หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,575 ความสำคัญของ spirometry กับการวินิจฉัย COPD

Spirometry มีความจำเป็นเพื่อการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรง โดยต้องทำการตรวจเมื่ออาการคงที่ โดยไม่มีอาการกำเริบแล้ว 1 เดือน การตรวจนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้ตั้งแต่ในระยะที่ยังไม่มีอาการ โดยจะพบลักษณะของ airflow limited โดยค่า FEV1/FVC หลังให้ยาขยายหลอดลมน้อยกว่าร้อยละ 70 ซึ่งสามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกได้เป็น 4 ระดับ โดยการใช้ FEV1 ร่วมกับอาการของโรค
ส่วนค่าอื่น อาจมีประโยชน์ แต่ไม่มีความจำเป็นในการวินิจฉัย โดยพบว่าค่า RV, TLC, RV/TLC จะเพิ่มขึ้น ส่วน diffusing capacity ของ DLCO อาจลดลง
สามารถแบ่งระดับความรุนแรงดังนี้
-Mild: FEV1 ตั้งแต่ 80% ของค่ามาตรฐาน
-Moderate: FEV1 50-79% ของค่ามาตรฐาน
-Severe: FEV1 30-49% ของค่ามาตรฐาน
-Very severe: FEV1 น้อยกว่า 30% ของค่ามาตรฐาน หรือ น้อยกว่า 50%  ร่วมกับมีภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง
(โดยการแบ่งนี้จะทำร่วมกับลักษณะทางคลินิกร่วมด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากอ้างอิงที่ 1)

ในอีกหนึ่งอ้างอิงบอกถึงประโยชน์ของ spirometry ใน COPD ไว้ดังนี้
-ยืนยันการมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
-ยืนยันว่า FEV1/FVC น้อยกว่าร้อยละ 70 หลังให้ยาขยายหลอดลม
-บอกระดับความรุนแรง
-ช่วยแยกระหว่าง asthma กับ COPD
-ช่วยในการตรวจค้นหาในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง, ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่ไม่มีอาการ
-ช่วยการติดตามการดำเนินโรค
-ช่วยประเมินการตอบสนองต่อการรักษา
-ช่วยในการพยากรณ์การมีชีวิตอยู่ในระยะยาว
-ช่วยตัดแยกภาวะ COPD ออก และป้องกันการได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมถ้า spirometry ปกติ

Ref: -แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553 และ
http://www.goldcopd.org/uploads/users/files/GOLD_Spirometry_2010.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น