วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,593 คู่มือ แนวทางการดูแลผู้ที่น้ำหนักเกินและอ้วน (สำหรับอายุรแพทย์)

จากเว็บไซต์ เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้แพทย์ทราบถึงข้อบ่งชี้ในการใช้ยาในการรรักษาโรคอ้วน
เพื่อให้แพทย์ทราบถึงประสิทธิภาพและข้อจำกัดในการใช้ยาเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก
เพื่อให้แพทย์ทราบถึงลักษณะการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักประสิทธิภาพและความเสี่ยง
เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินและส่งต่อผู้ป่วยในรายที่มีข้อบ่งชี้ผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก
เพื่อให้แพทย์ทราบถึงการดูแลระยะยาวในผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก

ลิ้งค์

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,592 Ventilator-Induced lung Injury

Review Article
Critical Care Medicine
N Engl J Med   November 28, 2013

แนวคิดของการบาดเจ็บที่ปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยในปี คศ 1744, John Fothergill กล่าวถึงกรณีของผู้ป่วยที่เเสียชีวิตหลังจากที่สัมผัสกับควันถ่านหินและผู้ที่ได้รับประสบความสำเร็จในการรักษาโดยใช้การเป่าปาก (mouth-to-mouth) เพื่อการช่วยฟื้นคืนชีพ
Fothergill ให้ข้อสังเกตว่าการเป่าปากเพื่อการช่วยฟื้นคืนชีพก็ยังดีกว่าที่จะใช้การสูบลมเพราะปอดของมนุษย์อาจแบกรับได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บจากแรงที่มากที่สุดเท่าที่มนุษย์สามารถออกแรง แต่การสูบลมไม่สามารถกำหนดได้เสมอ Fothergill เข้าใจแนวคิดได้อย่างชัดเจนว่าแรงจากเครื่องจักรกลที่เกิดจากการสูบลม (เช่น เครื่องช่วยหายใจ) อาจนำไปสู่​​การบาดเจ็บของปอดได้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Pathophysiological Features
   -Pressures in the Lung
   -Physical Forces
   -Biologic Forces
Clinical Management
   -Ventilation Strategies
   -Adjunctive Strategies
   -Pharmacologic Interventions
Areas of Uncertainty and Recommendations
Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1208707

2,591 คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวช (2556)

คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวช (2556) 
Recommendations for the Pharmacotherapy of Mental Disorders (2013) 
โดยราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 


วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,590 สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ในประเทศไทย

สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย จากรายงานสถิติสาธารณสุขในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2546 - 2555 ) ของสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากร 100,000 คนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อพิจารณาแยกในรายปี พบว่าอัตราตายลดลง จาก ปี 2547 ถึงปี 2550 และเริ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551 และเมื่อพิจารณา อัตราผู้ป่วยในของโรคหลอดเลือดสมอง ก็พบว่าอัตราผู้ป่วยในมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นปี 2554 จะต่ําลงเล็กน้อยและเพิ่มขึ้นในปีถัดไป ดังนั้นโรคหลอดเลือดสมองยังคงมีความรุนแรง แม้ว่าอัตราตายการเสียชีวิตตายจึงลดลง แต่การเกิดโรคและการป่วยไม่ได้ลดลง ซึ่งผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองที่รอดชีวิตนั้น จะยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ไม่มากก็น้อยเนื่องจากเนื้อสมองถูกทําลายไป และต้องใช้ชีวิตอย่างพิการตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ ซึ่งความพิการดังกล่าวส่งผลกระทบมิใช่ต่อตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติอีกด้วย และเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียปสีขภาวะในปี 2552 (Disability adjusted life years: DALYs)  ที่สําคัญของประเทศ โดยพบว่าในประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุสําคัญของการสูญเสียอันดับ 3 ในผู้ชาย รองจากอุบัติเหตุจราจรและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอันดับ 2 ในผู้หญิง รองจากโรคเบาหวาน

Ref: ลิ้งค์

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,589 แนวทางปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงในประเทศไทย พ.ศ.2556

แนวทางปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงในประเทศไทย พ.ศ.2556 
Thai Guideline for Diagnosis and Treatment of Pulmonary Hypertension 2013 
โดย สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,588 Treatment of stable chronic obstructive pulmonary disease: the GOLD guidelines

Lee H, Kim J, Tagmazyan K 
American Family Physician
November 15 2013 Vol. 88 No. 10

