มีการศึกษาซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงของการเกิดโรคหลอดเลือด-หัวใจ เสียชีวิตก่อนวัยอันควรและมีอัตราการเพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็ก (microvascular) ในโรคเบาหวาน
การสูบบุหรี่อาจมีบทบาทในการก่อให้เกิดของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การศึกษาชิ้นหนึ่งในผู้สูบบุหรี่ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ พบว่าการเลิกสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการดีขึ้นของเมตาโบลิซึมพารามิเตอร์และการมีความดันโลหิตและโปรตีนในปัสสาวะที่ลดลง ณ 1 ปี
การประเมินเรื่องการสูบบุหรี่เป็นประจำเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นวิธีการป้องกันการบุหรี่หรือเพื่อเป็นการให้กำลังใจในการเลิกสูบบุหรี่ การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มขนาดใหญ่หลายๆ การศึกษา ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการให้คำปรึกษาแบบสั้น ๆ (brief counseling) ในการเลิกสูบบุหรี่ รวมถึงการใช้ฮอตไลน์เลิกบุหรี่ (quitlines) ในการลดการสูบบุหรี่ นอกจากนั้นในแนวทางการประเมินความเสี่ยงและการให้ยาแอสไพริน การสูบบุหรี่ก็ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือด-หัวใจที่ต้องพิจารณาให้การป้องกันด้วยยาแอสไพริน
Ref: http://care.diabetesjournals.org/content/36/Supplement_1/S11.full
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น