บางครั้งพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกและมีภาวะความความดันโลหิตสูงอาจจะสงสัยว่าจะให้การรักษาอย่างไร จากการสืบค้นในทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองแตก สำหรับแพทย์ พบดังนี้
-หลีกเลี่ยงภาวะ hypotension
-ควบคุม mean arterial pressure (MAP) ให้น้อยกว่า 110 mmHg หรือ BP 160/90 ในกรณีไม่มีภาวะความดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูง
- ถ้า systolic BP มากกว่า 200 mmHg หรือ MAP มากกว่า 150 mmHg ให้
+Nitroprusside 025-10 µg/kg/min ทางหลอดเลือดดำ ไม่ควรให้ติดต่อกันเกิน 3 วัน หรือ
+Nitroglycerine 5 mg ทางหลอดเลือดดำ ตามด้วย 1-4 mg/hr
หากไม่มียาดังกล่าวข้างต้น อาจพิจารณาใช้ยาด้านล่างนี้แทนได้
-ถ้า systolic BP = 180-200 mmHg หรือ DBP = 105-140 mmHg หรือ MAP มากกว่า 130 mmHg ให้
+Captopril 6.25-12.5 mg ทางปาก ออกฤทธิ์ภายใน 15-30 นาที อยู่ได้นาน 4-6 ช.ม. หรือ
+Small patch of nitroglycerine ปิดหน้าอก หรือ
+Hydralazine 5-10 mg ทางหลอดเลือดดำ ออกฤทธิ์ ภายใน 1-2 นาที อยู่ได้นาน 1-2 ช.ม. หรือ
+Nicardepine ผสมยาให้มีความเข้มข้น 0.1-0.2 mg/ml แล้วให้ทางหลอดเลือดดำช้า ๆ 5 mg/hr.
ไม่ควรใช้ nifedipine อมใต้ิ้ลิ้นหรือทางปาก เนื่องจากไม่สามารถทำนายผลของยาได้ แน่นอนแลไม่สามารถปรับลดยาได้หากเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำมาก
-ถ้า systolic BP = 180-200 mmHg หรือ MAP มากกว่า 130 mmHg และมีภาวะความดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูงให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของความดันในโพรงกะโหลกศรีษะอย่างใก้ลชิด ลดความดันโลหิตด้วยความระมัดระวังโดยให้ cerebral perfusion pressure ตั้งแต่ 60 mmHg
Ref: ทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองแตก สำหรับแพทย์
โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556
2,552 การดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกในระยะเฉียบพลัน
ป้ายกำกับ:
Critical care,
Neurology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น