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสถานบริการปฐมภูมิ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการวินิจฉัยโดยใช้ spirometry เฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกคงที่ด้วย post bronchodilator เพื่อดูอัตราส่วนของ forced expiratory volume in one second (FEV1) / forced vital capacity ratio of (FVC) น้อยกว่า 0.70
ผู้ป่วยทุกรายที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งสูบบุหรี่ควรได้รับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบได้รับการแนะนำในผู้ป่วยทั้งหมดที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรัง
The Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease ได้แบ่งผู้ป่วยที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็น 4 กลุ่มตามระดับของการจำกัดการไหลของอากาศ คะแนนของอาการ (symptom score) และจำนวนครั้งของการกำเริบในหนึ่งปี
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม B, C, และ D ผู้ที่อยู่ในกลุ่ม A จะได้รับ anticholinergic ที่ออกฤทธิ์สั้น หรือ beta2 agonist ที่ออกฤทธฺ์สั้นสำหรับอาการที่ไม่รุนแรงไม่ต่อเนื่อง
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยหนึ่งในสูตรเหล่านี้ การรักษาด้วยยาสามชนิดโดยสเตียรอยด์ชนิดสูดดม, beta2 agonist ที่ออกฤทธฺ์ยาว และ anticholinergic ควรได้รับการพิจารณายาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกัน corticosteroids ชนิดรับประทาน ไม่แนะนำให้ใช้ในการป้องกันการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การบำบัดด้วยออกซิเจนอย่างต่อเนื่องจะช่วยปรับปรุงอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรงและปอดอุดกั้นเรื้อรัง การผ่าตัดลดปริมาตรปอดสามารถปรับปรุงอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง, ปอดอุดกั้นเรื้อรังเด่นที่กลีบปอดบนกับการกระจายตัวของถุงลมโป่งพองและขาดการยืดหยุ่น (emphysema) ที่กระจายตัวแตกต่างกัน

Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/1115/p655.html

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,587 Myocardial infarction is more common among patients with atrial fibrillation

Thomas L. Schwenk, MD reviewing Soliman EZ et al. JAMA Intern Med 2013 Nov 4

ความสัมพันธ์ของ atrial fibrillation (AF) ต่อความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเป็นที่ทราบกันดี แต่การที่ AF เป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระของกล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นที่ชัดเจนน้อยกว่า ในการศึกษา prospective cohort study นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินความแตกต่างของอัตราการเสียชีวิตของโรคหลอดเลือดสมอง
โดยนักวิจัยได้จำแนกเกือบ 24,000 คน (อายุเฉลี่ย 64) ที่ไม่มีการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ โดยมี 1,600 คนเป็น AF ชนิดเรื้อรังเดิม
ในช่วงเวลาเฉลี่ย  4.5 ปีของการติดตาม อุบัติการณ์การของ MI ที่ปรับด้วยอายุ ในผู้ป่วยที่เป็น AF เป็นสองเท่าของผู้ที่ไม่มี AF (12 เทียบกับ 6 ต่อ 1000 คน-ปี)
ในการวิเคราะห์การปรับตัวแปรด้านประชากรและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ พบว่าอุบัติการณ์ของ MI ยังคงสูงเป็น 70% ในผู้ป่วย AF โดยในผู้ป่วย AF พบว่าความเสี่ยงของ MI ในผู้หญิงเป็นเกือบสองเท่าในผู้ชายและความเสี่ยงในคนผิวดำเป็นสองเท่าของคนผิวขาว

Ref: http://www.jwatch.org/na32869/2013/11/21/myocardial-infarction-more-common-among-patients-with

2,586 แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่ในประเทศไทย

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2552
สำหรับแพทย์และบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ

ผู้จัดทำ: เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ผู้สนับสนุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)




วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,585 การจำแนกประเภทของเนื้องอกของไขสันหลัง (spinal cord tumor)

พอดีคุณพ่อของผมเองมีอาการอ่อนแรงขา 2 ข้างในช่วงเวา 1 สัปดาห์ จนไม่สามารถเดินได้ ไม่มีไข้ ไม่ได้รับการบาดเจ็บ ไม่ปวดหลัง ผล MRI เป็น intradural extramedulary tumor จึงสืบค้นเรื่องนี้พบดังนี้ครับ

1.เนื้องอกนอกเยื่อบุไขสันหลัง (Extradural tumor) ที่พบบ่อยที่สุด คือ มะเร็งที่แพร่กระจายจากที่อื่น metastasis tumor (จากปอดพบได้มากที่สุด จากที่อื่นๆ : เต้านม, ไต, ต่อมไทรอยด์, ต่อมลูกหมาก)
                เนื้องอกของปลอกประสาทไขสันหลัง Neurinoma หรือ Schwannoma
                เนื้องอกของ Leptomininges (Meningioma)
2.เนื้องอกในเยื่อบุไขสันหลัง (Intradural tumor)  แบ่งย่อยอีกเป็น 2 แบบ
          2.1 เนื้องอกเกิดนอกไขสันหลัง (Extramedullary tumor) ที่พบบ่อย คือ เนื้องอกของปลอกประสาทไขสันหลัง, meningioma
          2.2 เนื้องอกเกิดในไขสันหลัง(Intramedullary tumor)ที่พบบ่อยคือ Astrocytoma,Ependymoma


A: Intradural tumor
B: Intradural extramedullary tumor
C. Extradural tumor


วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,584 แนวทางการตรวจรักษาปอดอักเสบชุมชน (community acquired pneumonia) สรุปใน 1 แผ่น

