-ผู้ป่วยที่ความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง (impaired glucose tolerance,IGT), ภาวะของคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะอด (impaired fasting glucose,IFG) หรือมีระดับ HbA1c อยู่ระหว่าง 5.7–6.4% ควรส่งต่อเพื่อโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพเพื่อการกำหนดเป้าหมายการลดน้ำหนัก 7% ของน้ำหนักตัว และเพิ่มการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที / สัปดาห์ของกิจกรรมในระดับปานกลางเช่น การเดิน
-ติดตามเพื่อให้คำปรึกษาซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับความสำเร็จ
-บนพื้นฐานของความคุ้มค่าในการป้องกันโรคเบาหวาน โปรแกรมดังกล่าวควรได้รับการครอบคุมจากบุคคลที่สามผู้ทําหน้าที่จ่ายเงิน
-ใช้ metformin เพื่อป้องกันการเกิดเบาหวานชนิดที่สองควรพิจรณาในผู้ที่มีความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง, ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะอดอาหาร, หรือมี HbA1c อยู่ระหว่าง 5.7–6.4%, โดยเฉพาะผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กก/ม2, อายุน้อยกว่า 60 ปี, และในผู้หญิงที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
-ตรวจติดตามอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานคือเป็๋นคำแนะนำ
-ตรวจค้ดกรองและรักษาปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด
Ref: http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S5.full
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557
2,655 การป้องกัน/ชะลอการเกิดเบาหวานชนิดที่สอง จาก Medical Care in Diabetes 2014
ป้ายกำกับ:
Endocrinology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น