
และ miliary TB จะมีความคล้ายกับโรคอื่นๆ มีการวินิจฉัยแยกโรคได้อย่างมากมาย บางการศึกษาพบว่ามีถึง 50% จากการตรวจในผู้เสียชีวิตพบว่าไม่ได้รับการวินิจฉัย ความสงสัยทางคลินิกเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ได้รับการวินิจฉัยและเพื่อผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น

Ref: http://emedicine.medscape.com/article/221777-overview#aw2aab6b2

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

2634 ERCP for gallstone pancreatitis

Clinical therapeutics
N Engl J Med January 9, 2014

บทบาทและระยะเวลาที่จะทำ ERCP ในผู้ป่วยที่มีทางเดินน้ำดี-ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันยังเป็นที่โต้แย้ง ในหลายๆ การศึกษาทางคลินิกที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มักจะมีการประเมินบทบาทการทำ ERCP ตั้งแต่ระยะแรกโดยมีการใช้หรือไม่ใช้ส่องกล้องผ่าตัดหูรูด (endoscopic sphincterotomy) และทียบกับการดูแลรักษาแบบอนุรักษ์นิยมที่มีหรือไม่มีการเลือกใช้ ERCP
ระยะเวลาที่จะทำ ERCP, เกณฑ์การคัดเลือก, วิธีการของการวินิจฉัยทางเดินน้ำดี-ตับอ่อนอักเสบ และการประเมินของความรุนแรงมีความแตกต่างกันในแต่ละการศึกษา ซึ่งบางทีอาจพบว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเหล่านี้ ผลที่มีความขัดแย้งกัน โดยบางการศึกษาสนับสนุนถึงประโยชน์ในผู้ป่วยที่ได้รับจากการทำ ERCP และการศึกษาอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าไม่มีประโยชน์และบางครั้งอาจทำให้แย่ลง โดยไม่ได้คำนึงถึงความรุนแรงของโรค
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Pathophysiology and Effects of Therapy
-Clinical Evidence
-Clinical Use
-Adverse Effects
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Recommendations
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct1208450

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

2,633 การป้องกันภายหลังสัมผัสโรคบาดทะยัก (Post exposure prophylaxis for tetanus)

จากจุลสารเสาวภา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-เมษายน 2555 
สภากาชาดไทย


ลิ้งค๋ดาวน์โหลด http://www.saovabha.com/download/saovabha_y5_v1_1.pdf

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

2,632 Evaluation of the patient with hip pain

Evaluation of the patient with hip pain
January 1 2014 Vol. 89 Number 1
American Family Physician 

อาการปวดสะโพกเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและและก่อให้เกิดความพิการทุพพลภาพได้ โดยมีผลกับทุกๆ วัย การวินิจฉัยแยกโรคของอาการปวดสะโพกมีหลากหลาย ทำให้เกิดความท้าทายในการวินิจฉัย ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดสะโพกหนึ่งในสามตำแหน่ง ได้แก่ สะโพกทางด้านหน้าและขาหนีบ สะโพกด้านหลังและก้น หรือสะโพกด้านข้าง
-อาการปวดสะโพกทางด้านหน้าและขาหนีบมักจะเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพภายในข้อ เช่น osteoarthritis และ hip labral tears
-อาการปวดสะโพกด้านหลังมีความเกี่ยวข้องกับ piriformis syndrome, sacroiliac joint dysfunction, lumbar radiculopathy และที่พบน้อยกว่าคือ ischiofemoral impingement และ vascular claudication
-อาการปวดทางด้านข้างของข้อตะโพกเกิดร่วมกับ greater trochanteric pain syndrome
การตรวจทางคลินิกแม้ว่าจะช่วยแต่มิได้มีความไวสูงหรือมีความจำเพาะสำหรับการวินิจฉัยโรคโดยส่วนใหญ่ แต่วิธีการตรวจประเมินที่สมเหตุผลสามารถใช้ในการตรวจสะโพกได้
การถ่ายภาพด้วยรังสีควรจะทำในกรณีที่มีกระดูกหักเฉียบพลัน, กระดูก-ข้อเคลื่อน, หรือสงสัยกระดูกหักจากแรงกดหรือแรงเค้น โดยการถ่ายภาพด้วยรังสีแบบธรรมดาทั่วไปของสะโพกควรจะรวมถึงมุมมองทางด้านด้านหน้า-หลังของเชิงกรานและท่าขากบด้านข้างของสะโพกด้านที่มีอาการ
การถ่ายภาพแม่เหล็กควรจะทำถ้ามีประวัติว่าภาพถ่ายรังสีธรรมดาไม่ให้ผลการวินิจฉัย การถ่ายภาพแม่เหล็กมีความสำคัญในการตรวจสอบกระดูกหักที่ซ้อนเร้น, กระดูกหักจากแรงกดหรือแรงเค้นและกระดูกตายจากการขาดเลือดมาเลี้ยงของหัวกระดูกต้นขา การถ่ายภาพแม่เหล็กเพื่อดูหลอดเลือดเป็นทางเลือกสำหรับการวินิจฉัย labral tears