แนวทางการตรวจรักษาปอดอักเสบชุมชน (สรุปใน 1 แผ่น)  โดยน้องๆ เอ็กซ์เทิร์นจากโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มาฝึกงานที่โรงพยาบาลพิมาย 


อ้างอิง : แนวทางการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชน 
ในประเทศไทย (สําหรับผู้ใหญ่) 2544 

ลิ้งค์ https://drive.google.com/file/d/0B-bd7nN27aZOMlVfSjhiMWFya2M/edit?usp=sharing
ถ้ามีปัญหาลิ้งค์ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,583 Bilirubin-induced neurologic damage - mechanisms and management approaches

Review article
Medical progress
N Engl J Med  November 21, 2013

ภาวะตัวเหลืองที่เกิดจาก unconjugated hyperbilirubinemia สามารถเกิดได้ถึงประมาณ 85% ของทารกแรกเกิด แม้ว่าสภาพนี้โดยทั่วไปไม่รุนแรงและเกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งระดับ unconjugated bilirubin สามารถก่อให้เกิดอันตรายโดยตรงคือเกิดการบาดเจ็บของสมองที่รุนแรงในทารกแรกเกิดในสัดส่วนที่ไม่มาก
Bilirubin encephalopathy ชนิดเฉียบพลันอาจเกิดตามมาและพัฒนาไปสู่​​ kernicterus (chronic bilirubin encephalopathy), เป็นสภาพการทำงานทางระบบประสาทที่ผิดปกติอย่างถาวร ลักษณะที่พบได้บ่อยคือ of dystonia จาก extrapyramidal movement disorders, choreoathetosis หรือทั้งสองอย่าง
การสูญเสียการได้ยินเนื่องจากความผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับ auditory neuropathy และ oculomotor pareses
ผลของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ที่เกิดตามมาสะท้อนให้เห็นถึงการเกิด bilirubin-induced neuropathology ในแต่ละตำแหน่งของสมอง ซึ่งจะเกิดกับ globus pallidus, subthalamic nucleus, brain-stem nuclei, hippocampal CA2 neurons, และ cerebellar Purkinje's cells
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Kernicterus as a Worldwide Problem
-Which Bilirubin Is Neurotoxic?
-The Bilirubin:Albumin Ratio
-Pathobiologic Features of Bilirubin-Induced CNS Injury
-Animal Models of Bilirubin Encephalopathy
-Prevention and Treatment of Severe Hyperbilirubinemia
-Conclusions
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1308124

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,581 มาตรฐานการดําเนินงาน สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

มาตรฐานการดําเนินงาน สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ฉบับปรับปรุง ฉบับวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 
โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป  กรมควบคุมโรค 

เนื้อหาประกอบด้วย
ตอนที่ 1 มาตรฐานการบริหารจัดการลูกโซ่ความเย็น
ตอนท 2 มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน
ตอนท 3 มาตรฐานการบันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
เครื่องมือที่ใช้ ในการประเมิน

ลิ้งค์

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,580 แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยวิธีล้างไตทางช่องท้อง

วันนี้พบผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องและติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง จึงสืบค้นแนวทาง แต่ก็ต้องขออภัยที่ไม่พบที่มาของแนวทางนี้ เพราะในแนวทางน้้ไม่ได้เขียนที่มาไว้ ถ้าใครเป็นเจ้าของหรือทราบว่าเป็นของผู้ใด หน่วยงานใด รบกวนช่วยบอกด้วย เพื่อเป็นการให้ให้เครดิตและให้เกียรติกับเจ้าของครับ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
1. คำจำกัดความ
2. แนวทางการวินิจฉัย 
3. แนวทางการรักษา
4. ข้อบงชี้ในการถอดสายล้างช่องท้องออก 
5. การป้องกัน

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,579 ข้อบ่งชี้ของการเริ่มต้นทำไดอะไลซิสในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยสมาคมโรคไตแหงประเทศไทย

1. อัตราการกรองของไตโดยประมาณ (Estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 มล./นาท/1.73 ตารางเมตรและไม่พบเหตุที่ทำให้ ไตเสื่อมชั่วคราว โดยอาจมีหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรังก็ได้ หรือ
2. เมื่อผู้ป่วยมีระดับ eGFR มากกว่าหรือเท่ากับ 6 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร ร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรังซึ่ง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบประคับประคอง อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
   -ภาวะน้ำและเกลือเกินในร่างกาย จนเกิดภาวะหัวใจวายหรือความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้
   -ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เลือดเป็นกรด หรือฟอสเฟสในเลือดสูง
   -ความรู้สึกตัวลดลง หรืออาการชักกระตุกจากภาวะยูรีเมีย
   -เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากภาวะยูรีเมีย
   -คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร น้ำหนักลดหรือมภาวะทุพโภชนาการ

