Original article
N Engl J Med October 10, 2013
ที่มา: Cardiac-resynchronization therapy (CRT) ลดความพิการและการเสียชีวิตในภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากความผิดปกติของการบีบตัวหัวใจ (chronic systolic heart failure) ที่มี QRS complex กว้าง กลไกของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่สัมพันธ์กัน (dyssynchrony) ยังอาจจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มี QRS complex แคบด้วย ซึ่งได้รับการแนะนำถึงประโยชน์ที่อาจจะเกิดได้จาก CRT
วิธีการศึกษา: โดยได้ทดลองแบบสุ่มตัวอย่างจาก 115 ศูนย์เพื่อประเมินผลของ CRT ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งมี New York Heart Association class III หรือ IV ที่มี left ventricular ejection fraction ตั้งแต่ 35% ลงมา มีช่วง QRS น้อยกว่า 130 มิลลิวินาที, และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจพบหลักฐานของ left ventricular dyssynchrony ผู้ป่วยทุกรายได้รับการฝังอุปกรณ์และถูกสุ่มให้มีการเปิดและไม่เปิดใช้ CRT ผลลัพธ์หลักประกอบด้วยการเสียชีวิตจากสาเหตุใดๆ หรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในครั้งแรกสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลวที่แย่มากขึ้น
ผลการศึกษา: การศึกษาหยุดลงเมื่อ 13 มีนาคม 2013 เนื่่องการไม่ได้ผลโดยเป็นไปตามคำแนะนำจากข้อมูลและการติดตามตรวจสอบความปลอดภัยของคณะกรรมการ, ณ ช่วงที่หยุดการศึกษาผู้ป่วย 809 คนที่ได้รับการสุ่มได้รับการติดตามเป็นเวลาเฉลี่ย 19.4 เดือน ผลลัพธ์หลักเกิดขึ้นในผู้ป่วย 116 จาก 404 คน ผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้ CRT เทียบกับ 102 จาก 405 คนในกลุ่มควบคุม (28.7% vs 25.2%; ค่า hazard ratio, 1.20; ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI], 0.92-1.57, P = 0.15) มีผู้เสียชีวิต 45 คนในกลุ่ม CRT และ 26 ในกลุ่มควบคุม (ค่า hazard ratio, 1.81; 95% CI, 1.11-2.93; 11.1% เทียบกับ 6.4% P = 0.02)
สรุป: ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากความผิดปกติของการบีบตัวหัวใจที่มีระยะเวลาของช่วง QRS น้อยกว่า 130 มิลลิวินาที, CRT ไม่ลดอัตราการเสียชีวิตหรือการรักษาในโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตที่อาจเพิ่มขึ้น
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1306687
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556
2,535 Cardiac-Resynchronization Therapy in heart failure with a narrow QRS complex
ป้ายกำกับ:
Cardiology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น