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0101/p27.html

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

Special post อีกครั้งสำหรับคนที่ยังไม่ได้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น การให้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยเบาหวาน

ตอนนี้ได้ทำการปรับปรุงหลังจากได้ทดลองใช้แอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์: การให้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยเบาหวานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอเชิญดาวน์โหลดและใช้ได้ฟรีครับ และเมื่อได้ลองใช้แล้วรบกวนช่วยตอบคำถามสั้นๆ ในเวลาไม่เกิน 5 นาที เพื่อการพัฒนาปรับปรุงและเพื่อการศึกษาวิจัย ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ
โดยขั้นตอนคือ ใช้อุปกรณ์ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เท่านั้ เพื่อดาวน์โหลด ทำการลงและยอมรับการติดตั้งโปรแกรมไปตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้น แล้วเริ่มทดลองใช้งาน ถ้ามีปัญหาในการติดตั้งหรือการใช้งาน ตลอดจนความถูกต้องของเนื้อหาสามารถเขียนลงในความเห็นใน post นี้ หรือส่งมาที่อีเมล Chansakmed@hotmail.com ก็ได้ครับ
(โดยผู้ที่เคยดาวน์โหลดไปใช้แล้วสามารถติดตั้งโปรแกรมทับไปได้เลยครับ โปรแกรมจะ update ให้ในทันที ส่วนกรณีที่ไม่สามารถติดตั้งโปรแกรมได้เนื่องจากยังตั้งค่าให้เฉพาะแอพส์จาก play store เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ สามารถแก้ไขได้โดยไปที่การตั้งแค่ แล้วไปที่ระบบป้องกัน คลิกยินยอมให้ติดตั้งแอพส์ที่ไม่ได้มาจาก play store เมื่อติดตั้งเสร็จก็ค่อยคลิกกลับคืนก็ได้ครับ)

สัญลักษณ์ของแอพพลิเคชั่น

หน้าตาของแอพพลิเคชั่นเมื่อเปิดเข้าไปใช้งาน


หลังจากกดที่ click สักพักจะได้หน้าตาของลิ้งค์เพื่อกดดาวน์โหลดต่อ


ลิ้งค์ดาวน์โหลด Click
***ถ้าทดลองใช้งานแล้วรบกวนช่วยตอบแบบสอบถามสั้นๆ ด้านล่างสักแปร๊บนะครับ***

2,631 Needle aspiration of primary spontaneous pneumothorax

ขั้นตอนในการทำคือ จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ทำความสะอาด ปูผ้า ใช้ตำแหน่งที่ขอบบนของกระดูกซี่โครงที่ 3 ในแนวกึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้าข้างที่มีลมรั่ว (ป้องกันการบาดเจ็บต่อเส้นเลือดและเส้นประสาท ซึ่งจะอยู่ขอบล่างของกระดูกซี่โครง) ใช้เข็มฉีดยาเบอร์ 25 ที่ผิวหนัง ต่อจากนั้นใช้เข็มพลาสติก (medicut หรือ intravenous catheter) เบอร์ 22 เพื่อฉีดยาชา และใช้เข็มยาชาในระดับที่ต่ำลง ระหว่างที่ฉีดยาก็ให้ดูดทำ aspirate ไปเรื่อยๆ เมื่อเข็มผ่านเข้าช่องเยื่อหุ้มปอดจะได้ลมโดยสังเกตได้จากลมในกระบอกฉีดยาที่มียาชา (หรืออาจจะฉีดยาใช้ตามที่เราคุ้นเคยแล้วใช้ NNS ปลอดเชื้อใส่ในกระบอกฉีดยาแทนยาชาเพื่อใช้ในการตรวจดูลม) จากนั้นถอนกระบอกฉีดยาจากเข็มพลาสติกใช้มืออุดอย่างรวดเร็วป้องกันลมจากข้างนอกเข้าไป ต่อสายที่ต่อไว้กับ three way และกระบอกฉีดยาขนาด 50 มล. จากนั้นดูดลมออกจนหมด
ถ้าได้ลมมากกว่า 2.5 ลิตร (บางอ้างอิงใช้ที่ 4 ลิตร) บ่งบอกว่ายังมีการรั่วของลมในปอดให้หยุดทำ และเปลี่ยนเป็นใส่ท่อระบายทรวงอกแทน เมื่อดูดลมหมดแล้วก็ปิดแผล แล้วตรวจ CXR ซ้ำในท่า upright ถ้าทำสำเร็จจะเหลือรอยลมรั่วน้อยมากหรือหายไป ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้น อาจดูอาการ 6 ชม. แล้วตรวจ CXR ซ้ำ ถ้าไม่เกิดมีลมรั่วซ้ำ อาจสังเกตอาการต่อหรือจะให้กลับก็ได้ตามลักษณะของผู้ป่วย บางอ้างอิง CXR อีก 24-48 ชม. พบว่าวิธีนี้โอกาสสำเร็จได้ 71%
ส่วนการเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมผู้ป่วย ข้อห้าม ภาวะแทรกซ้อน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ตามอ้างอิงด้านล่างครับ
ตำแหน่งที่จะใช้ในการทำ