ซึ่งสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยได้กาหนด คำแนะนาในการรายงานผลค่า eGFR 
ดังนี้
   1)  ใช้การคำนวณ eGFR โดยใช้สมการ The Chronic Kidney Disease Epidemiology Collaboration (CKD-EPI) equation ในผู้ใหญ่และ Schwartz Equation สำหรับเด็ก (น้อยกว่า 18 ปี)
   2)  ใช้วิธีการวัดค่าครเอตินินในเลือดโดยวิธ๊ Enzymatic และให้ใช้ค่าระดับครีเอตินิน โดยใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง เพื่อความแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น

Ref: คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบประมาณ 2557 เล่ม 3 การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง


วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,578 คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล่ม 1-4 ปีงบประมาณ 2557

นอกจากข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการบริหารงบบริการแล้วยังมีความรู้ที่เกี่ยวกับโรคและการติดตามผู้ป่วยร่วมด้วย ซึ่งมีทั้งหมด 4 เล่ม ดังนี้
เล่ม 1 การบริหารงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว
เล่ม 2 การบริหารงบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ และการบริหารงบผู้ป่วยวัณโรค
เล่ม 3 การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
เล่ม 4 การบริหารงบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)


โดยสามารถได้ที่ website ห้องสมุดสปสช. http://library.nhso.go.th/

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,577 นิยามของคำว่า cardiovascular diseases (CVD)

เป็นกลุ่มของโรคหัวใจและหลอดเลือดอันประกอบไปด้วย
1. โรคของหลอดเลือดหัวใจ (หลอดเลือดแดงโคโรนารี่)
2. โรคของหลอดเลือดสมอง
3. โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย
4. โรคหัวใจรูห์มาติค
5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
6. ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกและหลอดเลือดแดงปอด
แต่ในความคิดเห็นของผมเองถ้าคำนี้นำมาใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังในผู้ใหญ่ อาจจะเน้นไปในข้อ 1-3 ข้อแรกเป็นหลัก

Ref: http://www.euro.who.int/en/health-topics/noncommunicable-diseases/cardiovascular-diseases/cardiovascular-diseases2/definition-of-cardiovascular-diseases

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,576 Adult Attention Deficit–Hyperactivity Disorder

Clinical practice 
N Engl J Med November 14, 2013

ลักษณะของสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ (adult attention deficit–hyperactivity disorder, ADHD) จะแตกต่างจากในเด็ก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการลดลงอย่างมากของอาการอยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) มากกว่าอาการสมาธิสั้น (inattention) รวมทั้งความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมาธิสั้นในผู้ใหญ่จะมีการแสดงที่แตกต่างจากในเด็ก
โดยในการเปลี่ยนแปลงจากเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ อาการไม่อยู่นิ่งที่ลดลงจะแสดงออกโดยเป็นการไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้ (restlessness) ในขณะที่การคงอยู่ของอาการสมาธิสั้นจะแสดงให้เห็นโดยความยากลำบากในการปฏิบัติงาน (เช่น การรักษาเวลานัดหมาย กำหนดเวลาการประชุม หรือการมุ่งเน้นไปที่งานใดงานหนึ่ง) และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานที่มีความสำคัญในแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิต
ผลของสมาธิสั้นในผู้ใหญ่รวมถึงความยากลำบากในการทำงานและการเงิน (เช่นการเปลี่ยนแปลงงานบ่อย การว่างงาน และสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า) ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (เช่นความไม่ปรองดองทางสังคมและปัญหาการสมรส) และการมีโรคทางจิตเวชร่วมด้วย (เช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล) นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นของการใช้สารเสพติดรวมทั้งการสูบบุหรี่
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Strategies and Evidence
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Key Clinical Points
Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1212625

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,575 ความสำคัญของ spirometry กับการวินิจฉัย COPD

Spirometry มีความจำเป็นเพื่อการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรง โดยต้องทำการตรวจเมื่ออาการคงที่ โดยไม่มีอาการกำเริบแล้ว 1 เดือน การตรวจนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้ตั้งแต่ในระยะที่ยังไม่มีอาการ โดยจะพบลักษณะของ airflow limited โดยค่า FEV1/FVC หลังให้ยาขยายหลอดลมน้อยกว่าร้อยละ 70 ซึ่งสามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกได้เป็น 4 ระดับ โดยการใช้ FEV1 ร่วมกับอาการของโรค
ส่วนค่าอื่น อาจมีประโยชน์ แต่ไม่มีความจำเป็นในการวินิจฉัย โดยพบว่าค่า RV, TLC, RV/TLC จะเพิ่มขึ้น ส่วน diffusing capacity ของ DLCO อาจลดลง
สามารถแบ่งระดับความรุนแรงดังนี้
-Mild: FEV1 ตั้งแต่ 80% ของค่ามาตรฐาน
-Moderate: FEV1 50-79% ของค่ามาตรฐาน
-Severe: FEV1 30-49% ของค่ามาตรฐาน
-Very severe: FEV1 น้อยกว่า 30% ของค่ามาตรฐาน หรือ น้อยกว่า 50%  ร่วมกับมีภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง
(โดยการแบ่งนี้จะทำร่วมกับลักษณะทางคลินิกร่วมด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากอ้างอิงที่ 1)

