วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,599 Targeted temperature management at 33°C versus 36°C after cardiac arrest

Original article
N Engl J Med December 5, 2013

ที่มา: ผู้หมดสติที่รอดชีวิตจากการมีภาวะหัวใจหยุดทำงานที่เกิดภายนอกโรงพยาบาล มีความเสี่ยงสูงของการเสียชีวิตหรือการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ การรักษาโดยการลดอุณหภูมิร่างกายได้รับคำแนะนำตามแนวทางระหว่างประเทศ (international guidelines) แต่หลักฐานที่สนับสนุนยังมีจำกัด และอุณหภูมิเป้าหมายที่ก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดยังไม่เป็นที่ทราบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทั้งสองอุณหภูมิเป้าหมาย
วิธีการศึกษา: ในการศึกษาระหว่างประเทศเราทำการสุ่มผู้ใหญ่จำนวน 950 คน ที่มีภาวะหัวใจหยุดที่เกิดภายนอกโรงพยาบาล โดยมีอุณหภูมิเป้าหมายทั้ง 33 °C หรือ 36 °C ผลลัพท์หลักคือทุกสาเหตุของการเสียชีวิตในช่วงตลอดเวลาที่ทำการศึกษา ผลลัพธ์รองได้แก่การทำงานของระบบประสาทที่ผิดปกติหรือการเสียชีวิตที่ 180 วัน ซึ่งประเมินการทำของสมองโดยใช้ Cerebral Performance Category (CPC) scale และ  modified Rankin scale
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยจำนวน 939 คน พบว่าในช่วงท้ายของการศึกษา 50% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่อุณหภูมิ 33 °C (235 คนจาก 473 คน) เสียชีวิตในขณะที่เมื่อเทียบกับ 48% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 36 °C
 (225 คนจาก 466 คน) เสียชีวิต (hazard ratio with a temperature of 33 °C, 1.06; 95% confidence interval [CI], 0.89-1.28, P = 0.51)
ณ การติดตาม 180 วัน 54% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 33 °C พบว่ามีการเสียชีวิตหรือมีการทำงานของระบบประสาทผิดปกติโดยการใช้ CPC เทียบกับ 52% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 36 ° C (risk ratio 1.02 95% CI, 0.88-1.16, P = 0.78) ในการวิเคราะห์การใช้ modified Rankin scale เปรียบเทียบกับ 52% ในทั้งสองกลุ่ม (risk ratio 1.01, 95% CI, 0.89-1.14, P = 0.87) ผลของการวิเคราะห์การปรับปัจจัยการพยากรณ์มีความคล้ายคลึงกัน
สรุป: ผู้หมดสติที่รอดชีวิตจากการมีภาวะหัวใจหยุดทำงานจากภายนอกโรงพยาบาล (ที่สันนิษฐานว่ามีสาเหตุมาจากหัวใจ), การลดอุณหภูมิร่างกายตามเป้าหมายที่ 33 °C ไม่ได้ให้ประโยชน์เมื่อเทียบกับที่อุณหภูมิ 36 °C

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1310519?query=featured_home

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น