เป็นการศึกษาภายนอกร่างกายที่ใช้กันมากที่สุดเพื่อตรวจหายาที่มีความไวในตอบสนองต่อการรักษาเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคและตรวจหายาที่ดื้อต่อการรักษา เพื่อช่วยเป็นแนวทางหรือข้อมูลในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะให้เหมาะกับผู้ป่วย และมีข้อควรพิจารณาคือบางครั้งผลของความไวต่อยาที่ได้จากการทดสอบอาจจะไม่สอดคล้องกับผลลัพธ์ทางคลินิก
-Susceptible, sensitive (S) ยาที่ให้ในขนาดหรือความเช้มข้นปกติหรือขนาดที่แนะนำแล้วมีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อได้
-Intermediate (I) ยาน่าจะใช้ในการรักษาการติดเชื้อได้ถ้าใช้ยาขนาดสูงหรือใช้รักษาการติดเชื้อที่อวัยวะที่ยามีความเข้มข้นสูง ยามีแนวโน้มจะมีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อต่ำกว่าการใช้ยากรณีที่ผลการทดสอบเป็น susceptible
-Resistant (R) ยาทีไม่น่าจะใช้ได้ผลในการรักษา ยามีผลการศึกษาทางคลินิกบ่งบอกว่าเกิดการรักษาล้มเหลวเมื่อมีการใช้ยาดังกล่าว
Ref: -Appropriate antimicrobial therapy ผศ.สุทธิพร ภัทรชยากุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-http://www.uphs.upenn.edu/bugdrug/antibiotic_manual/amt.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น