ในอีกหนึ่งอ้างอิงบอกถึงประโยชน์ของ spirometry ใน COPD ไว้ดังนี้
-ยืนยันการมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
-ยืนยันว่า FEV1/FVC น้อยกว่าร้อยละ 70 หลังให้ยาขยายหลอดลม
-บอกระดับความรุนแรง
-ช่วยแยกระหว่าง asthma กับ COPD
-ช่วยในการตรวจค้นหาในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง, ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่ไม่มีอาการ
-ช่วยการติดตามการดำเนินโรค
-ช่วยประเมินการตอบสนองต่อการรักษา
-ช่วยในการพยากรณ์การมีชีวิตอยู่ในระยะยาว
-ช่วยตัดแยกภาวะ COPD ออก และป้องกันการได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมถ้า spirometry ปกติ

Ref: -แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553 และ
http://www.goldcopd.org/uploads/users/files/GOLD_Spirometry_2010.pdf

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,574 ระบาดวิทยาของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทย

ยังไม่มีการสำรวจระดับชาติ แต่จากการคำนวณโดยใช้แบบจำลองอาศัยขอมูลความชุกของการสูบบุหรี่ และมลภาวะในสภาพแวดลอมในบ้านและในที่สาธารณะ ประมาณว่าร้อยละ 5 ของประชากรไทย อายุเกิน 30 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แต่ในการสำรวจจรงิในพื้นที่โดยศึกษาในเขตธนบุรี ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พบความชุกและอุบัติการณ์ร้อยละ 7.1 และ 3.6 ตามลำดบ2 ส่วนการสำรวจผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปในชุมชนเมืองและชุมชนรอบนอกนครเชียงใหม่พบความชุกร้อยละ 3.7 และ 7.1 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยที่สำรวจพบในชุมชนส่วนใหญ่เป็น ผู้ป่วยระยะแรก ส่วนผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยระยะรุนแรง

Ref: แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553



2,573 คู่มือมาตรฐานรหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนังานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข


วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,572 ความรู้เรื่องโรคลีเจียนแนร์, โรคปอดอักเสบลีเจียนแนร์ (Legionnaire disease, Legionnaire pneumonia)

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ลักษณะโรค
-เชื้อก่อโรค
-การก่อโรค
-แหล่งรังโรค
-วิธีการแพร่โรค
-ระยะฟักตัวของโรค
-ระยะติดต่อของโรค
-ความไวและความต้านทานต่อการรักบเชื้อ
-วิธีการควบคุมโรค
-สถานการณ์โรคในประเทศไทย
-ระบาดวิทยาของโรคในประเทศไทย
-การเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัย

ลิ้งค์ http://beid.ddc.moph.go.th/media/factsheet_detail.php?download=BEID_Media_4636.pdf

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,571 การวัดความรุนแรงของลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ (mitral stenosis) โดยใช้ continuous wave doppler

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถในการวัดระดับความรุนแรงของลิ้นหัวใจไมทรัลตีบคือการใช้ continuous wave doppler ซึ่งเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงความดันระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย (pressure gradient between LV and LA) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ pre-load (volume status) และ filling time (heart rate)
เป็นการวัด transmitral gradient โดยการใช้ apical view approach และใช้ continuous wave doppler โดยวัดในแนวขนานไปกับ mitral flow แล้ววัด mean mitral gradient ซึ่งมีอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว
แต่ถ้าผู้ป่วยเป็น atrial fibrillation ให้ทำการวัดอย่างน้อย 5 cardiac cycle แล้วนำมาเฉลี่ย เนื่องจากจะมีความแตกต่างของระยะเวลาในช่วง diastolic เช่น LV filling time
โดยแบ่งระดับความรุนแรงได้ดังนี้ 
ระดับเล็กน้อย  น้อยกว่า  5 มม. ปรอท
ระดับปานกลาง  5-10 มม. ปรอท
ระดับรุนแรง มากกว่า 10 มม. ปรอท



Ref: http://www.stanford.edu/group/ccm_echocardio/cgi-bin/mediawiki/index.php/Mitral_stenosis_assessment

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,570 Myocardial infarction: Management of the subacute period