เมื่อเข็มเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดจะได้ลมในยาชาหรือน้ำในกระบอกฉีดยา

หรือสามารถดูวิดีโอได้จากลิ้งค์นี้ คลิก

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

2,629 คู่มือมาตรฐานและการดำเนินงาน คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


ลิ้งค์ดาวน์โหลด คลิก

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

2,628 การสูญเสียสมาธิขณะขับรถและความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุในผู้ที่เริ่มหัดขับใหม่และผู้ที่มีประสบการณ์

Distracted driving and risk of road crashes among novice and experienced drivers
Special article
N Engl J Med  January 2, 2014

การสูญเสียสมาธิขณะขับรถเนื่องจากการทำอย่างอื่นเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุของรถยนต์ทั้งในหมู่วัยรุ่นที่เป็นคนขับรถมือใหม่และในผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ขับรถ การศึกษาได้ดำเนินการสองการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการทำอย่างอื่น รวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือ และความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและเกือบจะเกิดอุบัติเหตุ
เพื่ออำนวยความสะดวกในการประเมินตามวัตถุประสงค์ เครื่องวัดความเร่ง, กล้อง, ระบบบอกพิกัดตำแหน่งทั่วโลกและเซ็นเซอร์อื่น ๆ ได้ถูกติดตั้งในยานพาหนะในผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถใหม่ 42 คน (อายุ 16.3-17.0 ปี) และผู้ใหญ่ 109 ที่มีประสบการณ์ในการขับขี่มากขึ้นแล้ว
ผลการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและเกือบจะเกิดอุบัติเหตุในผู้ขับขี่เพิ่มขึ้นจากการทำอย่างอื่นๆ ได้แก่การอ่านหนังสือ การต่อโทรศัพท์

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMsa1204142?query=featured_home

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

2,627 Global effects of smoking, of quitting, and of taxing tobacco

Review article
Global health
N Engl J Med  January 2, 2014

บนพื้นฐานของรูปแบบการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน โดยทั่วโลกพบว่ามีค่าเฉลี่ยของผู้ชายประมาณ 50% และผู้หญิง 10% ที่ยังสูบบุหรี่ และการหยุดสูบยังค่อนข้างน้อย, การเสียชีวิตเนื่องจากการสูบบหรี่ในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้น
จากประมาณ 5 ล้านคนในปี 2010 และจะมากกว่า 10 ล้านคนในไม่กี่สิบต่อแต่นี้ไป ผู้สูบบุหรี่หนุ่มสาวในวันนี้จะกลายเป๋็นวัยกลางคนและวัยชราในเวลาต่อไป
มีประมาณ 100 ล้านคนที่ผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ในศตวรรษที่ 20 โดยมีมากที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว หากรูปแบบการสูบบุหรี่ในปัจจุบันยังคงมีอยู่ บุหรี่จะฆ่าชีวิตประชากรประมาณ 1 พันล้านคนในศตวรรษนี้ โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ประมาณครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นก่อนอายุ 70 ปี
ในปี 2013 World Health Assembly เรียกร้องให้รัฐบาลทำการลดความชุกของการสูบบุหรี่ลงประมาณหนึ่งในสามในปี 2025  เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตมากกว่า 200 ล้านคน จากการสูบบุหรี่ในช่วงที่เหลือของศตวรรษ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Three Key Messages for Smokers in the 21st Century
-Eventual Hazards of Smoking
-Rapid Benefits of Stopping
-Effects of Increasing Cigarette Prices
-Other Effective Interventions
-Death and Taxes
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1308383

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

2,626 สรุปการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคำแนะนำในการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน 2014 SEARCH database.

