หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

2,544 กลไกของยาต้านเกล็ดเลือด

สามารถแบ่งชนิดของของยาต้านเกล็ดเลือดตามกลไกการออกฤทธิ์ของยาได้ดังนี้
-COX-1 inhibitors ได้แก่ยา aspirin โดยการยับยั้งการเกิด acetylation ของเอนไซม์ cyclooxygenase 1 และ 2 (COX-1 และ COX-2) โดยเอนไซม์ COX จะทำหน้าที่เปลี่ยน arachidonic acid เป็นสาร ecosanoids ซึ่งได้แก่ leukotrienes, prostaglandins, thromboxane A2 (TXA2) และ prostacyclin (PGI2) ดังนั้นด้วยฤทธิ์ดังกล่าวของ aspirin ทำให้ไม่มีการสร้าง TXA2 ส่งผลให้การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (aggregation)ถูกยับยั้ง
โดย aspirin จะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ COX ตลอดอายุของเกล็ดเลือด
-Adenosine diphosphate (ADP) antagonists คือยากลุ่ม thienopyridines ได้แก่ยา ticlopidine, clopidogrel, prasuqrel โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดโดยป้องกันไม่ให้ adenosine diphosphate ไปจับกับ receptor บนเกล็ดเลือด (ADP antogonist)
-Phosphodiestherase inhibitors ได้แก่ยา dipyridamole โดยยับยั้ง adenosine uptake และ cyclic GMP phosphodiesterase activity ทำให้ลดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
-GPIIb/IIIa antagonists ได้แก่ยา tirofiban, eptifibatide, abciximab ซึ่ง platelet membrane GPIIb-IIa receptors เป็นส่วนประกอบสุดท้ายของเส้นทางในการเกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด on pathway of platelet aggregation, โดยยาจะป้องกัน cross-linking ของเกล็ดเลือด

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://pharmacologycorner.com/antiplatelet-agents/
http://www.pharmacafe.com/board/viewtopic.php?f=18&t=35893
http://pharmacologycorner.com/antiplatelet-agents/

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/QA_full.php?id=2174

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น