American Family Physician 
November 1 2013 Vol. 88 No. 9

การดูแลที่เหมาะสมของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในช่วงกึ่งเฉียบพลัน (subacute period) มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย, การให้การรักษาในช่วงต้นเพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตายกำเริบและหลีกเลี่ยงการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล
จากแนวทางหลักฐานที่ใช้สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันพบว่าไม่ได้มีการทำตามถึง 25%  การรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด (antiplatelet), ยายับยั้ง renin-angiotensin-aldosterone, beta blockers และยากลุ่ม statin ถือว่าเป็นการรักษาพื้นฐาน
การทดสอบแบบไม่รุกล้ำเป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการสวนหลอดเลือด การให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรรวมถึงการตรวจสอบยาที่ให้ ส่งทีมงานเพื่อการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ แนะนำกิจกรรม ให้การศึกษาเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตแลการรับรู้อาการของหัวใจ และการวางแผนการติดตามที่ชัดเจน เพราะการไม่สามารถที่จะใช้ยาหรือกายอมรับยา (nonadherence) ได้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหลังจากที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายและมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอัตราการเสียชีวิต ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การปรับเปลี่ยนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และไม่ให้หยุดยาเองควรได้รับการแนะนำก่อนกลับ
กระบวนการและโครงสร้างในการจำหน่ายผู้ป่วยควรจะใช้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและการอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลไปอยู่ในการดูแลของแพทย์ประจำครอบครัว

Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/1101/p581.html

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,569 Screening by Ankle–Brachial Index for Peripheral Artery or Cardiovascular Disease

Jamaluddin Moloo, MD, MPH reviewing Moyer VA et al. Ann Intern Med 2013 Sep 3. Lin JS et al. Ann Intern Med 2013 Sep 3

Ankle–Brachial Index (ABI) คำนวณโดยการหารความดันโลหิตตัวบนที่ข้อเท้าด้วยความดันโลหิตตัวบนของแขน โดยค่าที่น้อยกว่า 0.9 จะถือว่าผิดปกติ
Key Points
-บนพื้นฐานของข้อมูลหลักฐานในผู้ใหญ่ที่มีอาการ, ABI เป็นการคัดกรองที่เชื่อถือได้สำหรับโรคหลอเลือดส่วนปลาย (peripheral artery disease) แต่ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพท์-ประโยชน์ที่ได้ในทางคลินิกจากการตรวจคัดกรองและการรักษาของโรคของหลอดเลือดส่วนปลายในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ
-ถึงแม้การใช้ ABI ร่วมกับการใช้  Framingham risk score จะสามารถจัดประเภทของผู้ป่วยบางราย แต่ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบว่าการรักษาตั้งแต่ระยะแรกที่ตรวจคัดกรองตรวจพบ PAD จะนำไปสู่​​ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
-ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะประเมินระหว่างประโยชน์และผลเสียของการตรวจคัดกรองโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย กับ ABI ในผู้ใหญ่ที่มีอาการโดยไม่มีโรคหัวใจ-หลอดเลือดหรือโรคเบาหวาน

Ref: http://www.jwatch.org/na32228/2013/10/24/screening-ankle-brachial-index-peripheral-artery-or

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,568 A curious case of chest pain: giant-cell myocarditis

Clinical problem-solving
N Engl J Med 2013  November 7, 2013

เป็นกรณีชาย 67 ปี มาที่แผนกฉุกเฉินด้วยอาการเจ็บหน้าอก โดย 10 วันก่อนเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนไม่มีเลือดปน ท้องอืด และปวดใต้ลิ้นปี่ ต่อมามีอาการเจ็บหน้าอกมากขึ้นขณะออกแรงและขณะพักร่วมกับการมีเหงื่อออกและหอบเหนื่อย ตำแหน่งที่ปวดอยู่ใต้กระดูกสันอกไม่ร้าวไปที่ใด อาการปวดไม่เปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนท่าหรือการรับประทานอาหาร ระดับความปวด 8/10
ผลการตรวจร่างกาย ไม่มีไข้ ชีพจร 125 /นาที สม่ำเสมอ การหายใจ 22 /นาที ความเข้มข้นของ (oxygen saturation) ออกซิเจน 94% ขณะที่หายใจด้วยออกซิเจน nasal cannula 6 ลิตร, BMI 30 ผู้ป่วยไม่สุขสบาย ซีด มีเหงื่อออก ใช้กล้ามเนื้อช่วยหายใจ, JVP 18 ซม. หัวใจเต้นเร็ว สม่ำเสมอ มี holosystolic apical murmur ระดับ 2, ปอดมีเสียง rale ที่ปอดด้านซ้ายล่าง ท้องกดไม่เจ็บ ไม่มี abdominojugular reflux คลำขอบตับได้ 4 ซม. ต่ำกว่าชายโครงกดไม่เจ็บ แขนและขาเย็น ไม่บวม ชีพจรส่วนปลายเบาลง ไม่มีผื่น ผลการตัดชิ้นเนื้อของ endomyocardial พบว่าเป็น giant-cell myocarditis ซึ่งเป็นโรค nonischemic cardiomyopathy ที่พบได้น้อยมาก ถ้าใครสนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcps1301819

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,567 Heart failure and cancer risk are related