Summary of Revisions to the 2014 Clinical Practice Recommendations
Diabetes Care Volume 37, Supplement 1, January 2014

-เป็นที่ชัดเจนว่าการตรวจ HbA1C เป็นหนึ่งในสามวิธีที่ใช้ในการวินิจฉัยเบาหวาน
-คัดกรองเบาหวานชนิดที่ 1 ได้รับการปรับปรุงเพื่อคำแนะนำที่จำเพาะมากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองสำหรับญาติของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งทำในศูนย์การวิจัยทางคลินิก
-การตรวจหาและวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของ National Institutes of Health (NIH) และกำหนดให้ใช้ 2 วิธีสำหรับการการตรวจคัดกรองและการวินิจฉัย (เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานเดิมที่แนะนำโดย International Association of the Diabetes และ Pregnancy Study Groups [IADPSG])
-การติดตามระดับน้ำตาลในเลือดได้รับการปรับเพื่อเพิ่มการติดตามอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นพ้องล่าสุดของการใช้เซ็นเซอร์และปั้มเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในกรณีที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำโดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยๆ ตอนกลางคืนบ่อย / หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแบบไม่รู้ตัว
-การใช้ยารักษาเบาหวานในเบาหวานชนิดที่ 2 เปลี่ยนจาก 3-6 เดือนเป็น 3 เดือน สำหรับการรักษาด้วยยาเดี่ยวที่ไม่ใช่อินซูลิน
-การใช้โภชนบำบัดได้รับการปรับปรุงเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการปรับปรุงโภชนาการทางการแพทย์สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวาน
-ยาต้านเกล็ดเลือดได้รับการปรับเพื่อคำแนะนำที่มากกว่าการรักษาทั่วๆ ไป (เช่น การให้ยาต้านเกล็ดเลือด 2 ตัว เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยแอสไพรินร่วมกับโคพิโดเกรล)
-ความผิดปกติต่อไตได้รับการปรับเพื่อตัดคำว่า "microalbuminuria"และ "macroalbuminuria" ออก โดยถูกแทนที่ด้วยการมีไข่ขาวในปัสสาวะ 30-299 mg/24 ชั่วโมง (ซึ่งก่อนหน้านี้คือ microalbuminuria) และโปรตีนไข่ขาวตั้งแต่ 300 mg/24 ชั่วโมงขึ้นไป (ซึ่งก่อนหน้านี้คือ macroalbuminuria)
-ความผิดปกติของจอประสาทตาได้รับการปรับโดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก 2 ปี โดยเปรียบเทียบกับทุก 2-3 ปี ในกรณีที่ไม่มีความผิดปกติของจอประสาทตา
-ความผิดปกติระบบประสาทได้รับการปรับปรุงเพื่อทางเลือกที่มากกว่าในการรักษาความเจ็บปวดจากระบบประสาท
-การดูแลรักษาโรคเบาหวานในประชากรเฉพาะได้รับการปรับปรุงเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานปัจจุบันของการตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์และ celiac disease นอกจากนี้ยังมีการนำข้อมูลของอุบัติการและความชุกจาก SEARCH database เข้ามาร่วมด้วย
-การดูแลรักษาโรคเบาหวานในโรงพยาบาลได้รับการปรับปรุงโดยไม่เห็นด้วยที่จะใช้แค่ sliding scale ของอินซูลินอย่างเดียวในการรักษา

ซึ่งการอ่านเฉพาะหัวข้อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาจจะเข้าใจได้ไม่เต็มที่ ซึ่งอาจจะอ่านเนื้อหาเต็มหรืออย่างน้อยก็อ่านแบบสรุปก่อน
อ่านเนื้อหาเต็ม http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S14.full.pdf
แบบสรุป http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S5.full.pdf
ส่วนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงโดยสรุปอยู่ตามลิ้งค์นี้ http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S4.full.pdf