ขั้นตอนในการทำคือ จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ทำความสะอาด ปูผ้า ใช้ตำแหน่งที่ขอบบนของกระดูกซี่โครงที่ 3 ในแนวกึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้าข้างที่มีลมรั่ว (ป้องกันการบาดเจ็บต่อเส้นเลือดและเส้นประสาท ซึ่งจะอยู่ขอบล่างของกระดูกซี่โครง) ใช้เข็มฉีดยาเบอร์ 25 ที่ผิวหนัง ต่อจากนั้นใช้เข็มพลาสติก (medicut หรือ intravenous catheter) เบอร์ 22 เพื่อฉีดยาชา และใช้เข็มยาชาในระดับที่ต่ำลง ระหว่างที่ฉีดยาก็ให้ดูดทำ aspirate ไปเรื่อยๆ เมื่อเข็มผ่านเข้าช่องเยื่อหุ้มปอดจะได้ลมโดยสังเกตได้จากลมในกระบอกฉีดยาที่มียาชา (หรืออาจจะฉีดยาใช้ตามที่เราคุ้นเคยแล้วใช้ NNS ปลอดเชื้อใส่ในกระบอกฉีดยาแทนยาชาเพื่อใช้ในการตรวจดูลม) จากนั้นถอนกระบอกฉีดยาจากเข็มพลาสติกใช้มืออุดอย่างรวดเร็วป้องกันลมจากข้างนอกเข้าไป ต่อสายที่ต่อไว้กับ three way และกระบอกฉีดยาขนาด 50 มล. จากนั้นดูดลมออกจนหมด
ถ้าได้ลมมากกว่า 2.5 ลิตร (บางอ้างอิงใช้ที่ 4 ลิตร) บ่งบอกว่ายังมีการรั่วของลมในปอดให้หยุดทำ และเปลี่ยนเป็นใส่ท่อระบายทรวงอกแทน เมื่อดูดลมหมดแล้วก็ปิดแผล แล้วตรวจ CXR ซ้ำในท่า upright ถ้าทำสำเร็จจะเหลือรอยลมรั่วน้อยมากหรือหายไป ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้น อาจดูอาการ 6 ชม. แล้วตรวจ CXR ซ้ำ ถ้าไม่เกิดมีลมรั่วซ้ำ อาจสังเกตอาการต่อหรือจะให้กลับก็ได้ตามลักษณะของผู้ป่วย บางอ้างอิง CXR อีก 24-48 ชม. พบว่าวิธีนี้โอกาสสำเร็จได้ 71%
ส่วนการเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมผู้ป่วย ข้อห้าม ภาวะแทรกซ้อน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ตามอ้างอิงด้านล่างครับ
ตำแหน่งที่จะใช้ในการทำ
เมื่อเข็มเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดจะได้ลมในยาชาหรือน้ำในกระบอกฉีดยา
หรือสามารถดูวิดีโอได้จากลิ้งค์นี้
คลิก
แนะนำให้ aspirate ที่บริเวณเดียวกับที่ทำ ICD
ตอบลบaspirate แบบในรูปทำเฉพาะ emergency มากๆ
ครับ ขอบคุณมากครับ
ตอบลบ