Heart failure and cancer risk are related
November 5, 2013

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure, HF) ที่มีความเสี่ยงมากสำหรับการเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกิดหัวใจและที่ไม่ใช่จากหัวใจที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองในการศึกษานี้เป็น case-control จากฐานข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ในมินนิโซตา โดยนักวิจัยพยายามที่จะประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหัวใจล้มเหลวกับมะเร็ง
ผู้ป่วยจำนวน 961คนที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวรายใหม่ และกลุ่มควบคุมที่มีอายุและเพศเหมือนกันจำนวนเท่ากัน ในช่วงการติดเป็นเวลา 7.7 ปี พบว่ามีความเสี่ยงสำหรับเหตุการณ์การเกิดโรคมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว  (hazard ratio เท่ากับ 1.68) หลังจากการปรับ
สำหรับการสูบบุหรี่ ดัชนีมวลกาย และโรคประจำตัวอื่น ๆ พบว่าโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต (โดยมี HR = 1.56) โดยไม่ได้พบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง
ส่วนในความเห็นส่วนของผมคิดว่านี่เป็นการศึกษาเพียงบางส่วนของภูมิภาค ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างของอัตราการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและมะเร็งที่แตกต่างไปจากภูมิภาคอื่นๆ คงต้องมีการศึกษาที่กว้่งและครอบคลุมมากขึ้นจึงจะสามารถให้ข้อมูลเพื่อการสรุปได้มากกว่านี้ครับ

Ref: http://www.jwatch.org/na32727/2013/11/05/heart-failure-and-cancer-risk-are-related
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0735109713025229

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2.566 แนวทางการวินิจฉัย ดูแล รักษาผู้ป่วยสงสัยโรค MERS-CoV (Middle East Respiratory Syndrome) และการควบคุมป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

โดย คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ข้อมูลทั่วไปของไวรัสโคโรน่า
-ปัจจัยเสี่ยงที่พบ
-ระยะฟักตัว
-อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยโรค MERS-CoV
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-การรักษา
   1) การรักษาเฉพาะ
   2) การรักษาตามอาการ
-Infection Control ในสถานพยาบาล
-การตั้งจุดคัดกรอง
-คำนิยามผู้ป่วย
-ผู้ป่วยเข้าข่าย (Probable case)
-ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case)
-ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค (Case under investigation)
-ผู้ป่วยคัดออก (Excluded)
-แนวทางการส่งต่อผู้ป่วย
-การติดต่อสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วย (Communication arrangement)

ลิ้งค์ http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/CPG_MERS-CoV.pdf

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,565 การสูบบุหรี่สามารถทำให้อายุขัยของมนุษย์สั้นลงมากถึง 10 ปี

นักวิทยาศาสตร์วออสเตรเลีย พบพบว่าบุหรี่สามารถทำให้อายุขัยของมนุษย์สั้นลงมากถึง 10 ปี ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่แม้แต่ไม่ต้องสูบหนัก ก็สามารถก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงและสัมพันธ์กับการมีอายุสั้นมากยิ่งกว่าที่เคยเชื่อกันมาก่อน การศึกษาซึ่งทำด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เป็นเวลานานถึง 4 ปี ได้พบว่า คอบุหรี่ที่เสียชีวิตลงในปัจจุบันมากถึง 2 ใน 3 ล้วนเนื่องมาแต่บุหรี่โดยตรง สูงกว่าการคาดหมายเดิม ที่ประมาณว่ามีเพียงแค่ร้อยละ 50 เท่านั้น นักวิจัยได้ศึกษาจากสถิติด้านสุขภาพ ของผู้คนที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 200,000 คน พบว่าอาจจะทำให้อายุขัยสั้นลงไม่ต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งศาสตราจารย์เอมิลี แบงค์ หัวหน้าคณะศึกษากล่าวว่า “เราต่างก็รู้ว่าบุหรี่ทำลายสุขภาพ เราเพิ่งมาได้หลักฐานยืนยันโดยตรงจากออสเตรเลียว่า มันน่าหวาดหวั่นแค่ไหน ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่นั้นเหมือนกับคบหาอยู่กับความตายใกล้ชิด ซึ่งถ้าไปเทียบกับผู้ที่ไม่ได้สูบมาก่อน จะมากกว่ากันอยู่ ถึง 3 เท่า”

Ref: http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/37295

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,564 แนวโน้มความชุกของภาวะอ้วนที่มี BMI ตั้งแต่ 25 กก./ม.2 ของประเทศไทย

แนวโน้มความชุกของภาวะอ้วน  ตามผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 1- 4 ใช้เกณฑ์ BMI ตั้งแต่ 25 กก./ม.2 และ BMI ตั้งแต่ 30 กก./ม.2 ตามลำดับ ความชุกของภาวะอ้วนที่ BMI ตั้งแต่ 25 กก./ม.2 ในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป เพิ่มจากร้อยละ 18.2 ในปี พ.ศ. 2534 เป็นร้อยละ 24.1 ในปี 2540 และเพิ่มเป็นร้อยละ 28.1 และร้อยละ 36.5 ในปี พ.ศ. 2547 และ 2552 ตามลำดับ สำหรับความชุกของภาวะอ้วนที่ BMI ตั้งแต่ 30 กก./ม.2 เพิ่มจากร้อยละ 3.5 ในปี พ.ศ. 2534 เป็นร้อยละ 5.8, ร้อยละ 6.9 และร้อยละ 9.0 ตามลำดับ ในช่วงปีดังกล่าว โดยความชุกของโรคอ้วนในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย นอกจากนี้ความชุกเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นจนมีความชุกสูงสุดในกลุ่ม อายุ 45-54 ปี
   
Ref: ลิ้งค์

2,563 ข้อบ่งชี้ในการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองก่อนการเจาะหลัง

-มีลักษณะทางคลินิกของภาวะความดันในกระโหลกศรีษะสูง (เช่น papilloedema, bradycardia ที่เกิดขึ้นร่วมกับการมีความดันโลหิตสูง)
-ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ (GCS น้อยกว่า 14)
-มีภาวะระบบภูมิคุ้มกีนบกพร่อง (immunosuppression)
-พบมี focal neurological deficit
-ชักที่เกิดขึ้นใหม่
-สงสัยการมีเลือดออกใน subarachnoid

ถ้านอกเหนือจากนี้ให้พิจารณาจากลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้จากอ้างอิงด้านล่างและถ้าจำเป็นต้อง LP ในกรณีที่ไม่สามารถทำ CT ได้ หรือแม้แต่ทำ CT แล้วไม่มั่นใจว่าจะมีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ ควรใช้เข็มขนาดเล็กชนิด non traumatic (ปลายดินสอ) และนำน้ำไขสันหลังออกน้อยที่สุด ที่สุดเท่าที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจ และภายหลัง LP ต้องติดตามภาวะสมองปลิ้น (brain herniation) อย่างใกล้ช่ิด

Ref:
-http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2563700/
-จำเป็นต้อง CT scan สมองก่อนการตรวจ lumbar puncture หรือไม่ รศ. นพ. สมศักดิ์ เที่ยมเก่า วารศารประสาทวิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,562 การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกับหัตถการในช่องปาก

บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยซึ่งใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกับหัตถการในช่องปากจะต้องทำหัตถการในช่องปาก บทความนี้จะช่วยในการตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยครับ

ในบทสรุปของเนื้อหากล่าวไว้ดังนี้ 
จากข้อมูลหลักฐาน สนับสนุนให้ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างต่อเนื่อง โดยควบคุมให้ INR ตั้งแต่ 3.5 ลงไป โดยไม่ต้องหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยมีการวางแผนและเตรียมการห้ามเลือดเฉพาะที่ ความเสี่ยงของการมีเลือดออกจนอันตรายถึงชีวิตพบได้น้อยมากในขณะที่การหยุดยาอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และเกิดอันตรายกับผู้ป่วย ผู้ที่มี INR มากกว่า 3.5 ควรควบคุมให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมก่อน ส่วนถ้ามี INR มากกว่า 4 ไม่ควรทำหัตถการ

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
-ความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันเมื่อมีการหยุดหรือปรับเปลี่ยนปริมาณยา
-ความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดไหลหยุดยากเมื่อใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างต่อเนื่อง
-การจัดการทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
-บทสรุป
-เอกสารอ้างอิง

Ref : การรักษาทางศัลยกรรมช่องปากสำหรับผู้ป่วยป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
http://home.kku.ac.th/kdj/images/KDJ_pdf02/vol11/vol11no2_5.pdf

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,561 การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการขาดสุราแบบผู้ป่วยนอก

Outpatient management of alcohol withdrawal syndrome

อาการขาดสุรามักจะเริ่มในช่วง 6-24 ชม. หลังการดื่มครั้งสุดท้าย ผู้ป่วยที่มีอาการขาดสุราซึ่งมีอาการไม่มากหรือปานกลางสามารถให้การรักษาแบบรักษาผู้ป่วยนอก ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและช่วยให้ไม่ต้องหยุดงานและการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากภาวะแทรกซ้อนควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล นอกเหนือไปจากการรักษาแบบประคับประคอง (supportive therapy), การใช้ยา benzodiazepines ทั้งแบบ fixed-dose หรือ symptom-triggered schedule เป็นสิ่งที่แนะนำ ควรให้ยาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนอาการดีขึ้น การให้ยานอกจากจะช่วยลดอาการขาดสุราแล้วแล้วยังสามารถช่วยป้องกันการชักได้อีกด้วย
แม้ว่าประสิทธิภาพในการรักษาเป็นก้าวแรกของของการหายของภาวะการขาดสุรา แต่ความสำเร็จในระยะยาวยังต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษาอย่างต่อเนื่อง

Ref: American Family Physician   November 1 2013 Vol. 88 No. 9
http://www.aafp.org/afp/2013/1101/p589.html